ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

ก.เอ๋ย ก.ไก่ ข.ไข่ ในเล้า บทท่องจำพยัญชนะไทยที่คนในรุ่นหนึ่งคุ้นเคยกันดี และท่องกันได้จนถึงถึง ฮ.นกฮูกตาโตแต่คนในอีกสมัยหนึ่งก็ไม่ได้ท่องแบบนี้เสมอไป

โรงเรียนที่เกิดขึ้นในแต่ละที่ในช่วงแรกของการจัดการศึกษาของไทยแต่ละโรงเรียนมีเอกสิทธิในการผลิตตำราเรียนของตนเองแล้วแต่ว่าจะใช้สอนอย่างไรเช่นแบบเรียนเร็ว ของกรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งวงการประวัติศาสตร์ไทย ที่ทรงพระนิพนธ์ขึ้นเพื่อใช้สอนภาษาไทยในโรงเรียนทดลองในวังของพระองค์ เหตุผลเพราะตำราเรียนภาษาไทยที่เรียกว่าแบบเรียนหลวง รวม 6 เล่มประกอบกัน (มูลบทบรรพกิจ วาหนิติ์นิกร อักษรประโยค สังโยคพิธาน ไวพจน์พิจารณ์ พิศาลการันต์) จำเป็นต้องใช้เวลาเรียนมากเป็นปี ทำให้เยาวชนหรือผู้เรียนที่ยังอยู่ในระบบมูลนายไม่สามารถเรียนหนังสือได้จบตลอดทั้งเล่ม เพราะเมื่อเรียนได้ราวหกเดือนก็ต้องกลับบ้านไปช่วยพ่อแม่ทำนาเพื่อจ่ายภาษีให้กับรัฐ เมื่อกลับมาเรียนก็ต้องเสียเวลาทบทวนเป็นเวลานาน แบบเรียนเร็วของพระองค์จึงเป็นทั้งตัวอย่างของการมีสิทธิในการผลิตตำราเรียนของแต่ละโรงเรียน และเป็นการปรับแบบเรียนให้เข้ากับผู้เรียนเป็นรุ่นแรก

เมื่อมีการก่อตั้งกระทรวงธรรมการหรือกระทรวงศึกษาธิการขึ้นมาในช่วงการปฏิรูประบบราชการในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทำให้เริ่มมีการกำหนดมาตรฐานแบบเรียน และต้องขออนุญาตจากกระทรวงธรรมการก่อนนำไปเผยแพร่ใช้ในโรงเรียน ยกเว้นกรณีแบบเรียนเร็วของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ที่ทรงนำแบบเรียนเร็วขึ้นทูลเกล้าฯถวายรัชกาลที่5 เพื่อขอพระราชทานพระบรมราชนุญาตสำหรับใช้ในโรงเรียนโดยตรง

ไม่เฉพาะโรงเรียนที่ก่อตั้งโดยสยามหรือชาวไทยที่จะสอนภาษาไทยเท่านั้น โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นโดยชาวต่างประเทศก็มีการจัดการเรียนการสอนและผลิตตำราภาษาไทยเช่นกัน แบบเรียนชุดหนึ่งที่ใช้สอนภาษาไทยและมีการปรับปรุงแก้ไขและประกาศใช้มาจนปัจจุบัน คือ ดรุณศึกษา ซึ่งถูกเรียบเรียงขึ้นในปีพ.ศ. 2453 โดยภราดา ฟ. ฮีแลร์ นักบวชคณะเซนต์กราเบรียลที่เดินทางมารับงานด้านการศึกษาในประเทศไทยที่โรงเรียนอัสสัมชัญ โดยยังได้รับการปรับปรุงเนื้อหาและตีพิมพ์ซ้ำมาจนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2559) ซึ่งเป็นการตีพิมพ์ซ้ำในลักษณะที่ใช้งานจริง ในขณะที่แบบเรียนที่เขียนโดยชาวไทยถูกแก้และปรับเปลี่ยนเรื่อยมา

