เหตุผลอันน่าทึ่งว่าทำไมคนเราจึงยิ้มและมีอารมณ์ขันไม่เท่ากัน

คุณรู้สึกขำกลิ้งกับมุขตลกเบาๆหรือเปล่า?

หรือคุณไม่แสดงสีหน้าใดๆเลยเมื่อฟังเรื่องสุดฮาของเพื่อน 

อย่างไรก็ตามคุณเชื่อไหมว่ารอยยิ้มคือส่วนหนึ่งในพันธุกรรมของคุณ 

เคยสงสัยว่าทำไมบางคนถึงหัวเราะร่าและยิ้มเก่งขณะที่บางคนก็มีสีหน้านิ่งเฉย เหตุผลหนึ่งคือเป็นเรื่องวัฒนธรรมและบุคลิกเฉพาะตัว มีการศึกษาหนึ่งพบว่าดีเอ็นเอก็มีบทบาทสำคัญในการแสดงปฏิกิริยาเมื่อเราเห็นบางสิ่งบางอย่างที่น่าขัน ก่อนหน้านี้ยีนมีความสัมพันธ์กับโรคซึมเศร้าและสภาวะจิตในด้านลบอื่นๆ แต่การศึกษาครั้งใหม่พบว่ายีนน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์โดยรวมของทุกคนด้วย

เหตุผลอันน่าทึ่งว่าทำไมคนเราจึงยิ้มและมีอารมณ์ขันไม่เท่ากัน

เซโรโทนินกับสมอง

สารเซโรโทนินในสมองจะควบคุมอารมณ์ ความอยากอาหาร และความปรารถนา เซลล์ประสาทกับสมองบางส่วนจะสื่อสารกันโดยการปล่อยสารเซโรโทนินเข้าไปในช่องว่างระหว่างเซลล์สมอง 

จากนั้นเซโรโทนินก็จะหมุนเวียนจนกระทั่งโปรตีนซึ่งทำปฏิกิริยากับเยื่อหุ้มเซลล์หรือตัวกลางในการส่งเซโรโทนินดึงสารเคมีกลับเข้าไปในเซลล์ เมื่อไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบกลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า (SSRIs) ซึ่งจะปิดกั้นตัวกลางในการส่งเซโรโทนินและไม่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในปัจจุบัน กลุ่มนักวิทยาศาสตร์เริ่มมองหายีนที่เกี่ยวข้องกับตัวกลางในการส่งเซโรโทนินเพื่อดูว่ายีนเหล่านี้มีบทบาทกับอาการเจ็บป่วยทางจิตหรือไม่


ในช่วงยุค 1990 กลุ่มนักวิจัยได้มุ่งประเด็นไปที่ยีนชื่อ 5HTTLPR ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของตัวกลางในการส่งเซโรโทนินที่ร่างกายสร้างขึ้น คนทั่วไปจะมีสองส่วนซึ่งส่วนหนึ่งได้จากพ่อแม่และมีสองตัวแปรได้แก่อัลลีลสั้นและยาว (รูปแบบของยีน) เมื่อเวลาผ่านไปสองทศวรรษการศึกษาบางแห่งชี้ว่าอัลลีลสั้นจะกักเก็บอารมณ์ในด้านลบตั้งแต่ภาวะซึมเศร้าไปจนถึงโรคเครียดภายหลังเหตุการณ์รุนแรงและสถานการณ์ที่น่าอับอายในสังคม

เหตุผลอันน่าทึ่งว่าทำไมคนเราจึงยิ้มและมีอารมณ์ขันไม่เท่ากัน

การหัวเราะ

แต่กลุ่มนักวิทยาศาสตร์สงสัยว่าหากยีนเป็นอันตรายจริง แล้วทำไมคนส่วนใหญ่ถึงมียีนตัวนี้ล่ะ? 

ยกตัวอย่างเช่นในการศึกษาปัจจุบันพบว่าประชากร 7 ใน 10 คนต้องมีอัลลีลสั้นอย่างน้อยหนึ่งตัว กลุ่มนักวิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลวิดีโอจากการทดลองสามครั้ง ครั้งแรกให้ผู้เข้าร่วมดูการ์ตูนจาก The New Yorker และ The Far Side ครั้งที่สองให้ผู้เข้าร่วมดูคลิปจากภาพยนตร์เบาสมองเรื่อง Stranger than Paradise และครั้งที่สามให้ผู้เข้าร่วมดูคู่สมรมสถกเถียงปัญหาขัดแย้งกัน ที่สำคัญผู้เข้าร่วมทุกคนจะต้องให้น้ำลายเพื่อนำไปตรวจสอบลักษณะทางพันธุกรรมด้วย จากนั้นกลุ่มนักวิจัยก็จะวิเคราะห์สีหน้าของผู้เข้าร่วมแต่ละคนและพิจารณาว่ารอยยิ้มกับเสียงหัวเราะของพวกเขาเป็นของจริงหรือของปลอม (ดูจากรอยย่นของกล้ามเนื้อรอบดวงตา)


ผลปรากฏว่าผู้ที่มีอัลลีลสั้นสองตัวจะยิ้มและหัวเราะมากที่สุด ขณะที่ผู้ที่มีอัลลีลสั้นและยาวอย่างละหนึ่งตัวจะอยู่ระหว่างกลาง ส่วนผู้ที่มีอัลลีลยาวทั้งสองตัวจะยิ้มและหัวเราะน้อยที่สุด การค้นพบครั้งใหม่นี้กล่าวว่ารูปแบบของยีนสั้นจะทำให้ผู้คนมีอารมณ์อ่อนไหวง่ายทั้งในเรื่องที่ดีและไม่ดี ที่สำคัญการศึกษาครั้งใหม่นี้ยังสอดคล้องกับผลลัพธ์ของ Young ซึ่งพบว่าผู้ที่มีอัลลีลสั้นสองตัวมีแนวโน้มว่าจะมีสมองส่วนธาลามัสใหญ่กว่าคนทั่วไปโดยสมองส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ และด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ผู้ที่มีอัลลีลสั้นมีอารมณ์อ่อนไหวง่ายมากขึ้นทั้งในแง่บวกและแง่ลบ


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์