กบเป็นสัตว์ที่รอดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เมื่อ 66 ล้านปีก่อน


การพุ่งชนของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่เมื่อ 66 ล้านปีที่แล้ว ทำให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่ในโลก ในขณะที่ 3 ใน 4 ของสิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถูกกวาดล้างไปหมด แต่นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียเชื่อว่าจะมีสัตว์มากกว่า 10 สายพันธุ์สามารถรอดชีวิต และสืบทอดสายพันธุ์มาจนถึงทุกวันนี้ ในจำนวนสิ่งมีชีวิตที่รอดมานั้นมีกบ 3 ชนิดใหญ่ๆ ออกลูกออกหลานแพร่กระจายไปทั่วโลก

กบเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่บนโลกมาตั้งแต่ 200 ล้านปีก่อน แต่ในรายงานของ National Academy of Sciences เผยว่า ปัจจุบันมีกบอยู่ประมาณ 6,700 สายพันธุ์ และเกือบ 88% ของกบยุคใหม่นั้น เมื่อสืบค้นลงไปก็พบว่าวิวัฒนาการของสัตว์ชนิดนี้เกิดขึ้นอย่างก้าวกระโดดระหว่าง 66-150 ล้านปีก่อน ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์จากจีนและสหรัฐอเมริกาได้รวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรมจากซากดึกดำบรรพ์กบมาเทียบกับพันธุกรรมกบยุคปัจจุบัน จากตัวอย่างพันธุกรรม 156 ชนิด และตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของยีนจำนวน 95 ยีน พบสายพันธุ์อันดับกบ 3 ชนิดคือ พันธุ์ Microhylidae หรือวงศ์อึ่งอ่าง และพันธุ์ Natatanura มาจากแอฟริกา ส่วนพันธุ์ Hyloidea นั้นแพร่กระจายไปทั่วอเมริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์เผยว่าการที่กบไม่สูญพันธุ์อาจเป็นเพราะพวกมันต้องหลบซ่อนอยู่ใต้ดินเป็นเวลานานในยุคที่ไดโนเสาร์ยังมีชีวิต แต่เมื่อเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ทำให้ระบบนิเวศเปลี่ยนแปลง กบจึงปรับตัวอย่างรวดเร็วและเผยตัวออกมา

นอกจากนี้ กบสามารถอาศัยอยู่ในป่าขนาดเล็ก เมื่อป่าไม้และระบบนิเวศในเขตร้อนฟื้นตัวขึ้นก็ปรับตัวเข้ากับระบบนิเวศได้ดี การวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ากบเป็นสัตว์ที่แข็งแรง สามารถรอดชีวิตได้ในสถานการณ์ที่เลวร้ายรุนแรง เป็นไปได้ว่ากบยุคปัจจุบันที่ต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมนุษย์และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ก็น่าจะอยู่รอดได้เช่นเดียวกัน.


กบเป็นสัตว์ที่รอดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เมื่อ 66 ล้านปีก่อน

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์