งานวิจัยชี้! ล้างไก่ไม่ได้ทำให้สะอาด และคุณอาจจะป่วยได้! เพราะเชื้อแบคทีเรีย


งานวิจัยชี้! ล้างไก่ไม่ได้ทำให้สะอาด และคุณอาจจะป่วยได้! เพราะเชื้อแบคทีเรีย

ก่อนจะทำอาหารเราก็มักจะล้างวัตถุดิบก่อนเสมอ แต่เพื่อนๆ รู้หรือไม่ว่า "การล้างไก่สด" แทนที่จะทำให้มันสะอาด แต่มัน "ทำให้แบคทีเรียกระจัดกระจายไปทั่ว" ทั้งซิงค์ล้างจาน เขียงหั่น และอุปกรณ์ต่างๆ ภายในครัวก็พลอยโดนไปด้วยโดยที่เราไม่รู้ตัว 

เพราะเหตุนี้เอง วัตถุดิบอื่นๆ ที่เราเตรียมไว้ก่อนรับประทานจะเปื้อนเชื้อโรคจากการล้าง และเชื้อโรคปะปนจนทำให้เกิดอาการท้องเสีย หรือ โรคต่างๆ ตามมาได้ อ้างอิงจากงานวิจัยจากทางกรมการเกษตร USDA (United States Department of Agriculture)

งานวิจัย
ทางนักวิจัยจาก USDA ได้จับมือร่วมกับมหาวิทยาลัย North Carolina State University เพื่อสำรวจว่าผู้ใช้งานในครัวเรือนต่างๆ จัดเตรียมการทำอาหาร เนื้อสดๆ กันยังไง และมีผลกระทบกับอาหารและสิ่งของภายในครัวรอบๆ อย่างไรบ้าง

ในงานครั้งนี้ พวกเขาจ้างผู้คนกว่า 300 คน ให้ทดลองทำอาหารที่มีไก่กับผักสลัดที่จัดขึ้นในครัว ณ รัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยให้ผู้ที่เข้าร่วมบางกลุ่มดูวีดีโอ Food Safety ทางด้านล่างก่อน ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ล้างไก่ตามที่ได้รับคำแนะนำ แต่บางกลุ่มที่ไม่ได้รับการเตือนจากวีดีโอดังกล่าว กว่า 61% นั้นล้างไก่สดของพวกเขา จนท้ายที่สุดเกือบๆ 30% ของกลุ่มคนที่ล้างไก่พบว่ามีเชื้อแบคทีเรียจากไก่อยู่ในสลัดของพวกเขา และพอพวกเขารู้ว่ามีเชื้อโรคอยู่ในอาหาร สุดท้ายไม่มีใครกินอาหารที่ทำในการทดลองครั้งนี้เลยงั้นเราก็ลองกลับมาถามกันตัวเองดูว่า ตอนเราทำอาหาร เราจัดเตรียมวัตถุดิบ ทำอาหารกันยังไงบ้าง

"กี่ครั้งแล้ว ตอนที่เราปอกเปลือกผัก แล้วทำหล่นลงไปในอ่างล้าง? จากนั้นเราก็หยิบขึ้นมาทำอาหารต่อ"

- คุณ Brashears ได้กล่าวต่อว่า "ในตอนนั้นแหละ คุณทำให้ผักของคุณมีเชื้อโรคปะปนจนได้"

เพราะเราอาจจะทำลงไปโดยไม่รู้
เอาจริงๆ เรื่องพวกนี้มันใกล้ตัวและอันตรายกว่าที่พวกเราคิดนะ ทั้งการทำความสะอาด จัดเตรียมของต่างๆ ก่อนจะลงมือทำอาหาร ที่สอนตามๆ กันมา โดยคิดว่ามันเป็นวิธีที่ถูกต้อง อย่างเช่น การทดลองครั้งนี้ มีกลุ่มผู้ทดลองกลุ่มหนึ่งล้างไก่ของพวกเขาในอ่างล้าง โดยล้างด้วยน้ำเปล่าเฉยๆ, ใส่สบู่, น้ำส้มสายชูบ้าง หรือ น้ำมะนาวลงไป (บางคนอาจจะคิดว่ามันทำให้สะอาดขึ้น) แต่เอาจริงๆ แล้ว มันไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะไม่มีหลักฐานใด ที่ยืนยันว่าการล้างเนื้อสัตว์มันช่วยฆ่าเชื้อโรคได้

"พวกเราในองค์กรดูแลความปลอดภัยด้านอาหาร ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามีคนทำแบบนี้ กระทั่งงานในครั้งนี้"

