เงินเฟ้อแบบนี้ ลงทุนตามนี้สิเวิร์ค

เงินเฟ้อแบบนี้ ลงทุนตามนี้สิเวิร์ค


ยอมรับจริง ๆ เลยว่าเรากำลังเข้าสู่ยุคข้าวยากหมากแพงแล้วจริง ๆ ขยับนิดน้ำมันก็ขึ้น ขยับหน่อยเอ้า ... เจอวิกฤติอาหารแพงอีก เงินออมที่ฝาก ๆ อยู่ก็ได้ดอกเบี้ยน้อยเหลือเกิน (ถึงบางธนาคารจะปรับตัวเลขออกมาล่อตาล่อใจก็เถอะนะ) ภาวะที่เงินเฟ้อสูงอย่างนี้ หลาย ๆ คนอาจจะไม่อยากทำอะไรเลย อยู่เฉย ๆ ดีกว่า เกิดลงทุนอะไรไปก็เจ็บตัวเปล่า ๆ


อันนี้เป็นความเชื่อที่ไม่ถูกเสียทีเดียวนะคะ เพราะแม้ว่าเงินเฟ้อจะสูงเพียงใด ก็ยังมีบางคนอาศัยช่วงจังหวะนี้ สามารถลงทุนจนกลายเป็นเศรษฐีได้นะเอ้า ....


ก่อนอื่นใดเลยขอทำความเข้าใจเรื่องเงินเฟ้อเสียก่อน เผื่อบางคนอาจจะยังไม่เข้าใจ เงินเฟ้อนั้นมีด้วยกันสองแบบ คือ เงินเฟ้อที่เกิดจากการที่สินค้ามีอยู่เท่าเดิมแต่คนมีกำลังซื้อมากขึ้น (คนรวยขึ้นว่างั้นเถอะ) เราเรียกเงินเฟ้อแบบนี้ว่า
"Demand - pull Inflation
"


เงินเฟ้อแบบที่สองคือ สินค้ามีราคาสูงขึ้นเนื่องจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น โดยมากมักจะเป็นการขึ้นค่าจ้างงาน การขำเข้าน้ำมันหรือวัถุดิบนำเข้าอื่น ๆ ปรับตัวสูง ทำให้สินค้าต่าง ๆ ขึ้นราคา ลักษณะเงินเฟ้อแบบนี้เรียกว่า "
Cost- push Inflation"


และภาวะเงินเฟ้อแบบที่สองนี่เองที่พวกเรากำลังเผชิญอยู่ โดยปกติเมื่อเจอภาวะเช่นนี้แล้ว รัฐบาลแทบทุกประเทศจะเร่งเพิ่มกำลังการซื้อของประชาชนให้ทันกับเงินเฟ้อ จะด้วยการลดหรือทรงอัตราดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ หรือขึ้นค่าจ้างแรงงานพร้อมกับการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจมาก ๆ แต่วิธีนี้ยิ่งทำมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ


ในอดีตนั้นประเทศไทยเราก็เคยเจอภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ ที่ขึ้นไปแตะอยู่ที่เลขสองหลักมาแล้วถึง สามช่วงด้วยกันคือ ช่วงปี 2460-2463 ช่วงปี 2483 และในช่วงปี 2517 - 2524 ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ ก็คือเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมันและทรัพยากรอื่น ๆ นั่นเอง


เงินเฟ้อแบบนี้ ลงทุนตามนี้สิเวิร์ค


สำหรับหนทางที่จะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อเช่นนี้คุณ อนุชา กุลวิสุทธิ์ผู้เขียนคอลัมน์ ลงทุนแบบมืออาชีพ จากหนังสือ บ้านพร้อมอยู่ มีข้อแนะนำที่น่าสนใจไว้ว่าหนทางที่จะรับมือกับภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ นั้นมีดังนี้


