8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย

8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย
1. ขุนช่างเคี่ยน (เชียงใหม่)
2. ภูทับเบิก (เพชรบูรณ์)
3. ขุนแม่ยะ (แม่ฮ่องสอน)
4. ดอยแม่สลอง(เชียงราย)
5. ปางอุ๋ง(แม่ฮ่องสอน)
6. ดอยแม่ตะมาน และ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ (เชียงใหม่)
7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง (ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่)
8. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน (น่าน)

1. ขุนช่างเคี่ยน (เชียงใหม่)

เรายกให้ที่ขุนช่างเคียนมาเป็นอันดับหนึ่ง สำหรับการมาชทดอกซากุระบาน ด้วยว่าการเดินทางนั้นสะดวก และอยู่ใกล้เมืองเชียงใหม่มาก เพียง 32 กิโลเมตร เรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้องนอนบนเขาก็เที่ยวได้ นอนในเมืองแล้วขึ้นมาเที่ยวก็ใช้เวลาไม่นาน จากตัวเมืองเชียงใหม่ ขึ้นเขามาเส้นทางเดียวกับ การไปเที่ยวพระธาตุดอยสุเทพ พระตำหนักภูพิงค์ราชนิวเศน์ และบ้านม้งดอยปุย แต่ขุนช่างเคียนเลยไปอีก

ลักษณะของซากุระบานที่ขุนช่างเคี่ยน แห่งนี้ จะเป็นภาพที่เราจะเห็นต้นซากุระหรือพญาเสือโคร่งนี้ ตามเส้นทางเข้าหมู่บ้านขุนช่างเคี่ยน และในหมู่บ้านเหมือนจะบานทั้งหมู่บ้านทั้งภูเขากันเลยนะ ถ่ายรูปมาสวยมากๆ ทั่วบริเวณ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน และหมู่บ้านชาวม้ง ในพื้นที่บริเวณนั้นทั้งหมด

สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน อยู่ภายใต้การดูแลของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานีวิจัยเกี่ยวกับ เมล็ด พันธุ์กาแฟ ไม้ผลเมืองหนาว เช่น ท้อ พลับ บ๊วย พลัม อะโวกาโด มะคาเดเมีย ในทุกๆปี ของหน้าหนาวช่วงปลายธ.ค-ม.ค. ต้นนางพญาเสือโคร่งจะออกดอกสีชมพู บานสะพรั่ง


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพ : ซากุระบานที่ขุนช่างเคี่ยน

ที่พัก : ใครสนใจนอนขุนช่างเคี่ยน สามารถมากางเต็นท์ได้ ที่หน่วยดอยปุย อช.ดอยสุเทพ และบริเวณสถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน ส่วนใครที่สนใจบ้านพักมีอยู่ที่สถานีเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน 3หลัง

ที่ตั้ง : อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทาง : ใช้เส้นทางสายเชียงใหม่ - พระธาตุดอยสุเทพ ผ่านวัดพระธาตุดอยสุเทพ ผ่านพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ไปประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านหมู่บ้านชาวม้งดอยปุย ระยะทางจากตัวเมืองเชียงใหม่ประมาณ 32 กิโลเมตร ตลอดทางเป็นถนนลาดยางเข้าถึงสะดวก บางช่วงเป็นทางแคบโปรดใช้ความระมัดระวัง

รถสาธารณะต้องใช้วิธีเหมาเท่านั้นครับ โดยปกติรถสองแถวจะไปถึงแค่ ดอยสุเทพและหมู้บ้านม้งเท่านั้น ใครจะไปขุช่างเคี่ยนต้องเหมาเดินทางเข้าไปอีกพอสมควร

ผู้สนใจสามารถติดต่อที่พักได้ที่ สถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน โทร. 053-944053 หรือ 053-222014 (ในวันและเวลาราชการ)


2. ภูทับเบิก (เพชรบูรณ์)

ด้วยความสูง 1,600 เมตรจากระดับน้ำทะเล และการเข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันภูทับเบิกจึงกลายเป็นจุดท่องเที่ยวสำัญอีกแห่งที่นักท่องเที่ยวไปสัมผัสความหนาวเย็นกัน และยังมีโอกาสได้ชมซากุระเมืองไทยหรือต้นพญาเสือโคร่งอีกด้วย ที่จะออกดอกบานสพรั่งสวยงาม เต็มภูเขา จุดที่เยอะที่สุดเห็นจะอยู่ในหมู่บ้านม้ง ซึ่งต้อง ต่อรถเข้าไปเที่ยวโดยใช้บริการรถ 4x4 ของชาวม้งในหมู่บ้านได้ครับ

