ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!


ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!

"ความรุนแรงทางเพศ ที่ฝังในสังคม" สาระน่าคิดจาก #ล่า2017

สรุปประเด็นน่าคิดจาก #ล่า2017 #

1)ความรุนแรงทางเพศมีหลายเลเวล :
หนักสุดเห็นชัดสุดคือตาย สูญเสียความสามารถในการใช้ชีวิต (แบบในหนัง) คือจริงๆ มันเริ่มตั้งแต่อคติทางเพศ การใช้ถ้อยคำคุกคาม จับต้องโดยอีกฝ่ายไม่เต็มใจ มีกิจกรรมทางเพศโดยไม่เต็มใจ ไปจนถึงบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ด้วยเงื่อนไขต่างๆ

2)สังคมเราคุ้นชินกับความรุนแรงที่เห็นได้ชัด

 เหยื่อมีความเสียหายชัดเจน แต่ในชีวิตจริงมีสถานการณ์ที่เอื้อให้เหยื่อเสียเปรียบอีกเยอะ (อย่าว่าแต่จะลุกมาล่า บางทีเล่าให้แม่ฟังบางทีแม่ก็ไม่เชื่อ โดยเฉพาะเคสที่กระทำโดยญาติ คนในชุมชน)

3)ในชีวิตจริง ความรุนแรงทางเพศ เกิดจากคนรู้จักมากกว่าคนคนแปลกหน้า :
 ไปไล่อ่านในเพจคงพอเห็นภาพ ญาติผู้ใหญ่ ญาติห่างๆ ลูกพี่ลูกน้อง รุ่นพี่ รุ่นน้อง คนคุย คนที่คบ แฟน คู่รัก เพื่อนสนิท เวลาเกิดเหตุมักไม่มีพยาน เกิดในเวลาที่เหยื่อไม่ทันตั้งตัว ไม่มีหลักฐาน ไม่มีความมั่นใจที่จะขอให้ใครช่วย แล้วหลังเกิดเหตุก็ต้องมาคิดอีกว่าถ้าฉันแจ้งความ ญาติฉันคนนั้นที่เพิ่งแต่งงานมีลูกเล็กจะเสียอนาคตมั้ย? ฉันจะเข้าหน้ากับญาติที่เหลือได้มั้ย? แจ้งความเจ้านายแล้วฉันต้องเปลี่ยนงานมั้ย? พอคนทำเป็นคนรู้จัก มีอะไรให้แลกเยอะมาก คนที่ทำก็เอาตรงนี้มาเป็นข้อได้เปรียบในการคุกคาม




4)ความรุนแรงในชีวิตจริง ผู้กระทำไม่ได้คิดว่าตัวเองทำชั่ว แต่คิดว่าตัวเองทำได้ : 
ตอนเด็กๆ เคยโดนญาติหอมแก้มทั้งๆที่เราไม่ชอบไหมคะ? มันเริ่มตั้งแต่ตอนนั้นแล้วล่ะ คือโครงสร้างมันมีสมการประมาณว่า อำนาจในสถานการณ์นั้นๆมากกว่า = ทำอะไรก็ได้ (แทนค่าเป็นบทบาทไป เช่น อายุมากกว่า ตำแหน่งสูงกว่า รู้จักคนเยอะกว่า หรืออีกฝ่ายเสียเปรียบกว่าในตอนนั้น เช่น ผู้หญิงพูดไปก็เสียเปรียบกว่าอยู่แล้ว คนทำเป็นคนซื้อบริการอีกฝ่ายเป็นคนขายบริการ เป็นต้น) ไปจนถึงบางทีก็ไม่ได้คิดอะไรเลย อย่างในเคสรุมโทรม บางทีเหตุผลมันก็ไม่มี ทำเพราะเพื่อนทำเลยทำบ้าง เป็นต้น)

