รู้หรือไม่? 10 กันยายน เป็นวันป้องกัน การฆ่าตัวตาย โลก


รู้หรือไม่? 10 กันยายน เป็นวันป้องกัน การฆ่าตัวตาย โลก


องค์การอนามัยโลกกำหนดให้ ทุกวันที่ 10 กันยายน ของทุกปี เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก (World Suicide Prevention Day) โดยประกาศเป็นครั้งแรกเมื่อ ปี พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003 ) โดยมี "ดอกสะมาเรีย" สัญลักษณ์การป้องกันการฆ่าตัวตายของประเทศไทย



ดอกสะมาเรียดอกสะมาเรีย


ทางองค์การอนามัยโลกคาดว่าในปีหนึ่งจะมีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จเป็นจำนวนมากกว่า 1 ล้านคน เมื่อคิดเฉลี่ยต่อเวลาจะพบว่ามีผู้ฆ่าตัวตายสำเร็จ 1 คน ทุก 40 วินาที และการฆ่าตัวตายยังส่งผลกระทบต่อจิตใจของพ่อแม่พี่น้องสามีภรรยาและเพื่อนๆ ของผู้ตายอีกประมาณ 5-10 ล้านคน ตลอดจนมีผลมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล ทางองค์การอนามัยโลกพบว่า การฆ่าตัวตายติด 10 อันดับแรกของสาเหตุการตายของประชากรโลก และติดอันดับที่ 3 ของสาเหตุการตายสำหรับประชากรวัย 15-35 ปี ผู้ชายฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าผู้หญิงถึง 3 เท่า (ยกเว้นในประเทศจีน) 
 
การฆ่าตัวตายหรือพยายามฆ่าตัวตาย ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย แต่ละปีจะมีผู้เสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายประมาณ 4,500-5,000 คน ซึ่งมากกว่าการฆ่ากันตาย ที่มีประมาณ ปีละ 3,000-3,800 ราย (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2546) และถ้านับจำนวนผู้ที่ทำร้ายตนเองทั้งหมด ทั้งที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตจะพบว่ามีจำนวนรวมสูงถึง 25,000-27,000 รายต่อปี (อภิชัย มงคล และคณะ, 2546) ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติอย่างมาก 
 
หากเราใส่ใจทั้งตัวเองและคนรอบข้างก็จะทำให้อัตราการฆ่าตัวตายลดลง โดยมีขั้นตอนง่ายๆ เช่น เรียนรู้พฤติกรรมที่อาจเป็นสัญญาณนำไปสู่การฆ่าตัวตายเพื่อที่จะป้องกันการฆ่าตัวตายได้ทันท่วงที กระตุ้นให้คนเห็นความสำคัญของวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก และหากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมที่อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายก็ให้หาที่ปรึกษาหรือหาคนช่วย
 




รู้หรือไม่? 10 กันยายน เป็นวันป้องกัน การฆ่าตัวตาย โลก


สัญญาณอันตรายของผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย มีดังนี้
1. แยกตัว ไม่พูดกับใคร
2. เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
3. มีแผนฆ่าตัวตายที่แน่นอน โดยดูได้จากแจกจ่ายของรักของหวง พูดจาฝากฝังคนข้างหลัง จัดการงานหรือทรัพย์สินให้เรียบร้อย
4. เวลาพูดมีน้ำเสียงวิตกกังวล สีหน้าเศร้าหมอง
5. ทรมานจากโรคจนต้องพึ่งยารักษาประจำ และนอนไม่หลับติดกันเป็นเวลานานๆ
6. ชอบพูดเปรยๆว่าอยากตาย ไม่อยากมีชีวิตอยู่
7. ประสบปัญหาชีวิต เช่น ล้มละลาย สูญเสียคนรักกะทันหัน เป็นโรคเรื้อรัง พิการจากอุบัติเหตุ
8. มีอารมณ์ขึ้นๆลงๆ ที่น่าระวังคือ เมื่ออารมฌ์เปลี่ยนแปลงเป็นตรงกันข้าม จากซึมเศร้าหรือหงุดหงิดมานาน กลับดูสบายใจอย่างผิดหูผิดตา ช่วงนี้แสดงว่าเขารวบรวมความกล้าและตัดสินใจแน่นอนแล้วว่าจะฆ่าตัวตาย
 
ผู้ใดมีสัญญาณดังกล่าวนี้ ญาติพี่น้องหรือเพื่อนสนิทควรจะดูแลและคอยอยู่เป็นเพื่อนพูดคุยให้กำลังใจอย่างใกล้ชิด เพื่อให้คลายความเศร้า ถ้าเห็นท่าไม่ดีต้องพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้การปรึกษา หรือพบแพทย์เพื่อบำบัดรักษา โดยมีหน่วงานที่ให้คำช่วยเหลือในการป้องกันการฆ่าตัวตายดังนี้
- สายด่วนสุขภาพจิต 1667   
- กรมสุขภาพจิต 
- โครงการป้องกันผู้มีภาวะซึมเศร้า 
- โครงการช่วยเหลือผู้ที่ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 
- สมาคมสะมาริตันส์ ป้องกันการฆ่าตัวตาย 





ขอขอบคุณข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์