สะดุตายกให้ ภูทับเบิกมาแรงเป็นอันดับสอง ด้วยว่าอยู่ในจุดที่เข้าถึงได้ง่ายและสูงมากหนาวมาก อย่างภูทับเบิก ซึ่งจะมีโอกาสเห้นการออกดอกซากุระได้เร็วกว่าที่อื่น ถ้ายิ่งหนาวเร็วหนาวนาน ซากกุระก็จะบานเร็วและนานเช่นกัน ทำให้ภูทับเบิกเป็นตัเลืกที่น่าสนใจ และการเดินทางกยังถือว่าไม่ไกลจากรุงเทพฯเหมือนการไปเที่ยวดอยอื่นๆ ยิ่งคนมีเวลาน้อย ภูทับเบิกดูจะเป็นตัวเลือกการท่องเที่ยวที่น่าสนใจอย่างมาก ยังสามารถเที่ยว ชมไร่กะหล่ำปลี เขาค้อ น้ำหนาว และถนนสาย12 ได้อีกด้วย กับระดับความหนาวเย็นในฤดูหนาว อุณหภูมิ 2-8 องศา หนาวมากเลยนะ

หลายคนมาเที่ยวภูทับเบิกมักจะเห็นต้นซากุระขึ้นไม่มากนักไม่เหมือนที่อื่นๆ ขึ้นเองตามธรรมชาติ อยู่ตามแนวป่า บริเวณเส้นทางเข้าไปยังหมู่บ้านม้ง บ้านทับเบิก แต่ข่าวล่ามาจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพิษณุโลกผู้ดูแลรับผิดชอบพื้นที่บริเวณนี้ ได้เข้าไปสำรวจแล้วว่า จุดที่เยอะที่สุดต้องเข้าไปดูที่หมู่บ้านม้งภูทับเบิก โดยจ้างรถของพี่น้องชาวม้งในพื้นที่พาเข้าเยี่ยมชมจะเห็นทั้งภูเขาเลยครับ เพราะบริเวรนั้นเป็นพื้นที่ปลูกทดแทนป่าเสื่อมโทรมเดิม ปัจจุบันได้ขนาดเต็มที่พร้อมออกดอกสะพรั่งรับนักท่อเงที่ยวกันแล้ว …อย่างไรก็ตาม ทางการท่องเที่ยวจะตามข่าวให้ว่าบานหรือยัง แล้วจะแจ้งให้นักท่องเที่ยวทราบอย่างแน่นอน

และที่ใกล้เคียง ภูลมโล อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ไปอีก 25 กม.ซึ่งจะมีต้นพญาเสือโคร่ง เป็นพันไร่

8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพจาก ซากุระ ภูทับเบิก : www.thaimtb.com

ที่พักแนะนำ : บริเวณภูทับเบิกจะมีรีสอร์ทเรียงรายอยู่มากทายทีเดียวครับ เรื่องนี้ไม่ยาก เยอะมาก หรือจะเลือกกางเต็นท์ ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว อบต. วังบาล ก็ได้ครับ ซึ่งอยู่บริเวณยอดเขาจุดสูงสุดของภูทับเบิก

ที่ตั้ง : ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ห่างจากอำเภอหล่มเก่า 40 กม. และห่างจากตัวจังหวัดเพชรบูรณ์ประมาณ 97 กม.

การเดินทาง: จากทางหลวง 2331 มุ่งสู่ อุทยานแห่งชาติภูหินร่องกล้า ขึ้นทาง อ.หล่มเก่า จะมีแยกเข้าสู่ภูทับเบิก ตลอดเส้นทางเราก็จะเห็นต้นซากุระได้ไม่ยากครับ

หากไม่มีรถยนต์มาเอง ต้องนั่งรถโดยสารมาลงที่หล่มสัก การเดินทางมาหล่มสัก หลังจากนั้นเหมาสองแถวที่อยู่บริเวณหล่มสักเพื่อขึ้นสู่ภูทับเิบิก อัตราค่าจ้างประมาณ 1,200 บาท

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ : กลุ่มการท่องเที่ยวทับเบิก ศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาเพชรบูรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โทร. 056-810-737 และ องค์การบริหารส่วนตำบลวังบาล โทร. 056-747532 เว็บไซต์ http://www.wangban.go.th/