5)ในชีวิตจริงผู้ชายและเพศอื่นๆ ก็ถูกกระทำไม่น้อยไปกว่าผู้หญิง :
 1 ใน 6 ของผู้ชายใน USA เคยถูกละเมิดทางเพศ ส่วนของไทยไม่มีสถิติ แต่จากประสบการณ์ เวลาชายถูกละเมิด มีแนวโน้มจะเล่าน้อยกว่า ญ (เพราะเรื่องอำนาจและโครงสร้างโดยตรง เป็นผู้ชายเลยจะโดนลวนลามยังไงก็ได้ เด็กบางคนมักถูกญาติแซวเรื่องจู๋เรื่องไข่ มีการขอดูขอจับในกลุ่มเพื่อน หรือต้องแก้ผ้าตอนรับน้อง)

6) ดังนั้นการบอกให้ใครก็ตามระวังตัวมันไม่ค่อยมีประโยชน์

 มันเหมือนบอกว่าระวังนะ วันนึงจะมีคนเอาขี้มาปาหน้า แล้วเราจะไปรู้มั้ยว่าจะมีคนเอาขี้มาปาหน้าเราเมื่อไหร่ (มันอาจเป็นคนที่เรารู้จักหรือไม่รู้จักก็ได้ ที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ และใครๆก็เป็นเหยื่อได้) ย้ำอีกครั้งว่า "เหยื่อไม่เคยอนุญาตให้มันเกิดขึ้น" สิ่งที่สังคมขาดจริงๆ คือการพูดว่า "ต่อให้คุณมีโอกาสทำ ขอเถอะอย่าทำ อย่าเอาเปรียบใคร"

7) กฎหมายข่มขืนแรง แต่กระบวนการมีอุปสรรค 

ไม่นับเคสอื่นๆที่ไม่นับว่าข่มขืน เช่น แอบถ่ายแต่ไม่ได้เผยแพร่ อาจจะโดนปรับแค่เดือดร้อนรำคาญ (ไปไล่ดูโพสเก่าๆ มีเล่าไว้อยู่) แต่ถ้ากฎหมายแรงไป เหยื่อมีโอกาสเสี่ยงถูกฆ่าปิดปากสูงมาก จะไม่ได้กลับมาล่าแบบที่เราจินตนาการ

ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!



8) ในขณะเดียวกัน กฎหมายและการลงโทษก็ไม่ใช่ยาวิเศษที่จะเยียวยาจิตใจคนได้ 100%
 คนที่ต้องโทษความรุนแรงทางเพศอาจไม่ "สำนึก" บางคนสำนึกว่า "จะไม่ทำอีกเพราะทำให้ตัวเองซวย เสียอนาคต" "จะไม่ทำอีกเพราะสงสารพ่อแม่ที่มีลูกติดคุก" แบบนี้คือการสำนึกไม่สุด เพราะไม่ได้สำนึกถึงความรู้สึกคนอื่น - เห็นป่าวว่ากระบวนการเยียวยาพฤติกรรมต้องมี มันมีในบางประเทศ คนติดคดีความรุนแรงทางเพศต้องไปบำบัดจิตสำนึก แต่บ้านเราไม่มี!

9) การเยียวยาเหยื่อก็ไม่มี! : 
จากเรื่องที่เคยเล่า นักศึกษามหาลัยเอาอาจารย์หื่นออกไปได้ แต่มหาลัยก็ไม่เยียวยาอะไร, เหยื่อรับน้องทะลึ่ง ล้มรับน้องทะลึ่งได้ แต่มหาลัยไม่เยียวยาอะไร แถมยังอยู่ในสังคมคลั่งโซตัสได้ยาก, เหยื่อข่มขืน คนทำได้รับโทษแล้ว แต่ไม่มีใครมาช่วยเหลือดูแลเหยื่อ = ช่องทางช่วยเหลือมันไม่ทั่วถึง มันยากตั้งแต่จะเล่าให้ใครสักคนคนฟังแล้ว!

