วิตามินและอาหารเสริม ไม่ควรกินคู่กับยาอะไรบ้าง


วิตามินและอาหารเสริม ไม่ควรกินคู่กับยาอะไรบ้าง

ในยุคปัจจุบัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่มักกินอาหารเสริมหรือวิตามินเป็นประจำ ด้วยความต้องการที่จะบำรุงสุขภาพ แต่วิตามินและอาหารเสริม แต่ละชนิด ก็มีข้อจำกัดอย่างยาที่ไม่ควรกินคู่กัน

เรื่องนี้มีความสำคัญ ทั้งกับคนที่ชอบกิน วิตามินและอาหารเสริม ครั้งละหลายชนิดพร้อมกัน และแม้กับคนที่ถึงแม้จะไม่ได้กินเป็นประจำ เพราะแม้แต่วิตามินที่พบได้บ่อยที่สุด ก็อาจส่งผลที่น่าแปลกใจเมื่อกินกับยาหรือวิตามินชนิดอื่น



น้ำมันปลา

ปฏิกิริยากับยา การกินน้ำมันปลากับยาลดความดันโลหิต จะไปกระตุ้นให้ยาเหล่านี้ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้น และอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำจนเกินไป นอกจากนี้ คุณยังควรระมัดระวังการกินน้ำมันปลาควบคู่กับการใช้ยาที่เพิ่มความเสี่ยงให้เลือดออกได้ง่าย เช่น แอสไพริน

ปฏิกิริยากับอาหารเสริม การกินน้ำมันปลาในปริมาณมากกับสมุนไพรที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง (รวมถึงแปะก๊วย) อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เลือดออกได้

แคลเซียม

ปฏิกิริยากับยา แคลเซียมอาจแทรกแซงประสิทธิภาพของยาหลายชนิด รวมถึงยาที่รักษาโรคกระดูกพรุน ยารักษาความดันโลหิตบางชนิด ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีนและควิโนโลน และยาเลโวไทรอกซิน (Levothyroxine) ซึ่งรักษาอาการที่ต่อมผลิตฮอร์โมนไทรอยด์น้อยกว่าปกติ


วิตามินและอาหารเสริม ไม่ควรกินคู่กับยาอะไรบ้าง


สมุนไพรเอ็กไคนาเซีย (Echinacea)
ปฏิกิริยากับยา เอ็กไคนาเซียมีความสามารถในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน แต่อาจไปแทรกแซงการทำงานของยาที่ลดการทำงานของระบบ เช่นยาสเตียรอยด์

เมลาโทนิน
ปฏิกิริยากับยา เมลาโทนินอาจทำให้คุณรู้สึกคลื่นไส้ ดังนั้น การกินยาควบคู่ไปกับยากล่อมประสาทบางชนิด เช่นยาลดอาการซึมเศร้า อาจทำให้รู้สึกง่วงนอนมากขึ้น นอกจากนี้ เมลาโทนินยังอาจทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ดังนั้น การกินควบคู่กับยาที่ต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยาเฮพาริน ทำให้มีโอกาสฟกช้ำและเลือดออกได้ง่ายขึ้น จงหลีกเลี่ยงการกินเมลาโทนิน หากคุณกินยาที่ควบคุมความดันโลหิต เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้

ปฏิกิริยากับอาหารเสริม การกินเมลาโทนินกับอาหารเสริมที่มีฤทธิ์ทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย (เช่นสมุนไพรเซนต์จอห์นเวิร์ต) อาจทำให้เมลาโทนินออกฤทธิ์รุนแรงขึ้น และมีผลข้างเคียงตามมา


วิตามินและอาหารเสริม ไม่ควรกินคู่กับยาอะไรบ้าง


เซนต์จอห์นเวิร์ต (St. John's wort)
ปฏิกิริยากับยา การกินเซนต์จอห์นเวิร์ตคู่ไปกับยาต้านอาการซึมเศร้า ทำให้ร่างกายของคุณมีระดับของสารชีวเคมีที่ชื่อเซโรโทนินในระดับสูงจนเกินไป ซึ่งนำไปสู่ผลข้างเคียงร้ายแรง รวมถึงอาการชา นอกจากนี้ ยังทำให้ยาหลายชนิดออกฤทธิ์น้อยลงอีกด้วย เช่น ยาคุมกำเนิดและยาต้านโรคเอดส์บางชนิด

วิตามินดี
ปฏิกิริยากับยา วิตามินดีอาจทำให้ยาลดคอเลสเตอรอลมีประสิทธิภาพต่ำลง และอาจแทรกแซงยาลดความดันโลหิตบางชนิด นอกจากนี้ การกินวิตามินดีจำนวนมาก ควบคู่ไปกับยาขับปัสสาวะอาจส่งผลให้มีปริมาณแคลเซียมในร่างกายมากจนเกินไป และทำให้ไตเกิดปัญหาได้

สังกะสี
ปฏิกิริยากับยา หากคุณกินยาปฏิชีวนะในกลุ่มเตตราไซคลีนและควิโนโลน สังกะสีที่เป็นสารเสริมอาจทำให้ร่างกายของคุณดูดซึมทั้งตัวยาและสังกะสีได้ยากขึ้น หากคุณต้องการให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับปริมาณยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง ให้กินยา 2 ชั่วโมงก่อนกินสังกะสี หรือ 4-6 ชั่วโมงหลังการกินสังกะสีที่เป็นยาเสริม เรื่องนี้ใช้ได้กับยาเพนิซิลลามีน (Penicillamine) ซึ่งมักใช้ในการรักษาโรคไขข้ออักเสบด้วยเช่นกัน จงระมัดระวังและกินสังกะสี 2 ชั่วโมงก่อนการกินยาเหล่านี้ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายดูดซึมยาเพนิซิลลามีนได้น้อยลง



เครดิตแหล่งข้อมูล : springnews


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
ตามข่าวteenee.com จาก LineToday เข้าไปคลิ๊กกดติดตามได้เลย
กระทู้เด็ดน่าแชร์