3. ขุนแม่ยะ (แม่ฮ่องสอน)

จุดนี้ให้คะแนนมาเป็นอันดับ3 ครับ ด้วยความที่โด่งดังมาหลายปี จากชื่อเสียงที่ชาวเชียงใหม่ขนานนามไว้ว่า "ดอยสีชมพู" เพราะปลูกไว้ทั้งภูเขา ที่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ จุดเด่นของที่นี่คือ ปายครับ ขุนแม่ยะตั้งอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถ้ามาจากเชียงใหม่จะถึงขุนแม่ยะก่อนอำเภอปาย คนที่มาเที่ยวปายส่วนใหญ่จึงจัดเวลาไว้สำหรับเที่ยวขุนแม่ยะ

แต่การเที่ยวขุนแม่ยะเข้าไปชมความงามของดอกซากุระนั้น สะดุดตาแนะนำให้จอดรถไว้ที่ปากทางเข้า แล้วใช้บริการของรถพื้นที่ ที่จะเข้าไปเที่ยวยังขุนแม่ยะ เพราะเส้นทางเป็นลูกรัง ฝุ่นมาก ทางแคบ และบางช่วงเป็นเขาชัน บางพื้นที่ก็อาจจะเจอโคลน รถที่เข้าต้องอยู่ในสภาพดี และขับได้อย่างชำนาญเท่านั้น ไม่งั้นเข้าไปรถติดยาวล่ะครับทำคนอื่นเสียเวลาเข้าไม่ถึงกันพอดี สะดุดตาเองเคยเข้าไปแบบเจอรถเข้าไม่ไหวหลายคัน ทำเอารถติดยาวบนทางชันภูเขา อันตรายมาก

อีกวิธีใช้บริกาซื้อทัวร์วันเดียวในอ.ปายมาเที่ยวก็ได้ครับ เขามีมาเที่ยวทุกวัน สำหรับคนที่ไม่มีรถส่วนตัวมานะครับ

ขุนแม่ยะชื่เต็มคือ หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ อยู่ในสังกัดส่วนจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 2 จังหวัด เชียงใหม่ และ แม่ฮ่องสอน คือตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นดอยสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 2,020 เมตร อาณาเขตพื้นที่ราว 87,500 ไร่ โดยพื้นที่ทั้งหมดอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา–แม่แสะ


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพ : ซากุระที่ขุนแม่ยะ

ที่พัก : สามารถกางเต็นท์นอนได้ที่หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ อยากน้อนสบายแนะนำให้นอนที่อ.ปาย แล้วขับรถมาเที่ยวก็สะดวก

ที่ตั้ง : ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

การเดินทาง: จากเชียงใหม่ ขับรถไปจามเส้นทาง แม่มาลัย-ปาย ขับไปเรื่อยๆตามถนนหลวงหมายเลข 1095 นั้นแหละครับ ขับผ่านอช.ห้วยน้ำดังไป จนถึงกม.ที่ 67 ก่อนถึงปาย จุดนั้นจะเป็นด่านตรวจขุนแม่ยะ จอดรถบริเวณนั้นได้เลย แล้วติดต่อรถนำเที่ยวเข้าไปชมดีที่สุดถนอมรถไว้ครับ (รถที่เข้าได้ควรเป็น 4x4เท่านั้น) เข้าไปอีก 8 กิโลเมตร ที่อาจจะต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงทีเดียว

ติดต่อสอบถาม : หน่วยจัดการต้นน้ำขุนแม่ยะ 0-5321-7453 สอบข้อมูลช่วงซากุระบาน ได้ที่คุณปัด โทร.081-023-4570


4. ดอยแม่สลอง(เชียงราย)

ซากุระดอยแม่สลอง ต้องถือว่าเป็นพื้นที่แรกๆของเมืองไทยที่ ทางการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยโปรโมท ประชาสัมพันธ์ เจ้าต้อนพญาเสือโคร่งมาโดยตลอด ซึ่งทางดอยแม่สลองก็จะมีงาน "งานมหัศจรรย์ชา ซากุระบาน อาหารชนเผ่า ดอยแม่สลอง" ประจำปีขึ้น ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม-4 มกราคม ของทุกปี ณ บริเวณอนุสรณ์สถานวีรชนอดีตทหารจีนคณะชาติ บ้านสันติคีรี(ดอยแม่สลอง) ตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย

