หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

เพิ่งฉลองอายุการทำงานครบ 25 ปี ไปเมื่อวันที่ 25 เมษายน ฮับเบิลŽ นวัตกรรมยานถ่ายภาพตัวแรกของโลกที่ปฏิวัติวงการดาราศาสตร์ และเปลี่ยนมุมมองของมนุษยชาติที่มีต่อจักรวาลอันไกลโพ้นไปตลอดกาล

อัลบั้มภาพของฮับเบิลได้รับการขนานนามว่า เป็นภาพอันวิจิตรแห่งยุค นอกจากนำไปใช้ในวงการดาราศาสตร์ ยังใช้ในแวดวงศิลปะและการออกแบบต่างๆ ในผลิตภัณฑ์มากมาย ที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คน



หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

รวมภาพเด่นในรอบ 25 ปีของฮับเบิล
1. กลุ่มดาวอายุน้อย อาร์ 136 เพิ่งถือกำเนิดขึ้นเพียงไม่กี่ล้านปี อยู่ภายใน 30 โดราดัส เนบิวลา หรือเนบิวลาปึ้ง (เนบิวลาทารันทูลา) อยู่ในเมฆแมเจลแลนใหญ่ (LMC) ดาราจักรบริวารของทางช้างเผือก ส่วนบรรดาดาวสีฟ้าครามที่เห็นในภาพหลายดวงมีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์กว่า 100 เท่า ถือเป็นดาวใกล้หมดอายุขัยและจะเกิดปรากฏการณ์ซูเปอร์โนวาในปีกไม่กี่ล้านปีข้างหน้า

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

2. พื้นที่ใน คารินา เนบิวลา หรือเนบิวลากระดูกงูเรือ เรียกว่า มิสติก เมาน์เท่น เกิดจากกลุ่มควันเป็นระยะทางยาวกว่า 3 ปีแสง ถูกแสงจากบรรดาดาวฤกษ์ส่องผ่าน และยังพบว่ามีกลุ่มควันเล็กๆ พุ่งออกมาจากกลุ่มหลักด้วย ซึ่งเป็นควันที่เกิดจากดาวดวงใหม่

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

3. ปรากฏการณ์กาแล็กซีที่ส่งอิทธิพลต่อกัน ในพื้นที่นี้เรียกว่า อาป 273 โดยกาแล็กซีบนยูจีซี 1810 ถูกแรงโน้มถ่วงของ ยูจีซี 1813 กาแล็กซีที่อยู่ด้านล่าง ทำให้กลายเป็นรูปคล้ายดอกกุหลาบ

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

4. ภาพปรากฏการณ์ดวงจันทร์ไททัน ผ่านหน้าดาวเสาร์ ทอดเงาตกลงไปบนพื้นผิวขั้วเหนือของดาวเคราะห์ดังกล่าว ถัดลงมาเป็นดวงจันทร์บริวาร มิมาส์ ที่มีขนาดเล็กกว่ามากถอดเงาลงไปบนตอนกลางของดาวเสาร์ ถัดมาทางซ้ายเป็นดวงจันทร์สุกสว่าง ไดอานี และเอ็นซีลาดัส

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

5. ดาวแปรแสงสีแดงในบริเวณกลุ่มดาวยูนิคอร์ วี 838 ในปี 2542 สว่างขึ้นมากะทันหันเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ เรียกว่า ปรากฏการณ์ ไลต์ เอคโค่Ž เผยให้เห็นรูปแบบของกลุ่มควันภายใน

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

6. เอสเอ็นอาร์ 0509-67.5 กลุ่มก้อนก๊าซที่หลงเหลือจากการระเบิดของกลุ่มดาวหมดอายุขัยที่เคยอยู่ใน LMC ของกาแล็กซีขนาดเล็กอยู่ห่างจากโลกไป 160,000 ปีแสง โดยก้อนก๊าซดังกล่าวมีเส้นผ่านศูนย์กลางเป็นระยะทาง 23 ปีแสง และขยายตัวด้วยความเร็วกว่า 5,000 กิโลเมตรต่อวินาที

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

7. หนึ่งในภาพที่โดดเด่นที่สุดจากกล้องโทรทัศน์ฮับเบิล มีชื่อว่า หมู่แท่นศิลารังสรรค์ (Pillars of Creation) ถ่ายไว้ในปี 2538 มีลักษณะเป็นกลุ่มควันของก๊าซอุณหภูมิต่ำถูกแสงอัลตราไวโอเลต (ยูวี) สาดส่องผ่าน โดยแสงยูวีมีต้นกำเนิดมาจากกลุ่มดาวแรกเกิด จากเนบิวลาอินทรี หรือเอ็ม 16

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

8. เนบิวลาแบบวงแหวน ขณะที่กลุ่มควันที่มีแสงแวววาวล้อมรอบดาวฤกษ์ที่สิ้นอายุขัย ภาพที่ถ่ายได้นี้ส่งผลให้นักวิทยาศาสตร์สามารถสร้างโมเดล 3 มิติ เพื่อจำลองการเกิดปรากฏการณ์ดังกล่าวได้อย่างแม่นยำ เรียกว่า โมเดล เนบิวลาดาวเคราะห์

