ถอดรหัสดาวเทียมอินมาร์แซท แกะรอยเที่ยวบินปริศนาMH370 เปลี่ยนเส้นทาง


         เจ้าหน้าที่บริษัทดาวเทียมอินมาร์แซท ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นถึงการตรวจสอบเส้นทางบินของเครื่องบินโบอิ้ง777-200ER เที่ยวบิน MH370 สายการบินมาเลเซียว่า ดาวเทียมตรวจสอบเส้นทางการบินจากสัญญานที่เครื่องบินส่งกลับมายังดาวเทียมเป็นระยะๆ โดยสัญญานดังกล่าวจะส่งข้อมูลรหัสเฉพาะตัวของเครื่องบินกลับมาด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดความสับสนระหว่างสัญญานของเครื่องบินแต่ละลำ และรหัสเฉพาะตัวจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ข้อมูลจากดาวเทียมทำให้ ทางการมาเลเซียมั่นใจว่าเครื่องบิน MH370 ยังบินต่อไปอีกหลายชั่วโมง หลังหายไปจากจอเรดาร์เอกชน


บริษัทอินมาร์แซทเป็นเจ้าของดาวเทียม 10 ดวง โคจรอยู่รอบโลก หนึ่งในบริการของอินมาร์แซทคือ ให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านดาวเทียมสำหรับระบบการสื่อสารและติดตามเครื่องบิน( Aircraft Communication Addressing and Reporting System) หรือ ACARS ติดต่อโดยการส่งข้อความสั้นๆ ระหว่างเครื่องบินกับศูนย์ปฏิบัติการของสายการบิน หอบังคับการบินแต่ละประเทศและหน่วยงานอื่นๆ


ระบบ ACARS จะส่งข้อมูลหลายประเภทรวมทั้งสภาพของเครื่องบินขณะทำการบินด้วย


เมื่อ ACARS อยู่เหนือพื้นดินขอจะส่งสัญญานผ่านคลื่นวิทยุความถี่VFH แต่หากเครื่องบินอยู่ในบริเวณที่ห่างไกล หรือ อยู่ในน้ำ หรือ ในพื้นที่ไม่มีสัญญานวิทยุVFH สัญญานACARS จะเปลี่ยนไปใช้สัญญานดาวเทียมโดยอัตโนมัติ โดยที่นักบินไม่ต้องทำอะไรเลย


การทำงานพื้นฐานของดาวเทียมติดตามเครื่องบิน คือ การส่งสัญญานจากภาคพื้นดินไปสู่เครื่องบิน แล้วส่งสัญญานกลับจากเครื่องบินลงมาที่ภาคพื้นดิน จึงแตกต่างจากการทำงานของเสาส่งสัญญานโทรศัพท์ ที่เป็นการส่งสัญญานออกทางเดียว


ระบบสื่อสารของเครื่องบินจะทำงานอัตโนมัติเมื่อเครื่องบินสตาร์ทเครื่อง โดยเครื่องบินจะส่งสัญญานไปยังเครือข่ายการสื่อสาร จากนั้นสถานีภาคพื้นดินก็จะส่งสัญญานที่เรียกว่า “Polling signal” หรือ โพลลิงซิกนัล ไปที่ดาวเทียม ทางดาวเทียมจะถ่ายทอดสัญญานนั้นไปยังเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินมีการตอบรับสัญญาน การตอบรับนั้นเรียกว่า “Handshake” หรือแฮนด์เชค


แม้การถ่ายทอดข้อมูลในช่วง “แฮนด์เชค” จะมีอย่างจำกัด แต่จะมีส่งข้อมูลรหัสเฉพาะตัวของเครื่องบินลำนั้นไปด้วย เพื่อให้ทราบว่าเป็นเครื่องบินลำไหน โดยรหัสเฉพาะตัวของเครื่องบินจะไม่ซ้ำกัน และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงรหัสเฉพาะของเครื่องบินได้


การส่งสัญญานแฮนด์เชคจะทำทุกชั่วโมงเพื่อให้ทราบที่ตั้งโดยประมาณของเครื่องบิน


ในการส่งสัญญานจะส่งข้อมูลการทำมุมระหว่างเครื่องบินกับดาวเทียมด้วย โดยถ้าเครื่องบินอยู่ใต้ดาวเทียมพอดี การทำมุมก็คือ 90 องศา หากเครื่องบินอยู่ที่ขั้วโลก การทำมุมก็จะเป็น 0องศา


ถอดรหัสดาวเทียมอินมาร์แซท แกะรอยเที่ยวบินปริศนาMH370 เปลี่ยนเส้นทาง



แต่กรณีMH370 ข้อมูลครั้งสุดท้ายที่เครื่องบินส่งกลับมายังดาวเทียมนั้น เครื่องบินกำลังบินทำมุม 40 องศากับดาวเทียม นักสืบสวนอุบัติเหตุและผู้เชี่ยวชาญดาวเทียม ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมนี้ในการกำหนดบริเวณที่พบเครื่องบินเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนที่เครื่องจะหายไป นับเป็นครั้งแรกที่ใช้การรับส่งสัญญานระหว่างเครื่องบินกับดาวเทียม หรือ แฮนด์เชค มาช่วยสืบสวนหาเครื่องบิน


การที่เครืองบินสามารถทำการแฮนด์เชค หรือ ตอบกลับสัญญานไปที่ดาวเทียมได้ แสดงว่าเครื่องยังทำงานอยู่ เพราะการส่งสัญญานดังกล่าวต้องใช้พลังงานไฟฟ้า การส่งกลับสัญญานเท่ากับเครื่องบินยืนยันว่ายังมีตัวตนอยู่


ครั้งสุดท้ายที่เครื่องบิน “แฮนด์เชค” กับดาวเทียมทำให้รู้ว่ามีสองเส้นทางที่เครื่องบินอาจหายไป คือ เส้นทางผ่านประเทศไทยขึ้นไปทางเหนือจนถึงชายแดนคาซักสถานและเติร์กเมนิสถาน


ส่วนอีกเส้นทางคือ เส้นทางผ่านประเทศอินโดนีเซียไปจนถึงจุดใต้สุดของมหาสมุทรอินเดีย


----------------------------------------
วนิตา พริ้งรักษา เรียบเรียง
ที่มา: edition.cnn.com/



ถอดรหัสดาวเทียมอินมาร์แซท แกะรอยเที่ยวบินปริศนาMH370 เปลี่ยนเส้นทาง

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์