เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม

"...เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นเป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียรและมาเรียนเสมอมิได้ขาด ผิดกับผู้หญิงอื่น ๆ ที่เรียนบ้างหยุดบ้าง..."

เจ้าจอมมารดากลิ่น ปรากฏอยู่ในงานเขียนของ แอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยาม โดยงานเขียนของลีโอโนเวนส์ได้ให้มุมมองในตัวของเจ้าจอมมารดากลิ่นที่แตกต่างออกไปจากเจ้าจอมท่านอื่น ซึ่งท่านเจ้าจอมผู้นี้เองที่เป็นจุดเริ่มของการปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งสยามประเทศ นั่นก็คือ "การเลิกทาส" 

เจ้าจอมมารดากลิ่น เป็นธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ขุนนางเชื้อสายมอญ ซึ่งบิดาเป็นบุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ส่วนทวดของเจ้าจอมมารดากลิ่นคือ เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) หรือ พระยาเจ่ง อดีตเจ้าเมืองเตรินที่คับข้องใจจากการกดขี่ของพม่าและได้อพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์สยาม เป็นต้นสกุล "คชเสนี" และมีลูกหลานรับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบมา

พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ถวายตัวเข้ารับราชการในมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับบรรดาศักดิ์และเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันคืออำเภอพระประแดง)  ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ถวายตัวธิดาคือ กลิ่น หรือ ซ่อนกลิ่น เข้ารับราชการฝ่ายใน และได้เป็นเจ้าจอมมารดาใน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ (ประสูติ: 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 — สิ้นพระชนม์: 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468) ต้นราชสกุล “กฤดากร ณ อยุธยา”

แม้ว่าเจ้าจอมมารดากลิ่นจะเป็นพระสนมเอก และไม่ปรากฏหลักฐานเรื่องความสนิทเสน่หากับพระราชสวามีมากนัก แต่จากหลักฐานงานบันทึกของแอนนา ลีโอโนเวนส์ได้กล่าวว่า

"เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นไม่ใคร่จะเป็นที่โปรดปรานนัก เนื่องจากทรงระแวงญาติพี่น้องที่มีเชื้อสายมอญว่าจะไม่ซื่อสัตย์ภักดีต่อแผ่นดินไทย"

ถึงกับเคยลงโทษเจ้าจอมมารดากลิ่นเมื่อครั้งทูลขอให้ทรงแต่งตั้งพี่ชายเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์แทนบิดาที่เสียชีวิต

ท่านมีความเคร่งครัดมากในอัตลักษณ์ความเป็นมอญ ซึ่งในวังกรมพระนเรศวร์วรฤทธิ์ก็ใช้ภาษามอญ กินอาหารมอญ รวมทั้งกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์เองก็ทรงเจาะหูตามธรรมเนียมมอญ นอกจากนี้เจ้าจอมมารดากลิ่นยังเป็นผู้มีความเมตตา ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่า ความว่า

"...เมื่อ พ.ศ. 2466 มารดาของข้าพเจ้าถึงอสัญกรรม วันหนึ่งกรมพระนเรศวรฤทธิ์เสด็จมาเยี่ยมด้วยกันกับเจ้าจอมมารดากลิ่น เมื่อนั่งอยู่ด้วยกันหน้าศพ คุณจอมมารดากลิ่นเห็นข้าพเจ้าเศร้าโศก ท่านสงสารออกปากว่า 'เสด็จต้องเป็นกำพร้า ฉันจะรับเป็นแม่แทนแม่ชุ่มจะโปรดหรือไม่' ข้าพเจ้าได้ฟังท่านแสดงความกรุณาเช่นนั้นจับใจ ก็กราบเรียนในทันทีว่า 'ดี ฉันขอเป็นลูกคุณแม่ต่อไป' แต่วันนั้นมาคุณจอมมารดากลิ่นท่านก็แสดงความเมตตาปรานีอุปการะข้าพเจ้าเหมือนเช่นเป็นบุตรของท่าน ฝ่ายข้าพเจ้าก็ปฏิบัติบูชาท่านมาเหมือนเช่นเป็นมารดา"

เจ้าจอมมารดากลิ่นถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 สิริอายุ 91 ปี พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2469

