“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

จากตัวเลขทางสถิติจะพบว่า ครอบครัวที่มีปัญหาหย่าร้างส่วนมากจะมีปัญหาทางด้านการเงินเป็นจุดเริ่มต้น ก่อนแต่งกระเป๋าใครกระเป๋ามัน ทราบแค่ว่าใครมีเงินเดือนเท่าไหร่

แต่พอหลังแต่งคือตอนที่ต้องมาอยู่ร่วมกัน ต้องเผชิญกับความจริงที่อาจจะไม่เคยได้รับการเปิดเผย ทั้งนี้หลังจากแต่งงาน การดูแลค่าใช้จ่ายไม่ใช่เฉพาะของตัวเองเท่านั้น แต่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องรับผิดชอบการใช้จ่ายเงินของอีกฝ่ายหนึ่งด้วย ถ้าจะให้การดำเนินชีวิตทั้งสองราบรื่น

วันนี้ ในบ้าน จึงจะมาเสนอแนะแนวทางใน การบริหารจัดการภายในบ้าน การรวมกระเป๋าเงินในครอบครัว เพื่อให้สามารถดูแลและจัดการค่าใช้จ่ายภายในบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นรากฐานที่สำคัญของชีวิตครอบครัว โดยจะมีแนวทางอย่างไรกันบ้างนั้น เราไปติดตามกันได้เลยครับ

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

เริ่มต้นกระบวนการรวมกระเป๋า


1. ติดตามรายจ่ายสักระยะเวลาหนึ่ง อาจจะสักเดือนสองเดือนว่า แต่ละคนมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ควรทำบันทึกเพื่อให้เห็นได้ชัดเจน สร้างตารางค่าใช้จ่ายร่วมกัน เช่นเงินเดือนรวมกันสองคนเท่าไหร่ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟเป็นอย่างไร ค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่อคนเป็นเท่าไหร่ คุณก็จะรู้ว่าแต่ละเดือนต้องจ่ายอะไรบ้าง


2. การทำตารางค่าใช้จ่ายจะทำให้คุณทราบว่าแต่ละคนมีนิสัยใช้จ่ายเป็นอย่างไร  ลองหันมาตั้งจุดหมายร่วมกันเช่น ต้องการซื้อบ้าน ซื้อรถแล้วให้ทุกคนพยามเข้าสู่จุดหมายนั้น คนที่ฟุ่มเฟือยก็จะมีจุดหมายและพยายามควบคุมตัวเอง คนที่งกก็จะยอมจ่ายเงินเมื่อถึงเวลาเพื่อชักจูงให้อีกฝ่ายเก็บออม

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

3. ทำรายการค่าใช้จ่ายตลอด 1 ปี ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าไฟน้ำ มักจะคาดเดาได้ว่าจะเป็นเท่าไหร่ แต่ค่าใช้จ่ายส่วนตัวจะคาดเดาได้ยากแต่ก็พอจะคาดคะเนได้ ทำกระแสเงินสดในแต่ละเดือน และระบุค่าใช้จ่ายที่ต้องใช้เงินจำนวนมากให้เห็นชัดเจนว่าต้องจ่ายเดือนไหน พยายามให้เป็นไปตามความจริง จะทำให้ทั้งสองฝ่ายเห็นว่าการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจะทำให้เกิดปัญหาตรงไหนบ้าง ถึงตอนนั้นจะหาเงินจากที่ไหน

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

4. เงินเก็บฉุกเฉิน เพื่อลดความตึงเครียดหากคนใดคนหนึ่งต้องตกงาน หรือกรณีอื่นๆ จำนวนที่พอเหมาะก็คงจะเป็น 3–6 เท่าของค่าใช้จ่ายรายเดือน อย่าลืมว่าความเครียดของคู่ครองของคุณที่เกิดเวลามีปัญหาฉุกเฉิน จะเพิ่มความเครียดให้กับคุณอีกเท่าตัว

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

5. จัดสรรเวลามาพบปะกันเพื่อคุยเกี่ยวกับสถานะการเงินในครอบครัว ลูกๆ ควรเข้ามามีส่วนร่วมด้วย เพื่อการเรียนรู้ของเขาเอง อาจจะพบปะกันทุกๆ อาทิตย์ครั้งละ 30 นาที หรือเดือนละครั้งเพื่อดูบัญชี คุณจะพบว่าคุณไม่ต้องเสียเวลาดูทีวีหรือตอนเที่ยวมานั่งคุยเรื่องปัญหาเงินๆ ทองๆ กันให้คนอื่นได้ยิน พยายามทำให้เป็นเหมือนการประชุมทางธุรกิจ มองถึงปัญหาการแก้ไข ช่องทางลงทุน นำเสนอข้อมูล อย่าให้วาระการประชุมนี้กลายเป็นที่ถกเถียง หรือด่ากระทบกระทั่งกัน ขอให้เป็นเวลาที่ต้องทำงานร่วมกันเหมือนกิจกรรมอย่างอื่น

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

6. บัญชีชื่อร่วม หรือคนละบัญชี หลายคนหลายความคิด บางคนบอกว่าบัญชีร่วมหมายถึงความแนบแน่น รักกันอย่างมาก แต่หลายคนบอกว่าแยกบัญชีกันแสดงถึงความเป็นอิสระสำหรับคนยุคใหม ผู้เชี่ยวชาญต่างก็แนะนำว่า ให้เปิดบัญชีร่วมสำหรับค่าใช้จ่ายร่วมกันที่ต่างฝ่ายต่างก็ต้องนำเงินมาสมทบตามส่วนที่ตกลงกัน จากต่างฝ่ายต่างก็มีบัญชีของตัวเอง สำหรับค่าใช้จ่ายส่วนตัว เพื่อยังคงรักษาความเป็นอิสระ เหมือนที่เคยเป็นมาช่วงใช้ชีวิตโสด

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

7. โอนทรัพย์สินให้อีกฝ่ายหากอาชีพของคุณมีความเสี่ยงสูง เช่นนักธุรกิจ นักกฏหมาย นักการเมืองเป็นต้น คุณจะพบว่าบางครั้งการมีชื่อร่วมกันก็ไม่ดีเสมอไป หากอีกฝ่ายถูกฟ้องคุณก็อาจจะเสียทรัพย์ที่มีชื่อร่วมกันไปด้วย จะเห็นว่าเศรษฐีหรือนักการเมืองจะหย่าอย่างเป็นทางการเพื่อความมั่นคงของอีกฝ่ายหนึ่งหากเกิดปัญหา

“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว


“การรวมกระเป๋าเงิน : เงินทองในครอบครัว” เพื่อความมั่นคงของชีวิตครอบครัว

ที่มา: thaimoneyadvice


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
รวมข่าวในกระแส คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์