ปฏิวัติ - รัฐประหาร เหมือนหรือต่างกันหรือไม่

ปฏิวัติ - รัฐประหาร คำ 2 คำที่มีความหมายทางเมืองและมักนำออกใช้คู่กัน จนหลายคนอาจคิดว่าน่าจะมีความหมายเหมือนกัน วันนี้เราจะมาดูกันว่าเหมือนกันจริงหรือไม่

ปฏิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบ อาจโดยการยกเลิกระบบเดิม ใช้ระบบใหม่ หรือรื้อโครงสร้างเดิม เช่น ปฏิวัติตนเอง คือ ปรับปรุงตัวเองใหม่ สำหรับในสังคมการเมืองไทยเกิดการปฏิวัติทางการเมืองขึ้นเพียงครั้งเดียวคือ การปฏิวัติสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 7 วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เป็นการปฏิวัติการปกครองโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monachy) กลายเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (Constitutional Monarchy)

รัฐประหาร หมายถึง การล้มล้างรัฐบาลผู้บริหารปกครองรัฐ ณ เวลานั้น แต่ไม่ใช่การล้มล้างระบอบการปกครอง แน่นอว่าไม่จำเป็นต้องใช้ความรุนแรงเสมอไป เช่น รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง บริหารประเทศชาติผิดพลาด และจำเป็นต้องบังคับให้รัฐบาลพ้นจากอำนาจ ซึ่งการดำเนินการเบื้องต้นอาจประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญ หรือประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ ภายในเวลาที่กำหนด ลักษณะนี้ก็เรียกได้ว่าเป็นการก่อรัฐประหาร

อย่างไรก็ตาม สำหรับวิชาการพัฒนาการเมืองซึ่งเป็นสาขาวิชาทางรัฐศาสตร์นั้น จะถือว่าการรัฐประหาร มิใช่วิธีทางของวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และถือเป็นความเสื่อมทางการเมือง (political decay) แบบหนึ่ง ซึ่งการก่อรัฐประหารไม่ประสบความสำเร็จ ผู้ก่อการมักถูกดำเนินคดีในข้อหากบฏ

ตามข้อมูลเปิดเผยว่า รัฐประหารในประเทศไทย คณะรัฐประหารจะเรียกตนเองหลังก่อการว่า 'คณะปฏิรูป' หรือ 'คณะปฏิวัติ'" เพื่อให้มีความหมายไปในเชิงบวก และผู้ก่อการรัฐประหารในประเทศไทยเป็นผลสำเร็จ ล้วนแต่มาจากฝ่ายทหารบกทั้งสิ้น ส่วนทหารเรือเคยพยายามก่อรัฐประหารมาแล้ว ในกรณีกบฏวังหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2492 และกบฏแมนฮัตตัน เมื่อปี พ.ศ. 2494 แต่กระทำการไม่สำเร็จ

ประเทศไทยของเราเคยมีการรัฐประหารมาแล้ว 13 ครั้ง

1) 1 เม.ย. 2476 พระยามโนปกรณ์นิติธาดา ประกาศ พ.ร.ก. ปิดสภาฯ งดใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา
2) 20 มิ.ย. 2476 พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา ยึดอำนาจรัฐบาล พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
3) 8 พ.ย. 2490 พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์
4) 6 เม.ย. 2491 คณะทหารกลุ่มรัฐประหารปี 2490 ปลดนายกฯ คนเด่า และตั้ง จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกฯ
5) 29 พ.ย. 2494 จอมพล ป. พิบูลสงคราม ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
6) 16 ก.ย. 2500 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพล ป.พิบูลสงคราม
7) 20 ต.ค. 2501 จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยึดอำนาจรัฐบาล จอมพลถนอม กิตติขจร
8) 17 พ.ย. 2514 จอมพลถนอม กิตติขจร ยึดอำนาจรัฐบาลตนเอง
9) 6 ต.ค. 2519 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช
10) 20 ต.ค 2520 พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ยึดอำนาจรัฐบาล ธานินทร์ กรัยวิเชียร
11) 23 ก.พ. 2534 พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ยึดอำนาจรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
12) 19 ก.ย. 2549 พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
13) 5 พ.ค. 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยึดอำนาจรัฐบาลรักษาการ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ปฏิวัติ - รัฐประหาร เหมือนหรือต่างกันหรือไม่

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์