6 เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้

13 ตุลาคม 2559 เป็นวันแห่งความโศกเศร้าครั้งยิ่งใหญ่ที่ชาวไทยทุกหมู่เหล่าต้องสูญเสีย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ซึ่งในขณะเดียวกันหลายๆ คนก็เกิดคำถามว่าเชื้อพระวงศ์พระองค์ใดที่จะขึ้นมาเป็นรัชกาลที่ 10 สืบไป

เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ โดยต่อมาได้มีการเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2515 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เป็นพระรัชทายาทเพื่อทรงสืบราชสันตติวงศ์  วันนี้ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่พสกนิกรชาวไทยหลายๆ คนอาจยังไม่เคยรู้ มาให้ได้อ่านกัน


6 เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้

1.ทรงเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ พระองค์ที่เท่าไหร่ ตามกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์

นับเป็นพระองค์ที่ 3 พระองค์แรกคือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี แต่ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนจะทรงสืบราชสมบัติ

พระองค์ที่ 2 สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระราชชนนี คือ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เป็นสมเด็จพระราชโอรสพระองค์รองลงมา ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ (รัชกาลที่ 6)

2.ใคร คือ แพทย์และพยาบาลผู้ถวายพระประสูติกาล

นายแพทย์คือ นายแพทย์ ม.ล.เกษตร สนิทวงศ์ 
พยาบาลล้วนเป็นหัวหน้าพยาบาลจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ 3 คน คือ คุณถวิลหวัง ทุติยะโพธิ์ , คุณหญิงอาบ สุคันธนาค และคุณหญิงประเทือง คชภักดี

3.ทรงมีน้ำหนักพระองค์เท่าใด ในขณะประสูติ

ขณะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานน้ำพระมหาสังข์แก่พระราชโอรสตามพระราชประเพณี เมื่อเวลา 14.45 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม 2495 นั้น น้ำหนักพระองค์ชั่งได้ 6 ปอนด์ และได้ทรงถ่ายพระรูปฝีพระหัตถ์พระราชทานแก่ประชาชนผ่านทางหนังสือพิมพ์รายวันทุกฉบับด้วย

4.ใคร คือผู้ขนานนามพระนาม และผูกดวงพระชะตาถวาย

ผู้ขนานนามคือ สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ส่วนผู้ผูกดวงชะตาคือ พระธรรมวโรดม (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) วัดสระเกศ ซึ่งต่อมาได้เป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ทราบว่า พระยาบริรักษ์เวชการ กับคุณหญิงชิต มิลินทสูต ผู้สนใจในโหราศาสตร์ ได้ร่วมผูกดวงชะตาตามตำราของพระองค์หญิงเฉิดโฉมด้วย ปรากฏว่า พระองค์พระราชสมภพ ยามโฆสกะเศรษฐี ตามนิยายชาดก ซึ่งเกิดมาเสวยสมบัติมหาศาลของเศรษฐี ผู้ใดคิดร้ายก็พ่ายแพ้พระบารมีทุกทีไป ทรงมีเสาร์เป็นสิริ แสดงว่าบริบูรณ์ด้วยพระอิสริยยศ อุดมด้วยทรัพย์ และสำคัญที่สุดคือ จะทรงมีพระชนม์ยืนยาว ทั้งพระฤกษ์ประสูติเป็นพระฤกษ์เดียวกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก องค์ปฐมบรมราชจักรีวงศ์ด้วย

 


6 เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้

5.ใคร คือพระพี่เลี้ยงถวายการดูแลระหว่างยังเสวยพระกษิรธารา หรือเมื่อยังมีพระชนม์ไม่ถึงหนึ่งพรรษา

พระพี่เลี้ยงในครั้งนั้นเป็นพยาบาลจากโรงพยาบาลใหญ่ในกรุงเทพฯ 3 แห่ง คือ ศิริราช จุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลหญิง มี สมพร กุณฑลจินดา , วิไล อมาตยกุล , อภิรดี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , ทวี มณีนุตร มีท้าวอินทรสุริยา (คุณพระพี่เลี้ยงเนื่อง) พระพี่เลี้ยงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ครั้งยังทรงพระเยาว์เป็นผู้ดูแลทั่วไป และมีนายแพทย์อรุณ เนตรศิริ เป็นผู้อำนวยการถวายคำปรึกษาในด้านนี้

 

 


6 เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้

6.พระสหายร่วมชั้นอนุบาลที่ ร.ร.จิตรลดา มีกี่คน ใครบ้าง?

ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลที่โรงเรียนนี้เมื่อกันยายน ปี 2499 ขณะมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษาเศษ นักเรียนร่วมชั้นมีเพียง 7 คน คือ ม.ร.ว.สิทธินัดดา ชุมพล , อรนิดา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , เกตนา โชติกเสถียร , เกรียงศักดิ์ ช่างเรือน , วีรวุทธิ วิรยพงศ์ , สัณห์ ศรีวรรธนะ และเกริก วณิ
แล้วจึงเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อในระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนคิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ หลังจากนั้น ทรงศึกษาต่อวิชาทหารที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย เสร็จแล้ว ทรงการศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีสาขาอักษรศาสตร์ (ด้านการทหาร) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลียเมื่อ พ.ศ. 2519

 เมื่อนิวัติประเทศไทยทรงรับราชการทหารแล้วทรงศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ 46 เมื่อปี พ.ศ. 2520 ทรงเข้าศึกษาในสาขาวิชานิติศาสตร์ รุ่นที่ 2 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เมื่อ พ.ศ.2525 ทรงสำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ 2) และปี พ.ศ. 2533 ทรงได้รับการศึกษา ณ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรแห่งสหราชอาณาจักร

 


6 เรื่องราวเกี่ยวกับ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ที่ชาวไทยอาจยังไม่เคยรู้

ที่มา campus-star


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์