การมาเที่ยวดอยแม่สลองไม่เพียงจะได้ชมดอกซากุระบานที่ปลูกมานานต้งแต่สมัยเริ่มสร้างหมู่บ้านกันเลย ยังได้กินอาหารยูนนานอร่อยๆ ชิมชาสุดยอดของเมืองไทย ชาอู่หลง ซึ่งเป็นชาชันดี และได้สัมผัสกับอากาศที่หนาวเย็นสดชื่น นอกจากนี้ในพื้นที่ยังสามารถปลูกพืชผัก ไม้ผลและไม้ดอกเมืองหนาวหลากหลายชนิด ประกอบกับวิถีชีวิตชนเผ่ากว่า 7 ชนเผ่าที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางขึ้นมาสัมผัส


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพจาก http://teatalk.fix.gs/ ภาพซากุระบานที่ดอยแม่สลอง โดยคุณ Master Tea

ที่ตั้ง : ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย

การเดินทาง : ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 จากตัวเมืองเชียงราย ไปทางอำเภอแม่จัน ระยะทาง 29 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวง 1089 (แม่จัน-ท่าตอน) บริเวณหลัก กม.856 ก่อนถึงทางเข้าตัวอำเภอแม่จันเล็กน้อย ผ่านน้ำพุร้อนป่าตึง (กม.78) ลานทองวิลเลจ (ระหว่าง กม.73-74) ประมาณ 31 กิโลเมตร และ กม. 55 ให้เลี้ยวขวา ไปตามเส้นทางขึ้นดอยคดเคี้ยว ไปอีกประมาณ 15 กิโลเมตร รวมระยะทาง 75 กิโลเมตร

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : องค์การบริหารส่วนตำบล แม่สลองนอก โทร. 0 5376 5129

5. ปางอุ๋ง(แม่ฮ่องสอน)

ที่ปางอุ๋งอาจจะไม่มีต้นซากุระมากนักให้อลังการกัน แต่ก็เป็นอีกจุดที่นักท่องเที่ยวสามารถมาสัมผัสและใกล้ชิดกับต้นซากุระเมืองไทยหรือพญาเสือโคร่งได้ไม่ยาก ขนาดที่สามารถนอนกางเต้นท์ใต้ต้นซากุระได้ ห้องน้ำก็อยู่ใต้ต้นซากุระสุดโรแมนติก ซากุระที่ปางอุ๋งนี้จะปลูกแซมอยู่ในป่าสนครับ แนะนำไว้สำหรับใครที่ขึ้นไปเที่ยวปางอุ๋ง ก็อย่าลืมถ่ายรูปกับต้นซากุระกันได้ นั่งแพไม้ไผ่ จะเห็นมีต้นซากุระริมน้ำด้วย

หลายคนเลือกมาเที่ยวที่ปางอุ๋งเพราะจะได้สัมผัสกับการท่องเที่ยวที่หลากหลายประกอบกับปีใหม่ ช่วงที่ซากุระบาน มักจะอยู่สิ้นปี จะหยุดมาเที่ยวก็ได้เพียงครั้งเดียวการเลือกมาเที่ยวปางอุ๋ง เราจะได้ชมทั้งธรรมชาติป่าสน กางเต้นท์นอน หรือโฮมสเตย์แบบชาวเขา ได้สัมผัสกับทะเลสาบกลางหุบเขา ออกไปนิดก็ได้ชมอาหารยูนนานแท้ๆสุดอร่อย ชมบ้านดินวัฒนธรรมยูนนานที่บ้านรักไทย แล้วยังมีพระตำหนักปางตอง เที่ยวน้ำตกก็มี ยังใกล้เมืองแม่ฮ่องสอนอีกด้วย การเดินทางก็สะดวกทั้งรถส่วนตัวและรถสาธารณะ


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพ: กางเต้นท์ ใต้ต้นซากกุระที่ปางอุ๋ง

ที่พัก : แนะนำให้กางเต้นท์นอนที่ปางอุ๋ง ซึ่งต้องจองพื้นที่กางเต้นท์ล่วงหน้า หรือนอนรีสอร์ทในเมืองแม่ฮ่องสอนก็สะดวกครับ

