ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา








       ”...อาชีพ ทหารถือกำเนิดขึ้นมานานแล้วควบคู่กับสังคม ประวัติศาสตร์สงครามกว่า 5,000 ปี เป็นประจักษ์พยานของการคงอยู่ของอาชีพทหาร จุดมุ่งหมายสูงสุดของทหารอาชีพคือการสร้างความมั่นคงของชาติ สร้างความแข็งแกร่งของตนเอง ให้เป็นหลักประกันแห่ง สันติภาพ ปกป้องชีวิต และทรัพย์สินให้สังคมดำรงอยู่อย่างสันติสุข
มิใช่มุ่งแต่จะทำสงคราม…”

พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา


หัวหน้าของกลุ่มอาชีพทหารแต่โบราณมาก็คือ กษัตริย์ ซึ่งก็เป็นผู้นำชาติผู้นำสังคมด้วยในเวลาเดียวกัน ทหารจึงได้รับเกียรติอันสูงส่งว่าเป็นอาชีพที่เสียสละ อุทิศได้แม้กระทั่งชีวิตเพื่อรักษาเอกราชและอธิปไตยของชาติประเทศ

หลักการแห่งความประพฤติและอุดมการณ์ของผู้ร่วมอาชีพทหาร ที่มุ่งไปสู่การธำรงรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ คือ “หลักแห่งจรรยาบรรณทหาร”




จรรยาบรรณมีอยู่ในทุกวิชาชีพ สังคมในปัจจุบันมักจะเรียกร้องหาจรรยาบรรณเสมอ การทำให้จรรยาบรรณเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวแก่ผู้ประกอบวิชาชีพใดๆ ควรต้องเริ่มกันที่ศรัทธาในวิชาชีพ ความรักในวิชาชีพ อันเกิดจากการปลูกฝังในลักษณะซึมลึก ยาวนาน

จรรยาบรรณทหารก็มีลักษณะเช่นเดียวกับจรรยาบรรณในวิชาชีพอื่นๆ ที่ต้องเกิดจากความรัก ความศรัทธา ประการสำคัญคือ จรรยาบรรณทหาร เป็นจรรยาบรรณของกลุ่มคนอาชีพหนึ่งที่พร้อมจะเสียสละชีวิต เพื่อรักษาจรรยาบรรณ นั่นคือ การพิทักษ์รักษา ชาติ ศาสนา และ ราชบัลลังก์ อันเป็นที่รัก เคารพยิ่ง ของคนไทยทุกคน

พระบรมราโชวาทแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้ ถึงสิ่งที่ทหารพึงยึดมั่นถือมั่นว่า


ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา


    “ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตนเองที่่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
    ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ที่จะประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจความดีนั้น

    ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจ สุจริต ไม่ว่าด้วยเหตุประการใด

    ประการที่สี่ คือการรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละผลประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง

    คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้น โดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขร่มเย็นและมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนา ให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์”

ทหารมีความแตกต่างจากอาชีพอื่นในสังคม อย่างเห็นได้ชัด คือเป็นอาชีพที่ต้องดำรงความอยู่รอดของบุคคลและของชาติ อาชีพทหารเป็นอาชีพที่จำต้องใช้ความรุนแรงในการทำหน้าที่เมื่อจำเป็น และพร้อมที่จะสละชีวิตเพื่อการทำหน้าที่


ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา


กล่าว อีกนัยหนึ่งคือ เป็นอาชีพที่ใช้ขจัดความขัดแย้งของสังคม ขจัดความขัดแย้งระหว่างรัฐ จากการที่ต้องเป็นผู้รับใช้สังคมรูปแบบหนึ่งที่มีการใช้ความรุนแรงเป็น เครื่องมือ ทำให้ทหารต้องมีเครื่องกำกับการทำหน้าที่ อันได้แก่ วินัยทหาร คุณธรรม และ จริยธรรมทหาร หรือ อาจกล่าวว่า ทหารต้องมีจรรยาบรรณ เป็นเครื่องกำกับนั่นเอง
 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัส ต่อกรมทหารบก 3 ใจความว่า


ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา


“แท้จริงแล้วทุกประเทศทั่วโลก นับแต่โบราณมา ยกย่องว่า ทหารเป็นจำพวกที่มีเกียรติยศสูง เกียรติยศใหญ่ จนเกิดคำว่า “ขัตติยฤากษัตริย์”
ทหารเป็นผู้แปลกจากโจร ก็เพราะเป็นผู้มีความสัตย์ถือมั่นในธรรมของทหาร คือการใช้ศาสตราวุธในการที่ตั้งใจไว้เพื่อรักษา ชาติศาสนา และบ้านเมือง เป็นต้น มีความกล้าหาญ ไม่แก่ความยาก ไม่แก่ชีวิต ในการที่จะรักษาธรรมและประเพณีของทหาร ….. ”

ธรรมของทหารดังที่ทรงกล่าวถึงนั้น อาจกล่าวได้ว่าคือ จรรยาบรรณของทหาร ซึ่งเป็นการรวมความหมายของคำว่า จรรยาบรรณ กับ คำว่า ทหาร สามารถสรุปความหมายได้ว่า หลักการแห่งความประพฤติและอุดมการณ์ของผู้ร่วมอาชีพ

ทหารที่มุ่งไปสู่การธำรงรักษา ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทิ้งท้ายถึงธรรมของทหารไว้ว่า

    “ธรรมของทหารจึงเริ่มด้วยทศพิธราชธรรม ทศพิธราชธรรม หมายถึง ธรรมของพระราชา (ราชธรรม) ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้า มีพุทธดำรัสไว้ในพระไตรปิฎก มหาหังสชาดก อันประกอบด้วย ทาน ศีล ปริจาคะ อาชวะ มัทวะ ตปะ อโกธะ อวิหิงสา ขัจติ และ อวิโรธนะ

    ในเมื่อหัวหน้าของกลุ่มอาชีพทหารคือ พระมหากษัตริย์ได้ประพฤติรักษาทศพิธราชธรรม…ทหารทุกคนคงต้องยึดถือแนวทางการรักษาธรรมมะนี้เฉกเช่นเดียวกัน…”


ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา


- See more at: emaginfo.com

ธรรมของทหาร จากพระราชดำรัสของพระราชา

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์