เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


เรื่องจริงที่ยิ่งกว่าละคร สุข เศร้า เคล้าน้ำตา ปะปนกันไป ก่อเกิดโศกนาฏกรรมในวันวาน มาวันนี้หลายที่เปลี่ยนแปลงไป กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีประวัติอันยาวนานให้จดจำ!! เราขอพาคุณไปเที่ยวสถานที่แห่งวันวานที่มีที่มาจากอดีตอันปวดร้าว เหตุผลอะไรที่สถานที่ต่างๆ เหล่านี้เป็นจุดจบของเรื่องราว หรือ จุดเกิดเหตุที่คร่าชีวิต มาร่วมกันตามหาร่องรอยอดีตกับสถานที่ประวัติศาสตร์ที่จารึกความทรงจำอันแสนโหดร้ายด้วยกัน 

1. เส้นทางรถไฟสายมรณะ อนุสรณ์สถานที่แลกมาจากการ "ทารุณกรรม"

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


“เส้นทางรถไฟสายมรณะ” จุดกำเนิดของเรื่องราว เริ่มต้นเมื่อสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นในยุคนั้น ถือเป็นมหาอำนาจในโลกเลยก็ว่าได้ ได้ดำเนินการก่อสร้างสะพานขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์จากประเทศไทยมุ่งเข้าสู่พม่า ความโหดร้ายได้ก่อตัวขึ้นเมื่อมีการเกณฑ์เชลยศึกมากมายจากหลายชนชาติด้วยกันได้แก่ ทหารอังกฤษ ทหารอเมริกา ทหารออสเตรีย ทหารฮอลแลนด์ ทหารนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คน พร้อมกันนี้ยังมีการเกณฑ์ไพร่พลกรรมกรชาวจีน ญวน มลายู ไทย พม่า อินเดีย อีกเป็นจำนวนมาก ในระหว่างการก่อสร้าง ทั้งเชลยศึกและกรรมกร ต้องเผชิญกับความยากลำบากต่างๆ นานา การถูกทารุณกรรม โรคระบาด อาหารที่ขาดแคลน การทิ้งระเบิดจากฝ่ายสัมพันธมิตรอีกนับร้อยลูก ทำให้เหล่าเชลยศึกและคนงานทั้งหลายพากันมาจบชีวิตลง ณ สถานที่แห่งนี้

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


การก่อสร้างนี้กองทัพญี่ปุ่น ได้ยืมเงินจากรัฐบาลไทย จำนวน 4 ล้านบาท ใช้เวลาสร้างเพียง 1 ปีเท่านั้น ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2485 ถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 และเปิดใช้ทันทีในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2486 ตั้งแต่นั้นมา เส้นทางรถไฟแห่งนี้ก็ได้เป็นอนุสรณ์สถานจากร่องรอยประวัติศาสตร์ ความทรงจำหวนให้นึกถึงความร้ายกาจในยุคสงคราม เส้นทางรถไฟมรณะที่แลกมาจากเลือดเนื้อจากคนเกือบแสน

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


พิกัดเกิดเหตุ

ทางรถไฟสายนี้เริ่มต้นจากสถานีชุมทางหนองปลาดุก อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ผ่านจังหวัด
กาญจนบุรี ข้ามแม่น้ำแควใหญ่ โดยสะพานข้ามแม่น้ำแควไปทางทิศตะวันตกจนถึงด่านเจดีย์สามองค์ เพื่อให้ถึงสถานีปลายทางที่เมืองทันบูซายัด ประเทศพม่า มีความยาวรวม 415 กิโลเมตร เป็นทางรถไฟอยู่ในเขตประเทศไทยประมาณ 303.95 กิโลเมตร และอยู่ในเขตพม่า 111.05 กิโลเมตร มีสถานีจำนวน 37 สถานี

เที่ยวตามรอยอดีต

เส้นทางรถไฟสายนี้ให้บริการเดินรถทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษสายกรุงเทพฯ - น้ำตก ในวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ เป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเก็บภาพบรรยากาศแห่งความงาม พร้อมซึบซับความทรงจำจากอดีต โดยจุดที่นักท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำแคว และช่วงโค้งมรณะหรือถ้ำกระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำแควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


