ไวรัสมรณะ ยังไร้ยารักษา!

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ตไม่เกียวข้องกับเนื้อหากระทู้

โรคเมอร์ส คืออะไร?

โรคเมอร์ส มีชื่อทางการว่า โรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (Middle East Respiratory Syndrome) หรือเรียกสั้นๆ ว่าโรค MERS โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคของระบบทางเดินหายใจ เชื้อที่เป็นสาเหตุคือเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี 2012 ที่ซาอุดีอาระเบีย โคโรนาไวรัสจัดอยู่ในตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบทางเดินหายใจตั้งแต่โรคที่มีอาการไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัด จนถึงอาการรุนแรง เช่น ซาร์ส

โรคเมอร์สมีอาการอย่างไรบ้าง?


ผู้ป่วยโรคเมอร์สจะมีอาการไข้ ไอ หายใจสั้น ปอดบวม และอาจพบอาการทางระบบทางเดินอาหารร่วมด้วย เช่นท้องเสีย นอกจากนี้ยังได้รับรายงานการพบอาการรุนแรงที่เป็นสาเหตุทำให้ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยบางรายพบมีอวัยวะล้มเหลว โดยเฉพาะไต หรือเกิดการช็อกจากติดเชื้อ ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันอ่อนแอในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน มะเร็ง และโรคปอดเรื้อรัง

ติดเชื้อโรคเมอร์สแต่ไม่แสดงอาการป่วยได้หรือไม่?

คำตอบคือได้ เพราะบางรายที่ติดเชื้อไวรัสเมอร์ส แต่ไม่ปรากฏอาการป่วย ในกลุ่มนี้มักเป็นกลุ่มคนที่มีการสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคเมอร์ส จึงได้รับการเฝ้าระวังติดตามอาการ และได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ

คนติดเชื้อเมอร์สได้อย่างไร?


เชื้อนี้เป็นเชื้อไวรัสที่พบในสัตว์ และเชื่อกันว่าคนสามารถติดเชื้อผ่านมาจากการสัมผัสทางตรงและทางอ้อม กับอูฐโหนกเดียวที่มีการติดเชื้อในแถบตะวันออกกลาง ในบางกรณีไวรัสนี้สามารถแพร่ติดตอจากคนสู่คน โดยเฉพาะในบุคคลที่มีการสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ โดยไม่มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ซึ่งพบได้ในสมาชิกในครอบครัวผู้ป่วย บุคลากรทางการแพทย์ การระบาดที่เกิดขึ้นนี้ส่วนใหญ่ติดต่อจากคนสู่คนในสถานพยาบาล

โรคเมอร์ส เป็นโรคติดต่อใช่หรือไม่?


โรคเมอร์สเป็นโรคติดต่อแต่พบในวงจำกัด โรคนี้ไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คนอย่างง่ายดาย แต่จะพบการติดต่อจากคนสู่คนได้กรณีสัมผัสคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยเฉพาะในกลุ่มที่ต้องดูแลผู้ป่วย แต่ไม่ได้สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย ส่วนมากพบในสถานพยาบาลและเป็นการติดต่อจากคนสู่คน

 

แหล่งที่มาของเชื้อไวรัสเมอร์ส คือค้างคาว อูฐ สัตว์เลี้ยง?

แหล่งที่มาของโรคยังไม่สามารถระบุได้ชัดเจน พบเชื้อไวรัสเมอร์สที่พบตรงกับในคนซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่แยกออกมาจากอูฐที่พบในอียิปต์ โอมาน การ์ตาร์ และซาอุดีอาระเบีย และจากการยังศึกษาอื่นๆ พบแอนติบอดีเชื้อไวรัสเมอร์สในอูฐโหนกเดียว แถบแอฟริกาและตะวันออกกลาง จากการศึกษาข้อมูลทางพันธุกรรมในคนและอูฐ ทำให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างเชื้อไวรัสเมอร์สในอูฐและคน


ไวรัสมรณะ ยังไร้ยารักษา!

เราควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอูฐ ผลิตภัณฑ์จากอูฐหรือไม่? การไปเยี่ยมชมฟาร์มอูฐ ตลาดสดที่มีอูฐ หรืองานออกร้านแสดงอูฐ จะมีความปลอดภัยหรือไม่?

เพื่อเป็นการป้องกันการติดเชื้อ ทุกคนที่เข้าเยี่ยมชมชมฟาร์มอูฐ ตลาดสดที่มีอูฐ โรงเก็บผลผลิตทางการเกษตร หรือสถานที่อื่นๆ ที่มีการแสดงของสัตว์ ควรปฏิบัติตนในการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น ล้างมือเป็นประจำก่อนและหลังสัมผัสสัตว์ หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ป่วย การบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนมและเนื้อสัตว์ที่ดิบหรือที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุก มีความเสี่ยงสูงที่จะติดโรคได้ ส่วนคนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคไตวาย โรคปอดเรื้อรัง และคนที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่จะมีอาการป่วยรุนแรงเมื่อติดเชื้อเมอร์ส ดังนั้นบุคคลกลุ่มนี้ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสอูฐ ดื่มนมอูฐดิบ ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ดิบ

โรคเมอร์สมีวัคซีนป้องกันโรคหรือไม่ และมีการรักษาอย่างไร ?


โรคเมอร์สยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาจำเพาะ การรักษาในปัจจุบันเป็นการรักษาแบบประคับประคองอาการขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย

บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความเสี่ยงติดโรคเมอร์สหรือไม่?

ในหลายประเทศมีการติดต่อของโรคเมอร์สจากผู้ป่วยไปสู่ผู้ที่ดูแลรักษา เนื่องจากอาการของโรคจะมีลักษณะทางคลินิกที่ไม่เฉพาะเจาะจง เพราะฉะนั้นผู้ดูแลรักษาผู้ป่วยควรปฏิบัติตามหลักการป้องกันตนเองตามมาตรฐาน ในระหว่างปฏิบัติงาน


ไวรัสมรณะ ยังไร้ยารักษา!

คำแนะนำสำหรับผู้เดินทางไปต่างประเทศ

ก่อนเดินทางให้เตรียมร่างกายให้พร้อม หากมีโรคประจำตัว ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และเน้นการรักษาสุขอนามัยส่วนบุคคล เช่น การล้างมือ เป็นต้น

ระหว่างอยู่ต่างประเทศ หลีกเลี่ยงการคลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัดโดยไม่จำเป็น ผู้ที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการป่วย ควรใส่หน้ากากอนามัย และเปลี่ยนบ่อยๆ ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หากมีอาการคล้ายไข้หวัด เช่น มีไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ให้ใส่หน้ากากอนามัย และหลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับคนอื่น หากอาการไม่ดีขึ้น หรือหอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์

หลังเดินทางกลับมาในประเทศ


-ผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ให้สังเกตอาการผิดปกติต่ออีก 30 วัน
- ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ที่เดินทางกลับจากพื้นที่เสี่ยง ให้สังเกตอาการ 14 วัน
- หากมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูก ควรพักผ่อนอยู่กับบ้าน หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน หรือมีอาการไข้สูง หอบเหนื่อย หายใจลำบาก ควรไปพบแพทย์ พร้อมทั้งแจ้งประวัติการเดินทาง.



องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 16 มิถุนายน 2558 รวมแล้วผู้ป่วย 1,321 ราย เสียชีวิต 466 ราย

ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของยุโรป (ECDC: European Centre for Disease Prevention and Control) รายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง หรือโรคเมอร์ส ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2558 รวมแล้ว ผู้ป่วย 1,307 ราย เสียชีวิต 500 ราย โดยพบรายงานผู้ป่วยทั้งหมด จาก 25 ประเทศ ดังนี้ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ จอร์แดน โอมาน คูเวต อียิปต์ เยเมน เลบานอน อิหร่าน ตุรกี อังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี กรีซ เนเธอร์แลนด์ ออสเตเรีย ตูนีเซีย แอลจีเรีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน


ไวรัสมรณะ ยังไร้ยารักษา!

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์