ที่ตั้ง : อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน

การเดินทาง : จากปาย ผ่านอำเภอปางมะผ้า และอำเภอเมือง ก่อนถึงตัวเมืองแม่ฮ่องสอน ประมาณ 17 กิโลเมตร (ผ่านถ้ำปลา) แล้วเลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านหมอกจำแป่ ไปยังบ้านรวมไทย ขึ้นเขาไปอีก 30กิโลเมตร ก็ถึง

ถ้ามาจากแม่ฮ่องสอน ก็ออกจากตัวเมืองมาตามถนน 1095 มุ่งหน้าปางมะผ้า ถึงกิโลเมตรที่ 10 เลี้ยวซ้ายไปยังบ้านหมอกจำแป่ จากบ้านหมอกจำแป่ ผ่าน บ้านห้วย มะเขือส้ม จนถึงบ้านรวมไทย รวมระยะทาง 45 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง สภาพถนนเป็นถนนลาดยางและคอนกรีตอย่างดี แต่ทางบางช่วงสูงชัน รถยนต์ทุกประเภทขึ้นได้แต่ควรมีสภาพดี

สำหรับใครไม่มีรถส่วนตัว ที่ตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน เขาจะมีรถสองแถวสีเหลือง บริการขึ้นมายังปางอุ๋งตอลดทั้งวันครับในช่วงฤดูท่องเที่ยว

ข้อมูลท่องเที่ยวปางอุ๋งเพิ่มเติมที่ : http://pangoung.sadoodta.com/
ศูนย์ศิลปาชีพจังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร.053 - 611244 , 085 - 618 - 3303 โทรสาร 053 - 611649


6. ดอยแม่ตะมาน และ สถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ (เชียงใหม่)

ดอยแม่ตะมาน ตั้งอยู่ในหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน เป็นจุดที่เราจะได้เห็นต้นพญาเสือโคร่งออกดอกสวยงาม พร้อมกับวิวทิวทัศน์สุดอลังการ ที่เจะเห็นฉากหลังเป็นดอยเชียงดาว ทำให้เป็นสถาที่ วิวสวยงามจับใจดึงดูดนักท่องเที่ยวมาตั้งเต้นท์รอชมดวงอาทิตย์ขึ้นกัน และสัมผัสอากาศเย็นที่สดชื่น ในระดับความสูง ใกล้เคียงกับดอยหลวงเชียงดาวดอกซากุระหรือนางพญาเสือโคร่ง จะผลิบานเต็มที่ช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงกลางเดือนมกราคม
ตลอดเส้นทาง มายังดอยแม่ตะมาน จะเห็นดอกพญาเสือโคร่งสีชมพูบานได้ตลอดทาง

บริเวณที่เราจะสามารถเห็นภาพของดอยหลวงเชียงดาวได้ชัดเจนจะอยู่ที่ สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ เป็นจุดที่นักท่อง เที่ยว นิยมมากางเต้นท์ เพื่อชมกับบรรยากาศพระอาทิตย์ขึ้น และทะเลหมอกที่สวยงามในยามเช้า ที่นี่เป็น สถานีทดลองของโครงการพัฒนาที่สูงไทย-ออสเตรเลีย ซึ่งอยู่ในความดูแลของคณะเกษตรศาสตร์

มีแปลงทดลองปลูกพืช และผลไม้เมืองหนาวหลายชนิดให้เยี่ยมชมกัน เช่น บ๊วย ท้อ และ พืชผัก เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยาและความหลากหลายทางชีวภาพของ เทือกเขาดอยเชียงดาว

การเยี่ยมชมควรติดต่อขออนุญาตจากสถานีวิจัยเกษตรที่สูงป่าเกี๊ยะ ดอยเชียงดาว คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ล่วงหน้าอย่างน้อย 10 วัน


8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพจาก : โดยคุณ Nitivadee จากจุดนี้มองเห็นดอยหลวงเชียงดาว http://gonorththailand.com/


ที่พัก : บริเวณหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน มีสถานที่กางเต้นท์ และ สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๊ยะ มีสถานที่กางเต้นท์

ที่ตั้ง : ตำบลแม่นะ อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่

การเดินทาง: ถนนค่อนข้างลำบาก เป็นทางลูกรังและเป็นหลุมบ่อ ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อ เท่านั้น รถอื่นๆ ไม่สามารถขึ้นได้ เนื่องจากระยะทาง 21 กม. เป็นเส้นทางทางดินลูกรังและค่อนข้างชัน