เมื่อการพิมพ์หนังสือไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะโรงพิมพ์ของหลวงหรือโรงพิมพ์ของพระในคริสต์ศาสนาเท่านั้นเอกชนสามารถเป็นเจ้าของและผลิตหนังสือเพื่อค้าขายได้อย่างกว้างขวางหนังสือพิมพ์นิยายไทยนิยายแปลเรื่องปกิณกะประวัติศาสตร์สังคมวัฒนธรรมการดูแลร่างกายคู่มือดูแลบ้านเรือนฯลฯถูกผลิตออกมาเป็นหนังสือเพื่อจำหน่ายอย่างกว้างขวางหนึ่งในบรรดาหนังสือที่ผลิตออกจากสำนักพิมพ์เหล่านั้นคือหนังสือสำหรับเด็กที่มีทั้งหัดอ่านหัดเขียนที่เนื้อหามีการพัฒนาไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีของการพิมพ์กระดาษอุปกรณ์ประกอบการอ่านความคิดสร้างสรรค์ของผู้ผลิตและความต้องการของผู้บริโภค

ในยุคที่หนังสือออกเสียงได้แล้วโดยแค่ใช้ปากกาที่แถมมากับหนังสือลากผ่านเด็กในยุคนี้สามารถฟังนิทานเรียนภาษาต่างๆพร้อมกับเห็นภาพประกอบสีสดใสสื่อความหมายเพื่อช่วยในการเรียนรู้และจดจำสงสัยสิ่งใดก็เพียงใช้สมาร์ทโฟนหรือแท็บเบล็ตที่เลื่อนเล่นจนคุ้นมือในการค้นหาข้อมูลหรือใช้เล่นเพื่อความบันเทิงได้แต่ก่อนหน้าที่จะมีสิ่งอำนวยความสะดวกมากเท่าปัจจุบันนี้หนังสือเป็นสิ่งเดียวที่ช่วยสอนและให้ความรู้กับนักเรียนหรือผู้อ่านเท่านั้นการท่องจำช่วยให้ผู้อ่านจำได้ในยามที่ไม่มีหนังสืออยู่กับตัวจำนวนสำนักพิมพ์ที่มีมากและผู้ผลิตที่ต้องการสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของสำนักพิมพ์ตนหรือเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์จึงต้องผลิตสื่อที่แตกต่างกันออกไปในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการเรียกหรือการให้ความหมายและคำต่อท้ายของพยัญชนะในสามยุคกว้างๆเพื่อให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของการอ่านตัวพยัญชนะดังนี้


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย


ฉ.ฉิ่งไม่ได้ตีดัง และ ช.ช้างไม่ได้วิ่งหนีเสมอไป ความหมายที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย

จากตารางจะเห็นได้ว่าในยุคแรกของการกำหนดคำอ่านให้กับพยัญชนะยังไม่มีการให้คำต่อท้ายเมื่อเริ่มมีการให้คำต่อท้ายวลีเหล่านั้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไปในแทบจะทุกช่วงทศวรรษคำอ่านสองคำที่เราเห็นการเปลี่ยนแปลงในระดับที่เปลี่ยนคำอ่านไปอย่างสิ้นเชิงคือ "ฅ ฅอ" ที่มีภาพประกอบเป็น คอ (อวัยวะของร่างกาย) กับ "ฅ ฅน" ที่หมายถึงตัวบุคคล กับ "ฬ ฬา" ที่มีภาพประกอบเป็นตัวลา เปลี่ยนเป็น "ฬ จุฬา" ที่มีภาพประกอบเป็นว่าวจุฬา ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นการเลี่ยงที่จะไม่ใช้คำว่า "จุฬา" ตั้งแต่แรกของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพราะตามธรรมเนียมไทยมักจะไม่นิยมเอ่ยพระนามพระมหากษัตริย์ ซึ่งในช่วงที่แบบเรียนเร็วของกรมพระยามดำรงราชานุภาพตีพิมพ์นั้น เป็นช่วงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระนามว่า "จุฬาลงกรณ์"

ภาพจาก แบบเรียนเร็ว เล่ม 1, 2, 3 หน้า 7 และ 20

วลีต่อท้ายหากมองเผินๆแล้วแทบจะหาความเกี่ยวข้องของแต่ละพยัญชนะได้เลยอย่างเช่น "ข.ไข่ ขีดเขียน" ที่ฟังดูเข้าใจยากกว่า "ข.ไข่ ในเล้า" แต่ก็ยังพอเข้าใจได้ว่าเป็นการใช้เสียงพยัญชนะ ข ในคำว่า "ขีดเขียน" แต่ทำไม "ฃ.ขวด ไม่เรียน" ยังหาความเกี่ยวข้องไม่ได้ สิ่งเดียวที่เห็นตอนนี้คือเป็นคำคล้องของกับ "ขีดเขียน" ในคำก่อนหน้า หรือทำไม ฟ.ฟัน ต้อง "เชื่อฟัง" และ อ.อ่าง ต้อง "ราคาถูก" คำอธิบายว่าเป็นไปเพื่อคำคล้องจองหรือการเขียนในลักษณะกลอนพาไปก็คงไม่ใช่คำตอบเดียว เพราะจะเห็นจากตัวอย่างด้านบนได้แล้วว่า หลายประโยคก็ไม่มีความคล้องจองกันเลย จึงทำให้เชื่อได้ว่าน่าจะเป็นการหลีกเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ในการพิมพ์ของแต่ละสำนักพิมพ์ที่พิมพ์หนังสือฝึกอ่านเหล่านี้ออกจำหน่ายอย่างกว้างขวาง