10) แล้วจะเอายังไง :

 สอนเรื่องเพศแบบตรงไปตรงมา คือถุงยางไม่ใช่นิพพานของเพศศึกษา มันมีเรื่องความไม่เท่าเทียมทางเพศ ความหลากหลายทางเพศ การมีเซ็กส์ที่รับผิดชอบต่อความรู้สึกคนอื่นเป็นยังไง การมีเซ็กส์มีความหมายต่อคนคนนึงอย่างไร ถ้ามีปัญหาไปแล้วจะทำไงได้บ้าง มีเซ็กส์ด้วยความยินยอมพร้อมใจ (consent consent consent consent!) และในฐานะบุคคลที่สาม เราต้อง "ฟัง" คนที่ถูกคุกคามให้เป็น 

11) มุงให้เป็น :
 เวลามีเรื่องละเมิดแดงขึ้นมา สังคมจะขอทราบก่อนว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร ซึ่งรู้ไปก็เท่านั้นเพราะตอนทำมันไม่มีกล้องวงจรปิด รู้ข้อมูลไปก็ไม่ได้ตัดสินได้อย่างยุติธรรมขึ้น ขอให้ฟังก่อน ยังไม่ต้องคิดจะจัดการอะไร ถามความรู้สึกเหยื่อให้เยอะๆ ให้เขาตัดสินใจเองว่าเขาจะเอายังไง พอเขาพร้อม ก็ดันเขาไปเข้ากระบวนการยุติธรรม ไม่ยังงั้นคนที่หวังดีอาจกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้เรื่องยากอยู่แล้วยากขึ้นไปอีก

ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!


12) อีกเรื่องที่คนชอบเข้าใจผิด 
คือการย้ำว่าชีวิตเหยื่อทุกคนต้องพังทั้งชีวิตมันดีแค่กับกองเชียร์ แต่ไม่ดีกับเหยื่อ (เพราะบางคนเขาก็อยากจะหายพัง อยากหายทรมาน ถ้าทำได้อะนะ) อยากให้กองเชียร์เข้าใจใหม่ ว่าเวลาเราให้กำลังใจกัน มันไม่ใช่ "น่าสงสารจังชีวิตคุณพังทั้งชีวิตเพราะไอ้ชั่วนั่น" เพราะถ้าพูดแบบนี้เหยื่อคงคิดในใจว่า เออ

จริง ขอบคุณที่ตอกย้ำจ้ะ ลองปรับใหม่เป็น "ในวันนึงคุณจะก้าวพ้นไปได้ คุณมีคุณค่านะ คุณไม่ใช่เหยื่ออีกต่อไปแล้วล่ะ เพราะคุณคือ survior" แบบนี้มันดูน่าใช้ชีวิตต่อมากกว่า


13) ในเคสที่เป็นคนแปลกหน้าจริงๆ :

 บางทีผู้กระทำมี mindset อยู่แล้วว่าตัวเองไม่มีอะไรจะเสีย ชีวิตมันบัดซบอยู่แล้ว ต่อให้เข้าคุกหรือตายก็คุ้มที่ได้ระบายความเครียด - อันนี้เป็นความรับผิดชอบของสังคมที่จะป้องกันไม่ให้คนจนตรอกขนาดนี้

14) เป็นภาระของรัฐที่ต้องทำให้คนมีการศึกษา

 มีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เพราะกูเอาหลอดไฟไปติดตามซอยเองไม่ได้! เปลี่ยนสถานที่ทิ้งร้างแถวบ้านให้เป็นที่พลุกพล่านไม่ได้! เข้าใจม้ะ! 

ขอบคุณเรื่องล่าที่จุดกระแสและสะท้อนสังคม หวังว่าสังคมจะหันมาสนใจประเด็นนี้แบบลึกๆ และขับเคลื่อนความจริงให้ดีขึ้นในอนาคต ย้ำอีกครั้งว่าความเป็นธรรมต้องใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นเพศอะไร อายุเท่าไหร่ อยู่ในสถานการณ์แบบไหน ป้องกันตัวหรือไม่ ถูกละเมิด ก็คือถูกละเมิด เหยื่อไม่เคยขอให้มันเกิด ไม่เคยอนุญาตให้ทำ

ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!


ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!

ภาพประกอบจาก "ล่า"
ที่มาจาก :::: thaiconsent.org

ฉากข่มขืนใน ล่า สะท้อนความเป็นจริงสุดน่ากลัวของสังคม!

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์