2. อุโมงค์เขาน้ำค้าง ซ่อนกองกำลังกว่า 4,000 ชีวิตได้อย่างมิดชิดกับความแร้นแค้น



อุโมงค์ดินเหนียวแห่งนี้เป็นอุโมงค์ที่มีขนาดใหญ่และยาวที่สุดในโลก นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ใครกันที่สร้างอุโมงค์แห่งนี้ขึ้นมา เพื่ออะไร ในอดีตสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาน้ำค้างแห่งนี้เสมือนเขตหวงห้ามเป็นระยะเวลากว่า 40 ปี ด้วยพื้นที่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน โจรจีนคอมมิวนิสต์(จ.ค.ม.) จึงได้เลือกที่แห่งนี้เป็นฐานที่มั่น เป็นแหล่งสะสมอาวุธยุทโธปกรณ์และเสบียงอาหารที่สำคัญ ด้านในมีถึง 3 ชั้น มีทางเข้าออก 16 ช่องทาง ความยาวคดเคี้ยวขึ้นลงในภายในอุโมงค์ประมาณ 1,000 เมตร ภายในอุโมงค์แบ่งเป็นห้องๆ เช่น ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามซ้อมยิงปืน โดยอุโมงค์ขุดด้วยกำลังคน 200 คนต่อวัน ใช้เพียงมือเท่านั้นในการขุด ทุกคนต้องช่วยกันถึงแม้ไม่อยากทำก็เลี่ยงไม่ได้ ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปี ไม่ง่ายเลยกว่าได้มา เขาน้ำค้าง เหมาะกับการหลบซ่อน แต่ไม่เหมาะการอยู่อาศัย ด้วยพื้นที่เป็นถิ่นธุรกันดาร อาหารการกินที่หาได้ยากในแถบนี้ กองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์ต้องซ่อนตัวภายในอุโมงค์อย่างเงียบเชียบ อดมื้อกินมื้อกับเสบียงที่จำกัดจำเขี่ย แม้แต่อากาศที่ไม่ต้องขวนขวาย แต่ที่นี่ก็ไม่มีให้ เมื่อป่วยก็ต้องรักษากันเอง ล้มหายตายจากศพก็ยังไม่สามารถนำออกมาประกอบพิธีได้ 

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2523 กองกำลังโจรจีนคอมมิวนิสต์สลายตัวไปในที่สุด ด้วยปฏิบัติการตามแผนยุทธการใต้ร่มเย็น สามารถเข้ายึดค่ายปฏิบัติการของโจรจีนคอมมิวนิสต์ได้สำเร็จ จากนำนโยบายการเมืองนำการทหารกองทัพภาคที่ 4 และหน่วยทหารผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 43 (พตท.43)

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


พิกัดเกิดเหตุ

อุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้าง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอนาทวี และอำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา มีสภาพป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์  มีเนื้อที่ประมาณ 132,500 ไร่ หรือ 212 ตารางกิโลเมตร

เที่ยวตามรอยอดีต

ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติเขาน้ำค้างเปิดให้เข้าเยี่ยมชม โดยภายในอุโมงค์จะมีนิทรรศการแสดงประวัติความเป็นมา ข้อมูลและภาพถ่ายในสมัยก่อน ภายในอุโมงค์ยังคงสภาพเหมือนในอดีต  มีห้องต่างๆให้ได้เยี่ยมชมพร้อมป้ายบอก เช่น  ห้องประชุม ห้องพยาบาล ห้องวิทยุ ห้องครัว สนามซ้อมยิงปืน เป็นต้น และยังมียาสมุนไพรจำหน่าย คิดค่าเข้าชมคนละ 20 บาท

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


3. สะพานนนทบุรี คดีอาชญากรรมในวงการแพทย์อันโด่งดัง “เหตุปมรักนวลฉวี”



กว่า 50 ปีที่ “สะพานนนทบุรี” สะพานคอนกรีตเสริมเหล็กแบบเปิดได้ที่สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสะพานแรกๆ ของประเทศไทย ได้รับการกล่าวขานในชื่อใหม่ว่า “สะพานนวลฉวี”  สาเหตุที่เรียกชื่อนี้ มีอยู่ว่า เช้าวันที่ 12 กันยายน 2502 เวลา 8.45 น. นายจำลอง จิรัตฐิตกุล ช่างกลปากเกร็ดนั่งเรือแท็กซี่จากบ้านที่คล้องอ้อมไปทำงาน ระหว่างที่นั่งเรือแท็กซี่นั้นเขาได้พบกับ ศพ! ในแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตนนทบุรี ศพหญิงสาวผู้น่าสงสารสวมเสื้อสีฟ้าอ่อน นุ่งกระโปรงสีดำ สืบความในเวลาต่อมาทราบว่า เธอคือ นวลฉวี เพชรรุ่ง 

