ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

เช้าวันหนึ่งหากกาแฟของคุณมีรสชาติขมเกินไป ซองเล็กๆสีสันสดใสที่วางเรียงรายอยู่เหล่านั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไร สารให้ความหวานสังเคราะห์แคลอรี่ต่ำเป็นทางเลือกที่ดีจริงๆเหรอ? สารเหล่านี้ถูกพบได้ในอาหารและเครื่องดื่มที่ระบุว่า “ปราศจากน้ำตาล” เช่น หมากฝรั่ง เครื่องดื่ม ขนม และน้ำผลไม้ ขณะที่น้ำหวานจากว่านหางจระเข้และน้ำผึ้งกลับถูกมองข้ามไป สารทดแทนน้ำตาลเหล่านี้มีประโยชน์ในเรื่องการรักษาน้ำหนักและเหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน

 ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

Equal (แอสปาร์แตม)

แอสปาร์แตมจะให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 200 เท่า แต่มีแคลอรี่ต่ำเพียง 4 แคลอรี่เท่านั้น แอสปาร์แตมประกอบด้วยกรดอะมิโน ได้แก่ สารเฟนนิลอะลานินกับสารแอสปาร์เตท ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรต และสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวานแอสปาร์แตมเป็นที่นิยมมากกว่าเพราะมันไม่ได้เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและไม่ส่งผลกระทบต่อความหวานในอาหาร แต่เมื่อโดนความร้อนแอสปาร์แตมจะสูญเสียรสชาติไป 
องค์การอาหารและยาได้ประกาศให้แอสปาร์แตมเป็นน้ำตาลทางเลือกที่ปลอดภัย แต่ WebMD ระบุว่าคนที่เป็นไมเกรนเรื้อรังอาจปวดหัวจากการรับประทานอาหารที่มีแอสปาร์แตมเป็นส่วนประกอบ

 ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

Splenda (ซูคราโลส)

เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาล 600 เท่า และปราศจากแคลอรี่ โมเลกุลของซูคราโลสจะประกอบด้วยคลอรีนซึ่งเราสามารถพบได้ในอาหารที่เรารับประทานเข้าไปมากมาย 
หากคลอรีนทำปฏิกิริยากับคาร์บอนมันจะสร้างสารเคมีที่ชื่อว่า Chlorocarbon ซึ่งพบได้ในยาฆ่าแมลง สารฆ่าเชื้อ และสารฟอกขาว

 ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

Sweet ‘N Low (แซกคารีน)

ซองสีชมพูเหล่านี้จะมีปริมาณแคลอรี่เพียง 4 แคลอรี่เท่านั้น นอกจากนี้ยังสามารถนำไปอบได้เนื่องจากแซกคารีนจะมีความร้อนคงที่ แซกคารีนจะไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเบาหวาน 
แต่คุณต้องระมัดระวังในการใช้สารให้ความหวานสังเคราะห์ตัวนี้เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

 ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

Stevia (หญ้าหวาน)

สารให้ความหวานสังเคราะห์ตัวนี้จะมีลักษณะเหมือนกับน้ำตาลทรายขาวมากที่สุด โดยทำมาจากใบของหญ้าหวาน ปราศจากแคลอรี่และไม่เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด แถมยังให้ความหวานมากกว่าซูโครสเกือบ 300 เท่า ปัจจุบันหญ้าหวานมีทั้งรูปแบบของเหลวและผงสามารถนำมาใช้เพื่ออบขนมได้ แต่ผู้ใช้บางรายกล่าวว่าหญ้าหวานมีรสชาติขมคล้ายกับชะเอม 

สารให้ความหวานสังเคราะห์ส่วนใหญ่ไม่เหมาะกับเด็กและสตรีมีครรภ์ รวมถึงอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพด้วย อย่างไรก็ตามปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการรับประทานแต่พอดี ตรวจสอบฉลากทุกครั้งก่อนนำไปใช้และควรปรึกษาแพทย์โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

 ข้อดีและข้อเสียของสารให้ความหวานสังเคราะห์

ที่มา : issue247
Blogger : Grace Hermanns
Source : skinnymom.com



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์