5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

เมื่อสองปีก่อนฉันตกอยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง น่าเสียดายที่ไม่เคยมีใครมาเชิญชวนฉันให้รู้จักรักตัวเอง และหลังจากนั้นฉันก็เริ่มรับประทานยาตามคำสั่งแพทย์รวมถึงต้องเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ใหม่ๆด้วย และนี่คือ 5 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า


1. ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักรู้สึกสิ้นหวังและโดดเดี่ยว

นี่เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้หลายคนมีปัญหาในการสังเกตเพื่อนหรือคนใกล้ชิดว่ามีอาการซึมเศร้าหรือเปล่า? 
เช่น ทำไมเพื่อนถึงเป็นโรคซึมเศร้าทั้งๆที่เมื่อสัปดาห์ก่อนเขาเพิ่งจัดงานปาร์ตี้อย่างสนุกสุดเหวี่ยงอยู่เลย เมื่อใดที่คุณอยู่ตามลำพังและขดตัวอยู่ท่ามกลางความกลัวระคนความโศกเศร้า เมื่อนั้นแหละที่อาการซึมเศร้าจะเข้ามารุมเร้าและทับถมคุณ บรรดาเพื่อนๆอาจไม่ทันสังเกตเห็นและคุณก็ไม่อยากเล่าให้พวกเขาฟังเนื่องจากสมองของคุณสั่งว่าคำปลอบโยนของเพื่อนๆเป็นเรื่องไร้สาระและไม่มีค่าอะไรเลย ต่อให้ทุกคนดูแลเอาใจใส่คุณแต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะรู้สึกเต็มร้อยเสมอไป ประเด็นคือเมื่อคุณรู้สึกซึมเศร้าคุณจะต้องต่อสู้กับสมองที่มาบงการชีวิตของคุณ และต่อให้คุณเอาชนะและขจัดเรื่องห่วยๆเหล่านั้นออกไปได้ แต่คุณก็จะไม่ลืมปัญหานั่นหรอก! คุณจะยังคงคิดวนเวียนซ้ำไปซ้ำมา

5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

2. ภาวะซึมเศร้าหมายถึงอาการเศร้าเท่านั้น

เมื่อคุณได้ยินว่ามีคนเป็นโรคซึมเศร้า คุณมักจะเดาว่าพวกเขากำลังเศร้าเนื่องจากชื่อของมันก็บอกตรงตัวอยู่แล้วว่า “เศร้า” แต่คุณเข้าใจผิดนะ เพราะบางคนอาจระเบิดอารมณ์โกรธออกมาไม่ต่างอะไรจากยักษ์ตัวเขียว นอกจากนี้ยังมีอีกวิธีที่ทำให้คนเรารู้สึกดีขึ้น นั่นคือการทำให้คนอื่นรู้สึกแย่ลงนั่นเอง บางทีคุณอาจมีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป ซึ่งคุณเองก็ไม่รู้ว่ามันอาจลุกลามกลายเป็นปัญหาใหญ่โตได้ รู้ไหมว่าคนที่ตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ามีอาการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศด้วย คู่ของคุณอาจไม่พอใจหรือกังวลว่าคุณจะรู้สึกว่าพวกเขาไม่เร้าใจ ส่วนคุณก็จะกังวลว่าคู่ของคุณไม่มีความสุข คุณจะรู้สึกแย่จนถึงขนาดไม่มีอารมณ์จู๋จี๋เลยล่ะ การศึกษาหนึ่งพบว่าผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าบางคนนิยมมีเซ็กส์เพิ่มขึ้นเนื่องจากพวกเขาจะอาศัยการถึงจุดสุดยอดเพื่อต่อสู้กับภาวะซึมเศร้านั่นเอง

5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

3. ยากล่อมประสาทไม่ได้ผล

บางคนคงเคยได้ยินมาว่ายากล่อมประสาทคือการหลอกลวง แถมคำกล่าวนี้ก็มาจากสื่อยักษ์ใหญ่เสียด้วย ที่สำคัญมักมาพร้อมกับสถิติอันน่าขนลุกว่าผู้คนในสหรัฐรับประทานยากล่อมประสาทมากกว่าน้ำเปล่าซะอีก อัตราของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากำลังเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากปัจจุบันมีการวินิจฉัยโรคที่ดีขึ้น ไม่ใช่การวินิจฉัยแบบมั่วๆเหมือนแต่ก่อน เป็นเรื่องจริงที่บางครั้งยากล่อมประสาทใช้ไม่ได้ผล นั่นเป็นเพราะสมองของ

มนุษย์มีความซับซ้อนมาก แน่นอนว่าการรักษาแบบเดียวกันอาจไม่ได้ผลกับทุกคน แต่กับบางคนกลับช่วยได้ อย่างไรก็ตามยากล่อมประสาทไม่ใช่ยาวิเศษที่จะช่วยปัดเป่าปัญหาทั้งหมดให้หายไป พวกมันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของกระบวนการรักษาเท่านั้น บางทีอาจต้องใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์เพื่อดูว่ายาใช้ได้ผลหรือไม่ หากคุณคาดหวังการรักษาโรคซึมเศร้าที่ใช้เวลาน้อยกว่าหนึ่งปี ขอบอกเลยว่าคุณบ้าแน่ๆ

5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

4. ไม่อยากเป็นโรคซึมเศร้าเหรอ? ง่ายๆก็เลิกเป็นสิ

มีข้อถกเถียงว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องเอาชนะตัวเองให้ได้และเดินหน้าต่อไป เชอะ! แปลว่าถ้าฉันไม่อยากเป็นโรคซึมเศร้าก็แค่หยุดซึมเศร้าอย่างนั้นเหรอ? 

คนที่คิดแบบนี้ไม่ได้เข้าใจผิดแบบธรรมดานะ แต่พวกเขาเข้าใจผิดอย่างมหันต์และอันตรายสุดๆเลยล่ะ ไม่มีใครอยากเป็นโรคซึมเศร้าเพราะมันทรมานจิตใจมากๆ ดังนั้นโปรดอย่าปรักปรำเรา

5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

5. มีแต่ผู้หญิงและคนแก่เท่านั้นที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

เป็นเรื่องจริงที่ผู้หญิงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าผู้ชายประมาณสองเท่า ไม่ใช่เพราะสมองของพวกเขามีกระบวนการทำงานที่แตกต่างกัน แต่เป็นเพราะผู้ชายส่วนใหญ่ไม่ค่อยเรียกหาความช่วยเหลือซึ่งแตกต่างจากผู้หญิง พวกเขาจะออกเดินทางสู่ป่าใหญ่และหาอะไรยิงเล่นซะ ขณะที่ผู้หญิงจะมองหาวิธีรักษาและร้องขอกำลังใจเนื่องจากความอ่อนแอ ส่วนวัยรุ่นจะนิยมแก้ปัญหาด้วยตัวเองแต่จะลังเลกับการค้นหาวิธีรักษาเนื่องจากความเข้าใจผิด หรือกลัวไปต่างๆนานา หรือไม่อยากให้พ่อแม่รู้ หรือเชื่อว่าพยายามไปก็เท่านั้น

5 เรื่องจริงของ โรคซืมเศร้า

ที่มา Blogger : Mark Hill//cracked.com
issue247.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์