กฎอัยการศึก

กฎอัยการศึก


ความเป็นมา


กฎอัยการศึก เป็นระบบกฎหมายที่มีต้นกำเนิดมาช้านานแล้ว มีการใช้แพร่หลายทั้งในประเทศทางแถบยุโรปรวมทั้งในประเทศไทยด้วย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า ประเทศไทยได้มีการประกาศให้ใช้กฎหมายเรื่องกฎอัยการศึกในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯรัชกาลที่ ๕ โดยเรียกว่า

กฎอัยการศึก รัตนโกสินทรศก ๑๒๖ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ได้ถูกยกเลิกและตราขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะสม ซึ่งกฎหมายที่ประกาศใช้แทนนี้ คือ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ กฎหมายฉบับนี้มีผลใช้บังคับมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น ๕ ครั้ง เพื่อให้กฎหมายฉบับนี้มีความทันสมัยและเหมาะสมกับสภาพบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

เหตุที่คนทั่วไปมักเรียกเพียงสั้นๆว่า กฎอัยการศึก นั้น เข้าใจว่าเนื่องจากในตัวพระราชบัญญัติเองกำหนดให้เรียกกฎหมายฉบับนี้ว่า กฎอัยการศึก พ.ศ.๒๔๕๗ แต่คนส่วนใหญ่เรียกเพียงสั้นๆว่า กฎอัยการศึก

การประกาศใช้กฎอัยการศึกและการเลิกใช้กฎอัยการศึก


กฎอัยการศึกนั้นเป็นกฎหมายที่มีลักษณะแตกต่างจากกฎหมายอื่น คือ แม้จะผลบังคับเป็นกฎหมายเพราะได้ตราเป็นพระราชบัญญัติที่เรียกว่า พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ ซึ่งใช้บังคับมานานแล้วก็ตาม แต่การที่จะใช้อำนาจหรือมาตรการต่างๆ ตามที่พระราชบัญญัติได้กำหนดไว้ก็จะต้องอยู่ในบังคับเงื่อนไขคือจะต้องให้ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึกก่อน โดยจะกำหนดเป็นเขตพื้นที่หรือจะทั่วราชอาณาจักรก็แล้วแต่ดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่จะประกาศ

- การประกาศใช้กฎอัยการศึก


ผู้มีอำนาจประกาศใช้กฎอัยการศึก กฎหมายได้กำหนดไว้ดังนี้

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒ แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกฯ ซึ่งถือเป็นพระราชอำนาจของพระองค์ที่แม้แต่รัฐธรรมนูญก็รับรองไว้ (รัฐธรรมนูญมาตรา ๒๒๒) การประกาศในกรณีนี้จะทำเป็นประกาศพระบรมราชโองการ และอาจจะประกาศให้ใช้กฎอัยการศึกได้ทั่วราชอาณาจักร หรือเฉพาะเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งก็ได้ เหตุที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกในกรณีนี้ กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า เมื่อเวลามีเหตุอันจำเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอกหรือภายในพระราชอาณาจักร... และในประกาศดังกล่าวอาจจะกำหนดให้ใช้อำนาจในกฎอัยการศึกในทุกมาตราหรือบางมาตราหรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตราก็ได้

๒. ผู้บังคับบัญชาทหาร ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ซึ่งแบ่งได้เป็น ๒ กรณี คือ

กรณีแรก ผู้บังคับบัญชาทหาร ซึ่งมีกำลังทหารอยู่ในบังคับไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน

กรณีสอง เป็นผู้บังคับบัญชาในป้อมหรือที่มั่นอย่างใดใดของทหาร

ผู้บังคับบัญชาทหารที่จะประกาศใช้กฎอัยการศึกตามมาตรา ๔ นี้ กฎหมายให้มีอำนาจประกาศให้กฎอัยการศึกได้เฉพาะแต่ในเขตอำนาจหน้าที่เท่านั้น และเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกแล้วก็จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด

- การเลิกใช้กฎอัยการศึก


ตามบทบัญญัติในมาตรา ๕ การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึก จะทำได้เพียงทางเดียวคือต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเท่านั้น


แหล่งข้อมูล : บอร์ดรวมเรื่องน่าอ่าน

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์