เปิด 22 จังหวัด ติดโผพื้นที่เสี่ยงภัย



        ใน กฎกระทรวงกำหนดการรับน้ำหนักความต้านทาน ความคงทนของอาคารและพื้นดินที่รองรับอาคารในการต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ แผ่นดินไหว พ.ศ. 2550 กรมโยธาธิการและผังเมืองกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว3 บริเวณตามระดับความเสี่ยงภัยจากน้อยไปมาก ครอบคลุม 22 จังหวัด






"บริเวณ เฝ้าระวัง" เป็นพื้นที่ที่อาจได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวตามแนวรอยเลื่อนระนองและคลองมะรุ่ย ในภาคใต้มี 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร พังงา ภูเก็ต ระนอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี

"บริเวณที่ 1" เป็นพื้นที่ดินอ่อนมาก จะได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวระยะไกลมี 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร

"บริเวณที่ 2" เป็นพื้นที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนในภาคเหนือและด้านตะวันตกมี 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน และกาญจนบุรี


         สำหรับ ประเภทของอาคาร ที่ต้องจัดให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานการสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้เป็นการเฉพาะ ได้แก่ อาคารที่มีคนเข้าไปใช้สอยจำนวนมาก เช่น อาคารสาธารณะ อาคารชุมนุมคน อาคารที่สูงเกิน 15 เมตร

รวมถึงอาคารที่หากเกิดความเสียหายแล้วอาจ ก่อให้เกิดอันตรายกับสาธารณะ เช่น อาคารเก็บวัตถุอันตราย เขื่อนและสะพาน โดยการกำหนดประเภทอาคารควบคุมจะแยกตามพื้นที่เสี่ยงภัยต่าง ๆ เนื่องจากผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีต่ออาคารประเภทต่าง ๆ ในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน

ล่าสุด "กรมโยธาฯ" จะขยายพื้นที่เสี่ยงภัยเพิ่ม 3 จังหวัด "พิษณุโลก-สุโขทัย-อุตรดิตถ์" หลังจากเกิดเหตุรอยเลื่อนที่อุตรดิตถ์ โดยกำหนดเป็นพื้นที่เฝ้าระวัง พร้อมกับเขย่าระดับความสั่นสะเทือน 3 บริเวณใหม่ จะยกระดับกลุ่มพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้จาก "บริเวณเฝ้าระวัง" เป็นพื้นที่ควบคุมหลังเกิดเหตุบ่อยครั้ง


เปิด 22 จังหวัด ติดโผพื้นที่เสี่ยงภัย


เปิด 22 จังหวัด ติดโผพื้นที่เสี่ยงภัย

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์