Animal Farm ที่นายกฯ แนะนำให้อ่าน กับ 1984 เป็นของนักเขียนคนเดียวกัน


Animal Farm ที่นายกฯ แนะนำให้อ่าน กับ 1984 เป็นของนักเขียนคนเดียวกัน


Animal Farm กลายเป็นหนังสือที่หลายคนอยากอ่านขึ้นมาทันใด หลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แนะนำให้อ่าน โดยหนังสือเล่มดังกล่าวมีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยร่วม 10 ครั้ง เป็นผลงานของ จอร์จ ออร์เวลล์ ซึ่งเป็นนามปากกาของ เอริก อาร์เทอร์ แบลร์ นักเขียนชื่อดังชาวอังกฤษ

และเป็นคนเดียวกันกับผู้เขียน 1984 วรรณกรรมเสียดสีการเมืองอันลือลั่น !

Animal Farm ที่นายกฯ แนะนำให้อ่าน กับ 1984 เป็นของนักเขียนคนเดียวกัน


ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2557 นั้น 1984 กลายเป็นวรรณกรรมที่มีบทบาททางการเมืองไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากถูกนำมาใช้เป็นหนึ่งในสัญลักษณ์การต่อต้าน รัฐบาล คสช. ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมกินแซนวิช , ชู 3 นิ้ว และ อ่าน 1984

ดังนั้นจึงถือว่าแป็นเรื่องที่ค่อนข้างเซอร์ไพรส์ เมื่อในวันนี้ Animal Farm จากผู้เขียน 1984 กลับกลายเป็นหนังสือที่ หัวหน้า คสช. แนะนำให้ประชาชนอ่าน !

Animal Farm ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2488 เป็นวรรณกรรมเสียดสีการเมือง โดยว่ากันว่า ออร์เวลล์ เขียนขึ้นมาเพื่อเสียดสี สตาลิน ผู้สืบทอดอำนาจต่อจาก เลนิน หลังการปฏิวัติโซเวียต ซึ่งในปัจจุบันก็คือประเทศรัสเซีย นั่นเอง

โดยเหตุการณ์ตามท้องเรื่องเกิดที่ ไมเนอร์ ฟาร์ม หลังจากสรรพสัตว์ร่วมพลังกันปฏิวัติ จนยึดฟาร์มจากมนุษย์ได้สำเร็จ แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น แอนิมอล ฟาร์ม โดยมีหมู 2 ตัวที่ชื่อว่า นโปเลียน กับ สโนว์บอล เป็นผู้ปกครอง

ต่อมานโปเลียน ที่มีแนวคิดเผด็จการสุดโต่ง ก็ยึดอำนาจเป็นผู้นำสูงสุดแต่เพียงผู้เดียว ทำให้สโนว์บอลต้องหนีออกจากฟาร์มไป ส่วนสัตว์ในฟาร์มก็ต้องมีชีวิตอย่างทุกข์ยากลำเค็ญ จากการที่ถูกนโปเลียนกดขี่ ใช้แรงงานอย่างหนัก แต่ได้รับส่วนแบ่งเป็นอาหารเพียงน้อยนิด

Animal Farm ได้รับการยกย่องจากนิตยสารไทม์ ให้เป็นหนึ่งในวรรณกรรมภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด ระหว่างปี พ.ศ. 2466-2548 และสำนักพิมพ์มอเดิร์นไลบรารี ได้จัดให้เป็นวรรณกรรมดีที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในอันดับที่ 31 นอกจากนั้นยังมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์การ์ตูนอีกด้วย


Animal Farm ที่นายกฯ แนะนำให้อ่าน กับ 1984 เป็นของนักเขียนคนเดียวกัน


ส่วน 1984 นั้น ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ.2492 เป็นวรรณกรรมเสียดสีการเมืองเผด็จการ ที่ประชาชนถูกควบคุม ตรวจสอบอย่างเข็มงวด รวมถึงการสอดแนบ โดยมี Big Brother เป็นผู้มีอำนาจสูงสุด ซึ่งเดิมทีหนังสือจะใช้ชื่อว่า The Last Man in Europe แต่ต่อมาออร์เวลล์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น 1984 เพื่อให้ดูน่าสงสัย และน่าติดตาม

ฉบับแปลไทย มี 2 สำนวน คือสำนวนแปลของ รัศมี เผ่าเหลืองทอง กับ อำนวยชัย ปฏิพัทธ์เผ่าพงษ์ ใช้ชื่อเดียวกับเวอร์ชั่นต้นฉบับ ส่วนอีกสำนวนหนึ่งเป็นของ สรวงอัปสร กสิกรานันท์ ใช้ชื่อไทยว่า 1984 มหานครแห่งความคับแค้น นอกจากนั้น ยังมีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ กำกับโดย ไมเคิล แรดฟอร์ด นำแสดงโดย จอห์น เฮิร์ต , ริชาร์ด เบอร์ตัน และ ซูซานนา แฮมิลตัน

 



Animal Farm ที่นายกฯ แนะนำให้อ่าน กับ 1984 เป็นของนักเขียนคนเดียวกัน

เครดิต :
เครดิต : เนื้อหาข่าว คุณภาพดี Workpoint


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ดูดวง เลขบัตรประชาชน คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์