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


ผลจากการชันสูตรศพ สาเหตุการตายเนื่องจากถูกแทงจนเลือดตกในมาก และสิ้นใจก่อนถูกโยนลงน้ำ  จากหลักฐานที่พบ มีนาฬิกาข้อมือและแหวนทองลงยา จารึกนามสกุล "รามเดชะ" (สกุลเดิมของหมออธิปสามีของนวลฉวี) ด้วยหลักฐานชิ้นนี้นี่เองที่บ่งชี้ว่าเธอผู้นี้เป็น ใคร จากการสืบสวนของตำรวจจึงสืบทราบไปถึงตัว หมออธิป สุญาณเศรษฐกร สามีของผู้ตาย และสุดท้ายหมออธิปสารภาพว่าตนเองเป็นคนวางแผนฆ่านวลฉวี โดยจ้างวานให้คนอื่นจัดการฆ่าแล้วเอาศพไปถ่วงน้ำ ต่อมา ตำรวจตามจับคนรับจ้างฆ่าและเค้นหนักจนในที่สุดก็สารภาพสิ้น หมออธิปก็สิ้นอิสรภาพในที่สุด

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


พิกัดเกิดเหตุ

สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาเชื่อมพื้นที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เข้ากับตำบลบางขะแยง อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี 

เที่ยวตามรอยอดีต

สามารถชมวิวสวยได้กว้าง 360 องศา จากร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา และร้านบริเวณเชิงสะพานนวลฉวี

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


4. คุกขี้ไก่ กักขังนักโทษที่คิดต่อต้าน แต่ต้องทุกข์ทรมานจาก “ขี้ไก่"



คุกขี้ไก่ กักขังนักโทษที่คิดต่อต้าน แต่ต้องทุกข์ทรมานจาก “ขี้ไก่”ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองเมืองจันทบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2436 เดิมแรกเริ่มสร้างมาเพื่อเป็นป้อมปืน ตรวจการบริเวณปากน้ำแหลมสิงห์ หรือในสมัยนั้นที่ชาวบ้านเรียกอีกชื่อว่า “ป้อมฝรั่งเศส” ลักษณะป้อมสร้างด้วยอิฐมีลักษณะเป็นหอสี่เหลี่ยมจตุรัสกว้าง 4 เมตร สูง 10 เมตร มีช่องสังเกตุการอยู่ 2 แถว หลังคามุงกระเบื้องทรงพีระมิด 

ต่อมาป้อมแห่งนี้ต่อมาได้นำมากักขัง นักโทษผู้ที่คิดต่อต้านกับชาวฝรั่งเศสที่อาศัยในไทย ทั้งทหารญวน จีน รวมทั้งคนไทย ชั้นบนเป็นที่เลี้ยงไก่เพื่อถ่ายมูลใส่นักโทษข้างล่างจึงเรียกคุกแห่งนี้ว่า “คุกขี้ไก่”  เล่ากันว่าเป็นคุกที่ทรมานมากที่สุด นักโทษต้องทนทุกข์ทรมานกับขี้ไก่ แต่ก็ต้องกินขี้ไก่เพื่อประทังความหิว  ทั้งๆ ที่เหม็น สกปรก เต็มไปด้วยเชื้อโรค นักโทษบางคนติดเชื้อถึงกับบาดเจ็บล้มตาย คุกแห่งนี้ยกเลิกใช้คุมขังหลังจากทหารฝรั่งเศสถอนกำลังออก เมื่อพ.ศ. 2447

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


พิกัดเกิดเหตุ

ที่ตั้งของคุกขี้ไก่อยู่หมู่ที่ 1 ตำบลปากแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี คุกขี้ไก่ห่างจากอำเภอเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร ใช้ทางหลวงหมายเลข 3 (จันทบุรี-ตราด) เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 3149 ก่อนถึงอำเภอแหลมสิงห์ตั้งอยู่ทางด้านขวามือ

เที่ยวตามรอยอดีต

คุกขี้ไก่ได้รับการยกย่องให้เป็นโบราณสถาน เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงการกดขี่ข่มเหงในยุคสมัยการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมร่องรอยอดีตในยุคประวัติศาตร์ กับการเอาชีวิตเข้าแลกของบรรพบุรุษไทยเพื่อรักษาบ้านเมืองไว้

เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม


เที่ยวตามรอยอดีตกับ 8 โศกนาฏกรรม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์