สำหรับรถส่วนตัว มี 2 เส้นทาง
- จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง) เลี้ยวซ้ายระหว่างหลัก กิโลเมตรที่ 67-68 เข้าตรงปากทางเข้าบ้านแม่นะ หน้าปากทางเขียนว่า วัดจอมคีรี ขับไปเรื่อย จะถึงเส้นทาง ออฟโรดผ่านทางลูกรัง และลาดชันกว่า 21กิโลเมตร ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ใช้เวลาในการเดิน ทางประมาณ 2.50 ชั่วโมง

- จากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่-ฝาง)เลี้ยวซ้ายระหว่างหลักกิโลเมตร ที่ 60-61 บ้านแก่งปันเต๊า ตำบลแม่นะ เลี้ยวซ้ายไปตามเส้นทางไปสวนชาระมิงค์ ถึงที่ทำการหน่วยจัดการต้นน้ำแม่ตะมาน ระยะทางประมาณ 29กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : สถานีเกษตรที่สูงสันป่าเกี๋ยะ 053 944 052


7. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง (ดอยอินทนนท์ เชียงใหม่)

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง เป็นอีกจุดที่มีต้นซากุระหรือพญาเสือโคร่งปลูกไว้จำนวนมาก และยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ และสถานที่ท่องเที่ยวที่มีความสวยงามทางธรรมชาติ เป็นโครงการหลวงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ไม่ไกลนักจาก โครงการหลวงอินทนนท์ ช่วงปลายเดือนธันวาคม ถึงเดือนมกราคม ต้นซากุระเมืองไทยหรือ พญาเสือโคร่งก็จะออกดอกสวยงามต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นประจำทุกปี

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง ก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2525 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านขุนวาง เป็นครั้งแรก ได้ทอดพระเนตรเห็นว่า บริเวณนี้ยังมีพืชเสพติดอยู่มาก ควรจะส่งเสริมการปลูกพืชชนิดอื่นๆ ที่มีรายได้ทัดเทียมหรือดีกว่าปลูกฝิ่นจึงรับสั่งให้หน่วยงานในพื้นที่ช่วยกันพิจารณา ปรับปรุงและพัฒนา มีหมู่บ้านในเขตรับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้านคือ บ้านขุนวาง , บ้านป่ากล้วย , บ้านโป่งลมแรง , บ้านโป่งน้อยเก่า , บ้านห้วยยาว และบ้านขุนแม่วาก ประชากรส่วนใหญ่ เป็นชาวเผ่าม้งและปากะญอบางส่วน

มาเที่ยวที่นี้แล้วเที่ยวอินทนนท์ต่อได้เลยจร้า กิ่วแม่ปาน, อ่างกาหลวง ยอดอินทนนท์ น้ำตกแม่ยะ น้ำตกวชิรธาร น้ำตกสิริภูมิ นอกจากนี้ยัง มีกิจกรรมศึกษา เช่น เดินป่าเที่ยวน้ำตกผาดำ ห่างจากศูนย์ประมาณ 2.5 กิโลเมตร





8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพจาก : โดยคุณ illlive http://www.bloggang.com/

ที่พัก : มีบริการบ้านพักรับรองแบบเอเฟรม และบ้านพักรับรองขนาด 4 ห้อง 1 หลัง รองรับนักท่องเที่ยวได้ประมาณ 30 คน มีบริการเช่าเต็นท์และถุงนอน และสถานที่กางเต็นท์ หรือเลือกนอนในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ก็สะดวกดีครับ หรือจะเป็นรีสอร์ทรอบๆดอยอินทนนท์ก็มีเยอะ

ที่ตั้ง: ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง บ้านขุนวาง หมู่ 12 ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่

การเดินทาง : จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ก่อนถึงอำเภอจอมทอง มีทางแยกขวามือขึ้น ดอยอินทนนท์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1009 ราวหลักกิโลเมตรท ี่30-31 มีสามแยกตรงหมู่บ้านขุนกลาง ก็เลี้ยวขวาไปอีก 16 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านขุนวาง เลยหมู่บ้านไปประมาณ 2 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานนีเกษตรฯ ขุนวาง ถนนเป็นถนนลาดยาง อาจจะมีหลุมบาง

สำหรับรถประจำทางก็มีครับ ที่ตัวอำเภอจอมทอง จะมี รถสองแถวขึ้นดอยอินทนนท์ตรงวัดพระธาตุศรีจอมทอง

ติดต่อสอบถามที่ : ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวาง โทร. 053-939102 , 088-0087291


