สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอีโบลา?

จากจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลากว่า 1,201 คน ในจำนวนนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 672 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด ตัวเลขดังกล่าว ถือเป็นสถิติที่น่าตกใจเป็นอย่างยิ่ง สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัสชนิดหนึ่งในศตวรรษที่ 21 ที่เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่วิทยาการการแพทย์มีความล้ำหน้า จนสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของโรคร้ายได้หลายโรค
 
ผู้อำนวยการจาก Médecins Sans Frontières หรือหน่วยแพทย์ไร้พรมแดน ซึ่งเป็นหน่วยแพทย์อาสาที่ทำงานด้านการกุศลในหลายประเทศทั่วโลกระบุว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบาลาในตอนนี้ ถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่ง และเห็นได้ชัดว่ายังไม่มีรัฐบาลของประเทศใดควบคุมได้ ซ้ำร้าย สถานการณ์ดังกล่าวดูเหมือนว่าจะรุนแรงมากขึ้น เมื่อยังพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ยังไม่เผยอาการเด่นชัด ซึ่งคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะแพร่เชื้อดังกล่าวไปยังผู้อื่นได้โดยง่าย เพียงแค่การสัมผัสเหงื่อหรือน้ำลายเท่านั้น
 
หลังจากผู้ที่ติดเชื้อได้รับเชื้อมานั้น ไวรัสอีโบลาจะใช้เวลาตั้งแต่ 2 วัน ไปจนถึง 21 วัน ในการฝักตัว ก่อนที่จะแสดงอาการออกมา ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงไม่สามารถทราบได้เลยว่า ใครที่เป็นผู้ป่วยอีโบลา จึงทำให้การควบคุมการแพร่ระบาดของโรคนี้เป็นไปอย่างยากลำบาก แม้ว่าก่อนหน้านี้ ทางการไลบีเรีย จะสั่งงดกิจกรรมทุกประเภท เช่น การเล่นฟุตบอล หรือการเข้าชมการแข่งขันฟุตบอล หรือกีฬาประเภทอื่นๆ เพื่อลดความแออัดจากการมารวมตัวกันของประชาชน และเพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายของผู้ป่วยอย่างไม่ตั้งใจ แต่วิธีดังกล่าว ก็ไม่ทำให้อัตราการแพร่ระบาดลดลงแต่อย่างใด
 
นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า ผู้ติดเชื้อไวรัสอีโบลา ยังคงเดินทางข้ามประเทศ ไปยังประเทศเพื่อนบ้านต่างๆในแอฟริกา เช่น ไนจีเรีย กานา โตโก โดยที่สายการบินนั้นๆไม่ได้เพิ่มความเข้มงวดในการตรวจหาเชื้อไวรัสดังกล่าวกับผู้โดยสารแต่อย่างใด ทำให้การเดินทางด้วยเครื่องบิน เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ไวรัสอีโบลาแพร่ระบาดเร็วขึ้น และนี่อาจจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้การแพร่ระบาดดังกล่าว เกิดขึ้นนอกทวีปแอฟริกาในเร็วๆนี้
 
อย่างไรก็ตาม สายการบินจำนวนหนึ่งอย่าง ASKY และ Arik Air  ได้ประกาศยกเลิกเที่ยวบินที่จะบินเข้าออกไลบีเรีย เซียร์รา ลีโอน และกินีแล้ว เพื่อลดความเสี่ยงของการแพร่ระบาด 
 
แม้จะยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ก็ใช่ว่าการแพร่ระบาดดังกล่าวจะควบคุมไม่ได้ หน่วยแพทย์ไร้พรมแดนระบุว่า การระบาดที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 2 ปีก่อน ในประเทศยูกันดา กินเวลากว่า 42 วัน ซึ่งแพทย์ได้ระดมกำลังกัน เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเต็มที่ และจนถึงตอนนี้ก็ยังไม่พบผู้ป่วยรายใหม่แต่อย่างใด
 
แพทย์แนะนำว่า ผู้ที่ต้องดูแลผู้ป่วยหรืออาจต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย ควรสวมถุงมือ และหน้ากากตลอดเวลา และหลีกเลี่ยงการสัมผัสตัวผู้ป่วยโดยตรง ส่วนการรักษาพยาบาลนั้น ในตอนนี้ยังไม่มีการรักษาเฉพาะทาง แต่ส่วนใหญ่ แพทย์จะนำตัวผู้ป้วยอีโบลา แยกออกจากกลุ่มคนไข้อื่นๆ และรักษาไปตามอาการ จนกว่าจะหาย

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอีโบลา?


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอีโบลา?


สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับอีโบลา?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์