นักวิจัยเตือนไม่ควรอ่านหนังสือจากหน้าจอก่อนนอน

การอ่านหนังสือจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีหน้าจอส่องสว่าง (light-emitting eBook) เป็นเวลาหลายชั่วโมงก่อนนอนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพ ความกระปรี้กระเปร่า และนาฬิกาชีวภาพในร่างกายได้



นักวิจัยที่ Brigham and Women's Hospital (BWH) ได้เปรียบเทียบผลของการอ่านหนังสือด้วยอุปกรณ์ "อีบุ๊ค" ก่อนนอนเทียบกับคนที่อ่านหนังสือแบบพิมพ์กระดาษ และได้รายงานการค้นพบในวารสารวิชาการ Proceedings of the National Academy of Sciences แล้ว

"เราพบว่าระบบนาฬิกาชีวภาพของเราจะถูกรบกวนจากคลื่นความถี่สั้นที่มาจากแสงขาวหรือแสงน้ำเงินที่มาจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์พวกนี้" รศ.ดร.แอนนี-มารี ชาง นักวิจัยที่ภาควิชาโรคทางการนอนและวงจรร่างกาย BWH เผย

"ผู้เข้าร่วมการทดลองที่อ่านอีบุ๊คนี้จะใช้เวลานานกว่าที่จะหลับสนิท อีกทั้งยังทำให้นอนหลับไม่ดีเท่า ทำให้การหลังเมลาโทนินลดน้อยลงไป นาฬิกาชีวภาพช้าลง และมีความกระปรี้กระเปร่าในเช้าวันต่อไปน้อยลงไป เมื่อเทียบกับคนที่อ่านหนังสือแบบพิมพ์กระดาษ"

งานวิจัยก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า แสงสีน้ำเงินทำให้การหลั่งเมลาโทนินลดลงไป จะทำให้นาฬิกาชีวภาพลดลงไปและทำให้มีความตื่นตัวมากขึ้น แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับการนอน และนักวิจัยก็ได้พบว่า การใช้อุปกรณ์ที่มีหน้าจอส่องสว่างก่อนนอนเล็กน้อยเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงเพราะมีผลกระทบอย่างมากต่อรูปแบบการนอนหลับและการตื่นนอนของร่างกาย และอาจจะมีผลทำให้เกิดความผิดปกติในการนอนได้ด้วย

ในการศึกษาครั้งนี้ อาสาสมัคร 12 รายเข้าร่วมการทดลองเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ได้อ่านอีบุ๊คด้วยไอแพดเป็นเวลา 4 ชั่วโมงก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลาติดต่อกัน 5 คืน และทำการทดลองซ้ำอีกครั้งแต่ให้อ่านหนังสือในรูปแบบพิมพ์บนกระดาษ นักวิจัยสุ่มให้บางคนเริ่มอ่านอีบุ๊คก่อนแต่บางคนเริ่มอ่านหนังสือแบบพิมพ์กระดาษก่อน

นักวิจัยได้พบว่า คนที่อ่านหนังสือด้วยไอแพดนั้นจะใช้เวลานานกว่าที่จะหลับสนิทและยังรู้สึกง่วงน้อยกว่าในตอนดึก และมีช่วงเวลาที่หลับลึกที่สั้นกว่า คนที่อ่านไอแพดนั้นจะมีการหลั่งสารเมลาโทนินอันเป็นฮอร์โมนที่จะเริ่มขึ้นในช่วงดึกที่ควบคุมความง่วงที่น้อยกว่า นอกจากนี้ คนที่อ่านไอแพดยังมีช่วงเวลาของนาฬิกาชีวภาพที่ช้ากว่าที่บ่งบอกโดยระดับของเมลาโทนิน ซึ่งจะช้าลงเป็นชั่วโมงเลยทีเดียว ทั้งนี้ คนที่อ่านไอแพดยังรู้สึกง่วงน้อยลงเมื่อใกล้ถึงเวลานอน แต่จะง่วงมากขึ้นและตื่นตัวน้อยกว่าเมื่อถึงตอนเช้าในวันต่อมาหลังเวลานอนผ่านไป 8 ชั่วโมง

นอกจากนี้ นักวิจัยยังได้วัดผลของการใช้อุปกรณ์อ่านหนังสือแบบอื่นๆ ด้วย ทั้ง eReader คอมพิวเตอร์ แลปท็อป โทรศัพท์มือถือ หน้าจอแอลอีดี แอพอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ส่องแสงสีน้ำเงินอื่นๆ ด้วย

"ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ระยะเวลาการนอนของคนเราโดยเฉลี่ยนั้นสั้นลง และคุณภาพก็ลดลงด้วย เนื่องจากคนเรามักจะเลือกที่จะอ่านหนังสือจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ หรือไม่ก็ใช้เพื่อการสื่อสาร ความบันเทิง โดยเฉพาะในวัยเด็กที่จะนอนน้อยลงไปมาก เราจึงจำเป็นต้องมีงานวิจัยที่วิเคราะห์ว่าผลเสียระยะยาวต่อสุขภาพและความปลอดภัยเป็นอย่างไร" นพ.ดร.ชาร์ลส์ ชีสเลอร์ หัวหน้าภาควิชาเผย

นักวิจัยได้เน้นย้ำว่างานวิจัยชิ้นนี้นับเป็นหลักฐานที่สนับสนุนแสงจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดเมลาโทนิน และเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งชนิดต่างๆ อีกด้วย



ที่มา : vcharkarn.com

นักวิจัยเตือนไม่ควรอ่านหนังสือจากหน้าจอก่อนนอน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์