“ร้อนตับแตก สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

นับเป็นสำนวนที่ได้ยินกันหนาหูในช่วงนี้ และเชื่อว่ามีหลายคน อยากรู้ความหมายของทั้งสองสำนวน จึงขอเล่าให้ฟังดังนี้ครับ...

"ร้อนตับแลบ"

คำว่า "ร้อนตับแลบ" นั้น นักเขียนอาวุโสที่รู้จักชี้ว่า แท้จริงคำที่ถูกต้องคือ "เหนื่อยตับแลบ" เพราะอาการเหนื่อยมาก มีผลมาจากการเผาผลาญพลังงานมาก ซึ่งเกี่ยวพันกับการทำงานของตับเรานั่นเอง ลองเปิดพจนานุกรม ก็พบบันทึกคำว่า ตับแลบ (ปาก) : ว. แปลว่า มีอาการเหนื่อยมาก เช่น วิ่งจนตับแลบ ฉะนั้น ร้อนตำแลบ แผลงมาจาก เหนื่อยตับแลบ

ในทางการแพทย์ บอกว่าอาการเหนื่อยมากที่เกิดขึ้นนั้น เนื่องเพราะตับมีหน้าที่ต่อร่างกายอย่างมหาศาล ซึ่งโดยปกติตับก็ร้อนอยู่แล้ว และเปรียบเสมือนเตาไฟที่ลุกโชนอยู่ในร่างกายคนเรา

เมื่อรู้สึกร้อนหลายคนจึงมักจะ หาเครื่องดื่มเย็นๆ มาบรรเทาความร้อนนั้น โดยหารู้ไม่ว่ากำลังเอาน้ำเย็นๆ ไปราดบนเตาไฟ คือ ตับ ฉะนั้น จึงควรระวังอย่าดื่มเครื่องดื่มเย็นจัด จงห่วงตับของเราให้มากกว่าความรู้สึกสบายโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์นะครับ


 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

นอกจากนี้ คำว่า "ร้อนตับแลบ" ยังมีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งว่า น่าจะหมายถึงตับไก่ ที่เราย่างไฟเป็นอาหาร ซึ่งเมื่อโดนไฟจัดๆ ร้อนมากๆ ตับไก่ที่ถูกวางเรียงติดๆกัน จะมีน้ำหยดส่งกลิ่นหอม และมีเนื้อยื่นพองออกมา จนเราสามารถได้กลิ่น คนโบราณจึงเอามาเป็นตัวชี้วัดว่า ถ้าวันไหนได้กลิ่นหอมโชยมาเมื่อไหร่ วันนั้นเราจะได้กินตับไก่ย่างแน่นอน กระนั้น ข้อสังเกตนี้ ไม่ได้มีผู้ยอมรับหรือกล่าวถึงความน่าจะเป็นของสำนวน "ร้อนตับแลบ" มากนัก

 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?


 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

"ร้อนตับแตก"

ควรทราบว่า คำว่าร้อนตับแตกนี้ไม่ได้หมายถึง ตับที่เป็นอวัยวะเครื่องในของเรา แต่หมายถึงใบจาก ที่เราใช้มุงหลังคาบ้าน ซึ่งเมื่อโดนแดด จัดๆ ร้อนจนร้อนมากๆ ใบจากที่ถูกเย็บเรียงติดๆ กัน (เรียกว่าตับ) จะแตก หรือโก่งตัวเบียดกันระหว่างใบในตับ จนเกิดเสียงดังเปรี๊ยๆ จนเราสามารถได้ยินได้ (คาดว่าน่าจะเป็นใบจากที่ใบหนามากๆ หรือแก่จัดและแห้งมากๆ) จนคนสมัยโบราณ เอามาเป็นตัวชี้วัดว่าถ้าวันไหนได้ยินหรือรู้ได้ว่า ตับจากที่มุงหลังคาบ้าน "แตก" เมื่อไหร่ วันนั้นเราจะถือว่าร้อนมากๆ ร้อนจน "ตับแตก"

"ตับจาก" ที่ใช้มุงหลังคา จึงเป็นสิ่งที่เปรียบเทียบ "ร้อนตับแตก" นั่นเอง

ฉะนั้น สำนวนหากนำไปใช้เปรียบเทียบกับอากาศร้อนจัด ควรใช้คำว่า "ร้อนตับแตก" โดยให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึง ตับใบจากมุงหลังคา หาใช้ตับที่เป็นอวัยวะของคนแตก


 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

ส่วนคำว่า "ร้อนตับแลบ" ควรใช้เป็น "เหนื่อยตับแลบ" และควรเอาไว้เปรียบเทียบอาการเหนื่อยมากๆ จะเหมาะกว่าครับ

อ้างอิง : หนังสือ ภาษามหาสนุก และ เซียนภาษาไทยไขข้อข้องใจ, ราชบัณฑิต/ ขอขอบคุณภาพจากอินเทอร์เน็ต


 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

ที่มาจาก>>tewson

 “ร้อนตับแตก  สำนวนนี้มีที่มาอย่างไร?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์