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

9. การระเบิดของก๊าซต่างๆ จากดาวฤกษ์สิ้นอายุขัย ที่มีขนาดใหญ่กว่าดวงอาทิตย์กว่า 5 เท่า โดยภาพที่คล้ายปีกผีเสื้อคือก๊าซร้อนจัด ที่อุณหภูมิกว่า 19,982 องศาเซลเซียส พุ่งออกไปด้วยความเร็วกว่า 965,606 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งถือเป็นความเร็วที่เดินทางจากโลกถึงดวงจันทร์ได้ภายใน 24 นาที

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

10. เนบิวลาปู เป็นหนึ่งในภาพที่มีความละเอียดสูงสุดที่ฮับเบิลถ่ายได้ กลุ่มดาวนี้มีขนาดกว้าง 6 ปีแสง จากการระเบิดของซูเปอร์โนวา

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

11. กลุ่มกาแล็กซีแบบ สเตฟาน ควินเต็ต พบเป็นครั้งแรกในกลุ่มดาวเพกาซัส ถือเป็นกาแล็กซี ที่ประกอบด้วย ระบบกาแล็กซี 5 แห่งด้วยกัน

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

12. เนบิวลาหัววานร อยู่ห่างจากโลกราว 6,400 ปีแสง ภายในเต็มไปด้วยดวงดาวที่กำลังเกิดใหม่ โดยภาพถ่ายเผยให้เห็นคลื่นของกลุ่มก๊าซทับถมกันหลายชั้น ขณะที่แสงยูวีจากดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ส่งผลให้กลุ่มควันต่างๆ กลายสภาพเป็นลักษณะแท่งต่างๆ

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

13 ภาพใหม่ล่าสุด - กลุ่มดาวเวสเตอร์ลุนด์ 2 และพื้นที่รอบข้างในทางช้างเผือก เป็นภาพที่นาซ่าและอีเอสเอ เผยแพร่ในวาระ 25 ปีฮับเบิล

 


หาดูยาก!!! มันสวยมาก ภาพถ่ายอวกาศ ฉลอง 25 ปี ฮับเบิล

ฮับเบิลเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่มีความสำคัญที่สุดในการไขปริศนาการก่อกำเนิดจักรภพอันไพศาลนับเป็นหนึ่งในปริศนาที่ท้าทายที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์

กล้องโทรทัศน์น้ำหนัก 11 ตัน มูลค่า 1,500 ล้านดอลลาร์ ตั้งชื่อตามนักดาราศาสตร์อเมริกัน เอ็ดวิน ฮับเบิล ที่เสียชีวิตในปี 2496 เป็นผู้ให้กำเนิดวิชาดาราศาสตร์ดาราจักรนอกระบบ อันเป็นสาขาหนึ่งในดาราศาสตร์ ถือเป็นหนึ่งในนักดาราศาสตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของศตวรรษที่ 20 ปล่อยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศในวันที่ 25 เม.ย. 2533 โดยกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี่

จากนั้นขึ้นไปโคจรรอบโลก ทำหน้าที่คอยถ่ายภาพของอวกาศอันกว้างใหญ่ส่งกลับมาให้นักวิทยาศาสตร์ขององค์การบริหารการบินและอวกาศของสหรัฐอเมริกา หรือ NASA อันเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากโครงการความร่วมมือเพื่อการศึกษาจักรวาลระหว่าง NASA กับองค์การอวกาศแห่งสหภาพยุโรป หรือ ESA

แม้ฮับเบิลจะได้รับการยกย่องให้เป็นยานถ่ายภาพตัวแรกของโลกที่มีความยอดเยี่ยม แต่หนทางของมันไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ หลังจากประสบปัญหาใหญ่ทันทีหลังจากปล่อยขึ้นไปโคจรรอบโลก เนื่องมาจากกระจกบานหลักที่ใช้สะท้อนภาพในกล้องฮับเบิล กระทั่งนาซ่าต้องส่งกระสวยอวกาศพร้อมเจ้าหน้าที่ขึ้นไปซ่อมแซมในปี 2536 จึงทำให้ฮับเบิลใช้งานได้อย่างเป็นทางการ

นับตั้งแต่นั้นมา ฮับเบิลจึงเริ่มสร้างตำนานภาพถ่ายอันลือลั่นหลายภาพที่ทำให้นักดาราศาสตร์ต้องตกตะลึง อาทิ ซูเปอร์โนวา ปรากฏการณ์การระเบิดของดวงดาวที่สิ้นอายุขัย

เจนนิเฟอร์ ไวส์แมน นักดาราศาสตร์จากศูนย์การบินอวกาศก๊อดดาร์ดของนาซ่า ในเมืองกรีนเบลต์ รัฐแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ฮับเบิลถือเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญในการสร้างความองค์ความรู้ให้ผู้คนทั่วโลก และตนเชื่อว่า ฮับเบิลจะยังสามารถทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมต่อไปอีกหลายปี หลังการตรวจสอบสภาพในปี 2552 พบว่า ฮับเบิลอยู่ในสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน



เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์ข่าวสด


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์