8. อุทยานแห่งชาติขุนสถาน (น่าน)

เป็นอีกจุดที่จะมีดอกซากุระบานสะพรั่งเต็มภูเขา นักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับบรรยากาศโรแมนติก ด้วยดอกนางพญาเสือโคร่งสีสันสวยงาม พร้อมอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งสูงจาก ระดับน้ำทะเลปานกลาง ประมาณ 1,424 เมตร

ระหว่างการเดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติขุนสถาน นักท่องเที่ยวจะสัมผัสกับวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม วิถีชีวิตหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ชมสวนกะหล่ำปลีสีเขียวหัวโตๆ ปลูกเป็นแนวไปตามชายเขาราวกับภูเขากะหล่ำปลี แวะสวนสตรอเบอร์รี่ ที่นี่ท่านจะได้พบกับสตรอเบอร์รี่สีแดงสดที่เจ้าของบอกว่าเป็นการปลูกแบบออแกนิก ไม่มีการฉีดยาฆ่าแมลง หากต้องการซื้อสตรอเบอร์รี่ไปชิมนักท่องเที่ยวก็สามารถเลือกเก็บได้เองตามชอบใจ

ที่พัก : ที่อุทยานฯ มีพื้นที่บริการนักท่องเที่ยวอยู่บริเวณเชิงดอยแม่จอก (เนินดาวดิน) มีที่พักบรรยากาศดี สำหรับนักท่องเที่ยวจำนวน 4 หลัง พักได้ประมาณ 50 คน และมีพื้นที่สำหรับกางเต็นท์ได้ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในเรื่องอาหารและเครื่องดื่ม นักท่องเที่ยวควรจัดเตรียมมาเอง

8 จุดยอดนิยมชมซากุระเมืองไทย


ภาพโดย: คุณ bell-bellnaluck http://gonorththailand.com/


ที่ตั้ง: ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านขุนสถาน ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน

การเดินทาง : จากจังหวัดน่าน ใช้ทางหลวงหมายเลข 101 ตรงมาตามทางเรื่อยๆประมาณ 66 กิโลเมตร จะถึงหมู่บ้านห้วยแก๊ต ตรงจุดนี้เป็นสามแยก ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางหลวง 1216 ตรงปากทางจะเห็นป้ายบอกไป อุทยานแห่งชาติขุนสถาน ขับรถต่อไปอีกประมาณ 24 กิโลเมตรก็จะถึงที่ทำการอุทยานฯ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือจองห้องพักได้ที่
อุทยานแห่งชาติขุนสถาน โทร.0-5470-1121, 0-5473-1585, 08-7173-9549
ททท.สำนักงานแพร่ โทรศัพท์ 0-5452-1118,0-5452-1127




ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับต้อนพญาเสือโคร่ง หรือ ซากุระเมืองไทย
นางพญาเสือโคร่ง เป็นพืชดอกในสกุล Prunus พบทั่วไปบนดอยสูง และพญาเสือโคร่งยังเป็นดอกไม้ประจำอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่อีกด้วย นางพญาเสือโคร่ง เป็นพรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติอยู่ที่ตอนเหนือของประเทศไทย ทางตอนใต้ของประเทศจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน และถูกนิยมเรียกว่า"ซากุระเมืองไทย" เพราะมีลักษณะคล้ายซากุระ แม้จะเป็นคนละชนิดกันก็ตาม ในประเทศญี่ปุ่นจะเรียกดอกไม้พันธุ์นี้ว่า "ฮิมาลายาซากุระ"

คำว่า ซากุระ ใช้กับพืชที่อยู่ในสกุล Prunus โดยต้นนางพญาเสือโคร่งเป็นหนึ่งในสกุลนั้น โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus cerasoides ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีซากุระอยู่หลากหลายพันธุ์ โดยพันธุ์ที่พบมากสุดคือ โซะเมโยะชิโนะ ในชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Prunus × yedoensis

ความแตกต่างของซากุระเมืองไทย และ ซากุระญี่ปุ่น คือ จะออกดอกในช่วงเวลาที่แตกต่างกันเท่านั้น พญาเสือโคร่งออกดอกในเดือนธันวาคม-มกราคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว ส่วนซากุระในญี่ปุ่นออกดอกช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ซึ่งเป็นช่วงฤดูใบไม้ผลิของญี่ปุ่น




สะดุดตาดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์