- คุณ Ben Chapman ผู้ชำนาญด้านความปลอดภัยอาหารและศาสตราจารย์ที่ N.C. State

และมากกว่านั้นก็ยังมี ขั้นตอนการจัดเตรียมอาหารวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งมันมีหลายต่อหลายครั้งที่กลุ่มผู้ทดลองนั้นนำเอาผักใส่ตะแกรงแล้วนำไปแช่ในที่ๆ เดียวกับที่ล้างไก่ไปเมื่อสักครู่ ก่อนที่จะนำไปทำอาหาร

จากรายงานในทุกๆ ปีนั้นจะพบว่า
- ผู้คนจำนวน 48 ล้านคน จะมีราวๆ 8 ล้านคน ที่ป่วยจากอาหารเป็นพิษ

- กว่า 1.3 ล้านคน ป่วยจากเชื้อโรค Campylobacter (แคมปีโลแบคเตอร์) เนื่องจากเนื้อสัตว์ไม่สุก

- และกว่า 400 คน ตายเพราะ เชื้อโรค Salmonella (ซัลโมเนลลา) ที่พบในเนื้อสัตว์

อันตราย ไม่สะอาด
เพราะฉะนั้น!โปรดจำไว้ว่า

"การล้างเนื้อสัตว์ ไก่ดิบ อันตราย เพราะแบคทีเรียไม่ตาย"
เมื่อเราล้างเนื้อสัตว์ เชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่จะ "กระจัดกระจายไปทั่ว" แถมแพร่ไปสู่อาหารอื่นๆ และข้าวของเครื่องใช้ภายในครัวแทน จนทำให้เชื้อโรคที่อยู่รอบๆ อาจจะติดมือเราและสัมผัสเข้าสู่ร่างกายได้ในภายหลัง ด้วยเหตุนี้นักวิจัยหลายๆ ที่ต่างๆ ก็ไม่แนะนำให้ล้างไก่ แต่พวกเขาจะแนะนำวิธีที่กำจัดเชื้อโรคอย่างได้ผลและมีประสิทธิภาพที่สุด ด้วยวิธีการดังนี้

สรุปวิธีทำให้ปลอดภัย
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดเพื่อกำจัดเชื้อโรค คือ!
"การนำไก่ไปทำให้สุกโดยผ่านความร้อนที่ 74 องศาเซลเซียส ขึ้นไป"

 




งานวิจัยชี้! ล้างไก่ไม่ได้ทำให้สะอาด และคุณอาจจะป่วยได้! เพราะเชื้อแบคทีเรีย

การปรุงสุกเป็นทางเดียวที่จะกำจัดเชื้อโรคที่มีอยู่ทั้งภายนอกและภายในเนื้อไก่ได้ รวมทั้ง เนื้อสัตว์อื่นๆ ก็ควรนำไปทำอาหารโดยใช้ความร้อนสูงในระดับที่กำจัดเชื้อโรคได้แตกต่างกันไป เช่น

เนื้อวัว เนื้อลูกวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู ปลา และแฮม ใช้อุณหภูมิมากกว่า 63 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เนื้อบด ทั้งเนื้อวัว เนื้อแกะ เนื้อหมู และจานที่มีไข่เป็นองค์ประกอบ ใช้อุณหภูมิมากกว่า 72 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เนื้อไก่ ไก่งวง ไก่บด เมนูอาหารยัดไส้ อุ่นอาหารเก่า และเมนูอบหรือเคี่ยวนานๆ ใช้อุณหภูมิมากกว่า 74 องศาเซลเซียสขึ้นไป
ส่วนวิธีอื่นๆ ในการทำให้ไก่และเนื้อสัตว์อื่นๆ ปลอดภัยจากเชื้อโรคโดยไม่แพร่เชื้อ มีดังนี้

ควรล้างมือก่อนอย่างน้อย 20 วินาที ด้วยสบู่และน้ำเปล่า จากนั้นเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือและทิ้งทันที
ทำความสะอาดบริเวณที่จัดเตรียมอาหาร เช่น เคาน์เตอร์, เขียง และอ่างล้าง ให้สะอาด ก่อนลงมือทำอาหารต่อ
ใช้อุปกรณ์วัดอุณหภูมิอาหารที่ปรุงสุกเช่น เนื้อไก่ ให้ได้อย่างน้อย 76 องศาเซลเซียสขึ้นไป
เมื่อซื้อเนื้อสัตว์ดิบ เนื้อสด มาแล้วควรนำเข้าตู้เย็นทันที
ในการทำอาหารควรแยกเขียงสำหรับการหั่นเนื้อสัตว์ดิบ ผัก และอาหารชนิดอื่น ๆ ออกจากกัน



เครดิตแหล่งข้อมูล : thaiware





เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์