เจ้าจอมมารดากลิ่น เป็นธิดาพระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ขุนนางเชื้อสายมอญ ซึ่งบิดาเป็นบุตรของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ คชเสนี) ส่วนทวดของเจ้าจอมมารดากลิ่นคือ เจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี) หรือ พระยาเจ่ง อดีตเจ้าเมืองเตรินที่คับข้องใจจากการกดขี่ของพม่าและได้อพยพเข้าพึ่งพระบรมโพธิสมภารกษัตริย์สยาม เป็นต้นสกุลคชเสนี และมีลูกหลานรับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบมา

พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ถวายตัวเข้ารับราชการในมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จนได้รับบรรดาศักดิ์และเป็นเจ้าเมืองนครเขื่อนขันธ์ (ปัจจุบันคืออำเภอพระประแดง) ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ถวายตัวธิดาคือ กลิ่น หรือ ซ่อนกลิ่น เข้ารับราชการฝ่ายใน และได้เป็นเจ้าจอมมารดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ (ประสูติ: 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2398 — สิ้นพระชนม์: 10 สิงหาคม พ.ศ. 2468) ต้นราชสกุล “กฤดากร ณ อยุธยา” เจ้าจอมมารดากลิ่น ปรากฏอยู่ในงานเขียนของแอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักสยาม โดยงานเขียนของลีโอโนเวนส์ได้ให้มุมมองในตัวของเจ้าจอมมารดากลิ่นที่แตกต่างออกไปจากเจ้าจอมท่านอื่น เป็นต้นว่า มีความสนใจการเรียนภาษาอังกฤษกับแหม่มแอนนามาก นางลีโอโนเวนส์ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับการเรียนภาษาอังกฤษของเจ้าจอมมารดากลิ่นว่า

"...เจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นเป็นศิษย์ที่มีความขยันหมั่นเพียรและมาเรียนเสมอมิได้ขาด ผิดกับผู้หญิงอื่น ๆ ที่เรียนบ้างหยุดบ้าง..."

กล่าวกันว่านางลีโอโนเวนส์ได้ให้หนังสือ "Uncle Tom’s Cabin" (หรือ กระท่อมน้อยของลุงทอม) สำหรับอ่านเป็นการบ้าน แต่ด้วยวิริยะอุตสาหะ เจ้าจอมมารดากลิ่นก็สามารถแปลเรื่องดังกล่าวได้อย่างแตกฉาน (ซึ่งอาจจะได้รับการแปลเป็นภาษาไทยหรือมอญก็เป็นได้) นางลีโอโนเวนส์ได้กล่าวไว้ว่า

"เวลาพูดถึงบุคคลในเรื่องนี้ [กระท่อมน้อยของลุงทอม] เธอจะเอ่ยราวกับว่าเป็นผู้คุ้นเคยของเธอมานานปีแล้วฉะนั้น"

 และอิทธิพลจากนวนิยายดังกล่าว ราวปี พ.ศ. 2410  เจ้าจอมมารดากลิ่นก็ทำการปลดปล่อยทาสให้เป็นอิสระดั่งมิสซิสฮาเรียต ส่วนทาสที่ยังขอรับใช้นั้น ท่านก็ให้เงินเดือนเดือนละ 4 บาท รวมทั้งเสื้อผ้าและอาหารด้วย  ถือเป็นแนวคิดที่ล้ำสมัยมากในขณะนั้นเพราะเกิดขึ้นก่อนการประกาศเลิกทาสหลายปี

ในส่วนความศรัทธามั่นคงในพระบวรพุทธศาสนาของเจ้าจอมมารดาซ่อนกลิ่นนั้น นอกจากปฏิบัติตนเป็นพุทธศาสนิกชนอย่างเคร่งครัดแล้ว ยังมีจิตศรัทธาสละทรัพย์ส่วนตัวสร้างพระอารามขึ้นที่ตำบลทับยาว อำเภอลาดกระบัง ซึ่งเป็นถิ่นที่มีชาวรามัญตั้งบ้านเรือนอาศัยอยู่มากชื่อว่า วัดสุทธาโภชน์

เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม


เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม


เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม


เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม


เปิดหน้าประวัติศาสตร์ เจ้าจอมมารดา ผู้ปลดแอกอิสรภาพให้ชาวสยาม

Credit.    : เรียบเรียงใหม่โดย เพจรวมพล คนรักประวัติศาสตร์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์