ยาฆ่าแมลงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของแมงมุมได้

แมงมุมนั้นมีพฤติกรรมเฉพาะตัวเช่นเดียวกับผู้คน บางชนิดเป็นนักผจญภัย บางชนิดอาจจะมีอันตรายมากก็ได้ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของพวกมันสามารถเกิดการกระทบกระเทือนได้เมื่อทำการสัมผัสกับมลภาวะ การศึกษาใหม่พบว่า สารเคมีทั่วๆ ไปที่ใช้ในการฆ่าแมลงในสวนผลไม้สามารถก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของลักษณะเฉพาะของพวกมันได้  มันสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการกระโดดของแมงมุมได้สำหรับกลุ่มที่กินแมลงที่ได้รับสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

การค้นพบครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ไว้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติ Functional Ecology ในเดือนกรกฎาคม

การศึกษาก่อนหน้านี้ได้แสดงให้เห็นว่า แมงมุมกระโดดที่มีลักษณะชอบผจญภัยนั้นมีความเสี่ยงมากกว่า พวกมันจะค้นหาไปทั่วอาณาเขตของพวกมัน ซึ่งช่วยให้มันหาเหยื่อได้ พวกมันยังมีความต้องการที่จะกระโจนเข้าหาเหยื่อด้วย ซึ่งทำให้มันได้อาหารมา สำหรับกลุ่มแมงมุมที่ไม่ชอบผจญภัยหรือออกไปไหนจะอยู่ใกล้ๆ กับบ้านของพวกมัน และไม่ออกไปหาเหยื่อบ่อยครั้งนัก ซึ่งทำให้มันได้เหยื่อน้อยกว่า

ทำไมแมงมุมเหล่านี้ถึงมีพฤติกรรมที่แตกต่างกัน “มันเป็นเพราะว่า สมองของแมงมุมแต่ละชนิดมีความแตกต่างกัน ซึ่งเหมือนกันกับของมนุษย์” Raphaël Royauté กล่าว “นั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมยาถึงส่งผลกระทบต่อคนบางคนได้ดีกว่าอีกคนหนึ่ง หรือทำไมบางคนถึงรู้สึกไวกับแอลกอฮอล์ได้เร็วกว่าอีกคนหนึ่ง”

เราจะทำอย่างไรในการจำกัดความต้องการในการใช้ยาฆ่าแมลง

Royauté ทำงานให้กับ North Dakota State University ใน Fargo ที่นั่นเขาได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ตามธรรมชาติ สำหรับการศึกษาใหม่ของเขาในครั้งนี้ เขาได้ทำการศึกษาผลกระทบของยาฆ่าแมลงที่เรียกว่า phosmet กับลักษณะเฉพาะตัวของแมงมุมกระโดดสีบรอนซ์

ชาวนาส่วนมากใช้ phosmet ในสวนผลไม้เพื่อทำการฆ่าพวกแมลงที่ทำอันตรายต่อพืชผลของพวกเขา เนื่องจากแมงมุมกระโดดสีบรอนซ์จะทำการกินอาหารซึ่งก็คือ พวกแมลงที่คอยทำลายผลไม้เหล่านั้น เพราะฉะนั้น Royauté จึงสงสัยว่า ยาฆ่าแมลงเหล่านี้อาจจะมีผลกระทบบางอย่างต่อพวกมัน

ในการที่จะค้นหาคำตอบ Royauté และทีมวิจัยของเขาทำการรวบรวมแมงมุมกระโดดสีบรอนซ์กว่า 200 ตัว พวกเขาทำการปล่อยแมงมุมลงในสามพื้นที่ที่ไม่มีการใช้งานของสาร phosmet เมื่อกลับไปที่ห้องทดลอง นักวิทยาศาสตร์ได้ทำการทดสอบลักษณะการล่าเหยื่อของแมงมุมพวกนี้

ในการทดสอบแรก พวกเขาทำการวางแมงมุมแต่ละตัวในกล่องขนาด 30 เซนติเมตร ทำการแบ่งเส้นบนพื้นของกล่องออกเป็น 36 ช่องสี่เหลี่ยม หลังจากนั้นพวกเขาทำการบันทึกว่า แมงมุมนั้นเดินออกไปเป็นจำนวนกี่ช่องภายในห้านาที สำหรับแมงมุมที่มีจำนวนช่องในการเดินทางมากที่สุดจะถูกจัดกลุ่มให้เป็นพวกที่ชอบการผจญภัย

ในการทดสอบที่สอง แมงมุมแต่ละตัวจะถูกวางลงในจานเพาะเชื้อที่มีแมลงผลไม้อยู่ด้วย หลังจากนั้นนักวิจัยจะทำการจับเวลาเพื่อดูว่าแมงมุมนั้นทำการติดตามและกระโดดเข้าหาเหยื่อเร็วแค่ไหน ก่อนที่จะทำการกินมันเป็นอาหาร ผู้ล่าที่เร็วที่สุดก็จะถูกจัดว่าเป็นกลุ่มที่ชอบการผจญภัย

ทีมวิจัยทำการทำซ้ำแต่ละการทดลองเพื่อนำผลมาเป็นค่าเฉลี่ย

หลังจากนั้น พวกเขาทำการปล่อยครึ่งหนึ่งของแมงมุมให้สัมผัสกับ phosmet หลังจากหนึ่งวันผ่านไป พวกเขาทำการทำซ้ำเกี่ยวกับการทดลองทั้งสองข้างต้น กลุ่มแมงมุมที่ได้รับสาร phosmet จะประพฤติตัวไม่เหมือนเดิม

ถ้าพวกมันทำการเคลื่อนตัวโดยเฉลี่ยประมาณเจ็ดช่องก่อนที่จะได้รับสาร phosmet ในตอนนี้บางตัวจะเคลื่อนที่ได้มากขึ้น หรือน้อยลงมาก และถ้าพวกมันทำการจับเหยื่อได้อย่างรวดเร็วก่อนหน้านี้ บางตัวจะทำการจับเหยื่อได้ช้าลง ในขณะที่ตัวอื่นๆจะทำการจับเหยื่อได้เร็วมากยิ่งขึ้น

“พวกมันหลุดออกจากพฤติกรรมปกติที่ควรจะเป็น” Royauté กล่าว และสิ่งนี้เป็นผลกระทบที่เกิดขึ้นจากสารเคมีที่ใช้ในการฆ่าแมลง

Pierre-Olivier Montiglio เห็นด้วยกับการศึกษาในครั้งนี้ เขาทำงานให้กับ University of California ซึ่งเขาเป็นนักนิเวศวิทยาทางด้านวิวัฒนาการ

“ผลการทดลองของ Raphaël แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ว่ายาฆ่าแมลงจะไม่ได้ทำร้ายแมงมุม แต่มันก็ยังส่งผลที่ไม่ดีต่อแมงมุมเหล่านั้นอยู่ดี” เขากล่าว “ยาฆ่าแมลงเข้าขัดขวางการตัดสินใจที่ชาญฉลาดของแมงมุมเกี่ยวกับอาหารว่าพวกมันควรที่จะกินหรือพวกมันควรที่จะมีชีวิตอยู่”



ที่มา : vcharkarn.com

ยาฆ่าแมลงสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมของแมงมุมได้

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์