นอกจากนี้ตัวอักษรในหมวดคนก็ถูกให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปบ้างเล็กน้อยเช่นฅ.คน ที่เคย "ดีจัง" ในทศวรรษ 2520 กลับกลายเป็น "ขึงขัง" ตั้งแต่ทศวรรษ 2530 เป็นต้นมา ในขณะที่ ญ.หญิง ยังคงสวย "โสภา" เหมือนเดิม ส่วน ฒ.ผู้เฒ่า หลังจากมีภาพของความแก่ชราจนต้อง "เดินย่อง" ก็กลับมาสร้างคุณค่าใหม่ให้กับตัวเองด้วยการ "เล่านิทาน" หรือ ด.เด็ก ที่เคย "ซุกซน" และ "ต้องนิมนต์" ณ.เณร ที่ "ไม่มอง" ก็กลับมาเป็นเด็ก "แข็งแรง" ในทศวรรษ 2550

ทว่าคนที่น่าสงสารที่สุด คือนางมณโฑ ที่เคย "พริ้งเพรา" และ "หน้าขาว" กลับต้องมาเป็นคน "หน้าเศร้า" ในทศวรรษ 2550 เสียแล้ว หากจะอธิบายว่าเธอหน้าเศร้าเพราะคนไม่รู้จักหรือไม่เคยเห็นนางมณโฑก็อาจอธิบายไม่ได้ เพราะถ้าใช้คำอธิบายนี้มาอธิบาย "ษ.ฤาษี" ก็จะไม่สามารถอธิบายได้ชัดเจน เพราะเขาทั้ง "มีมนต์" "หนวดยาว" และ "เอื้อเฟื้อ" เพราะไม่ได้แสดงออกถึงสภาพี่แย่ลงของฤาษีอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่มีใครรู้จักฤาษีมากไปกว่าภาพของชายชราหนวดยาวที่ใส่ชุดลายเสือและถือไม้เท้า อย่างเดียวกันกับที่เราท่องกันมาตลกๆว่านางมณโฑนมโตข้างเดียว

พยัญชนะไทยถูกให้คำอ่านเป็นครั้งแรกในแบบเรียนเร็วของสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เพราะในแบบเรียนชุดแบบเรียนหลวงที่ตีพิมพ์ก่อนหน้าแบบเรียนเร็ว มีเพียงการนำตัวอักษรทั้งหมดมาเรียงกัน แล้วแบ่งวรรคพยัญชนะและประเภทอักษรสูง กลาง ต่ำ ให้นักเรียนท่องจำเท่านั้น ตัวอย่างคำอ่านและวลีต่อท้ายที่ยกมานี้ไม่ใช่ตัวแทนของแต่ละยุคสมัยแต่เป็นเพียงตัวอย่างที่สื่อให้เห็นถึงความหลากหลายในการเปลี่ยนแปลงทั้งคำอ่านและวลีต่อท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเท่านั้น แบบหัดอ่านเล่มเดียวกันจากสำนักพิมพ์เดียวกัน ก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา และแบบหัดอ่านบางเล่มอาจใช้อ่านมานานแล้ว และพิมพ์ซ้ำในทศวรรษต่อๆมาได้ ตัวอย่างที่ยกมานี้จึงเป็นเพียงเศษเสี้ยวส่วนเดียวของการศึกษารูปแบบการสอนอ่าน ก.ไก่ทั้งหมดซึ่งในความเป็นจริงยังมีตัวอย่างที่แตกต่างกว่านี้อีกมาก

ช.ช้าง จึงเพียงยืนมอง ฉ.ฉิ่ง ที่ตี "ฉับฉ่าง" และเป็นช้าง "ตัวโต" ที่ไม่สะทกสะท้านต่อเสียงของ ฉ.ฉิ่ง ที่ "ตีดัง" โดยไม่ต้อง "วิ่งหนี" เสมอไป



Cr.silpa-mag


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์