ชมอินโฟกราฟฟิค กระบวนการพิจารณาคดีของศาลทหาร


"ศาลทหาร" จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 โดยประเภทของศาลทหาร สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. ศาลทหารในเวลาปกติ 2. ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ


โดยสำหรับ"ศาลทหารในเวลาปกติ"จะมีกระบวนการพิจารณาคล้ายกับศาลพลเรือน โดยศาลทหารในเวลาปกติจะมีทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา และมีระบบการพิจารณาคดีเหมือนกับศาลพลเรือน


ทั้งนี้ "เวลาไม่ปกติ” นั้น อ้างอิงตาม มาตรา 36 ของ พ.ร.บ.ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 คือ หมายถึงช่วงเวลาที่มีการรบหรือสถานะสงครามหรือได้ประกาศใช้กฎอัยการศึก


โดย "ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ" จะมีแนวทางปฏิบัติในบางข้อที่ไม่เหมือนกัน เช่น การพิจารณาคดีจบภายในศาลเดียว ไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ และฎีกาได้ ส่วนในการพิจารณาคดี ศาลจะอนุญาตให้เข้าร่วมรับฟัง หรือสั่งให้เป็นการพิจารณาแบบลับก็ได้


ซึ่งเมื่อศาลพิพากษาแล้ว จะแบ่งอัตราโทษออกเป็น 2 แขนงด้วยกัน คือ ถ้าอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี เช่น การไม่มารายงานตัวต่อคสช. จะส่งเข้า "เรือนจำทหาร” แต่ถ้าอัตราโทษจำคุกเกิน 3 ปี เช่น คดีอาวุธสงคราม หรือความผิดเกี่ยวกับสถาบัน ก็จะถูกส่งเข้า "เรือนจำพลเรือน"


ความผิดที่ต้องขึ้นศาลทหาร มีดังนี้

1.คดีฝ่าฝืนประกาศ-คำสั่ง คสช.

2.คดีความมั่นคง (เว้นความผิดตาม พ.ร.บ.มั่นคง-พ.ร.บ.ฉุกเฉิน)

3.คดีเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์


ชมอินโฟกราฟฟิค กระบวนการพิจารณาคดีของศาลทหาร

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์