1. หลีกเลี่ยงการฝากเงินไว้กับสถาบันการเงิน เนื่องจากดอกเบี้ยเงินฝากมีแนวโน้มที่จะปรับตัวช้ากว่าอัตราเงินเฟ้อเสมอ ดังนั้นการฝากเงินสดจึงจะทำให้เกิดการขาดทุนหากคิดออกมาเป็นผลตอบแทนที่แท้จริง


2. เร่งจับจ่ายซื้อข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นแทนการถือเงินสด เพราะว่าการถือเงินสดเฉย ๆ นั้นมูลค่าของเงินก็จะลดลง ดังนั้นจึงควรซื้อสินค้าที่เราจำเป็นต้องใช้มาเก็บไว้แทนจะดีกว่า


3. เน้นลงทุนในตราสารทางการเงินระยะสั้น ๆ เนื่องจากการลงทุนในระยะยาวที่ให้ผลตอบแทนคงที่นั้นอาจจะขาดความยืดหยุ่นหากอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดปรับตัวสูงขึ้น


4. ลงทุนในหุ้นกลุ่มบริษัทน้ำมันโดยเฉพาะบริษัทที่เกี่ยวกับการสำรวจ ขุดเจาะและให้บริการน้ำมัน และเลี่ยงการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ต้องใช้พลังงานเยอะ ๆ เช่นพลังงานจากน้ำมัน อย่างกลุ่มสายการบินต่าง ๆ หรือกลุ่มผลิตยานยนต์ต่าง ๆ เพราะมีโอกาสขาดทุนสูง


เงินเฟ้อแบบนี้ ลงทุนตามนี้สิเวิร์ค


5. เน้นการลงทุนในบ้านและที่ดิน เพราะในภาวะเงินเฟ้อสูงๆ นั้น รัฐบาลมักจะให้การเกื้อหนุนเป็นพิเศษกับการลงทุนในบ้านและที่ดิน รวมไปถึงเงื่อนไขในการกู้ยืมเงินเพื่อที่อยู่อาศัยที่สามารถกู้ได้มากขึ้น ในระยะเวลาที่นานขึ้น และอัตราดอกเบี้ยต่ำด้วย ซึ่งทำให้การลงทุนประเภทนี้ให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า


6. เน้นการกู้เงินให้ยาวที่สุดด้วยอัตราดอกเบี้ยคงที่
แต่ถ้าใครที่กูเงินไปแล้วและเป็นแบบลอยตัว**แนะนำว่าให้ไปรีไฟแนนซ์
(Refinance
) เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่จะดีกว่า


7. ลงทุนในทองคำ
ทั้งนี้เป็นเพราะว่าทองคำนั้นเป็นทรัพย์สินมีค่าที่มีอยู่อย่างจำกัด และในภาวะที่เงินเฟ้อสูง ๆ เช่นนี้ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจโลกไม่ดี ราคาทองคำจะปรับตัวเพิ่มขึ้นมากเป็นพิเศษ


8. การลงทุนทั้งทางตรงและทางอ้อมในสินค้าโภคภัณฑ์ (
Commodity) เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าสาลี ฝ้าย ธัญญาหาร กาแฟ ดีบุก และทองแดง เนื่องจากว่าในภาวะที่เงินเฟ้อสูงนั้นสินค้าเหล่านี้มักจะปรับตัวสูงขึ้น แถมในปัจจุบันนี้ยิ่งมีวิกฤติขาดแคลนอาหาร ก็ยิ่งส่งผลให้สินค้าในกลุ่มนี้มีราคาสูงมากขึ้นไปอีก


อันที่จริงแล้วภาวะข้าวยากหมากแพงเช่นนี้ใคร ๆ ก็คงไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้ามันเกิดขึ้นแล้ว เราก็ควรจะหาทางรับมือกับจะดีกว่า การอยู่เฉย ๆ แล้วปล่อยให้เงินในกระเป๋าสูญโดยเปล่า ๆ นะคะ

อย่างที่เขาว่ากันเอาไว้ไงค่ะ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส


**อัตราดอกเบี้ยลอยตัว คือดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามภาวะเศรษฐกิจขณะนั้น**


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์