กลุ่มนักวิทย์ฯ โต้ ใช้ทิชชู่ซับอาหาร ไม่เสี่ยงมะเร็ง !


กลุ่มนักวิทย์ฯ โต้ "ใช้ทิชชู่ซับอาหาร ไม่เสี่ยงมะเร็ง !"

หลังจากที่ก่อนหน้านี้  ทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนห้ามให้กระดาษทิชชู่ซับน้ำมันจากอาหาร เสี่ยงรับโซดาไฟและสารไดออกซินซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง แนะใช้กระดาษซับมันอาหารที่ได้มาตรฐานสากล 

เนื่องจากกระดาษทิชชู่ผลิตมาจากเยื่อกระดาษบริสุทธิ์ โดยมีวัตถุดิบคือต้นไม้ เช่น ต้นไผ่หรือต้นไม้อื่น ๆ แต่ปัจจุบันสังคมให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงมีการนำกระดาษหมุนเวียนใหม่ 

เช่น กระดาษ A4 ที่ใช้แล้ว นำไปผลิตกระดาษทิชชู่ หรือแม้แต่กระดาษฟางที่ผลิตจากฟางข้าว ซึ่งในกระบวนการตีวัตถุดิบให้เป็นเนื้อเยื่อต้องใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์หรือ "โซดาไฟ" และเพื่อความขาวน่าใช้จึงมีการใช้สาร "คลอรีน" ฟอกขาว และมี "สารไดออกซิน" 

ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งเป็นส่วนประกอบด้วย


ซึ่งหลังจากที่มีข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็ได้มีนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่ง อาทิ นายเจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ดร.ภูวดี ตู้จินดา กรมวิทยาศาสตร์บริการ กระทรวงวิทยาศาสตร์, รศ.ดร. พลังพล คงเสรี ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหิดล ได้ออกมาโต้แย้งในข้อมูลดังกล่าว 

โดยอาจารย์ทั้งสามท่านนั้น มีความเห็นว่า กระดาษอนามัยหรือกระดาษทิชชู่นั้น ไม่ได้มีความน่ากลัวตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด และแทบจะไม่มีโซดาไฟ และสารไดออกซินอยู่เลยเสียด้วยซ้ำ

ดร.ภูวดี ตู้จินดา อธิบายผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว โดยสามารถสรุปได้ว่า สารพิษที่เป็นข่าวอยู่นั้น ไม่ว่าจะเป็นไดออกซินหรือโซเดียมไฮดร็อกไซด์ ไม่ได้เกิดขึ้น หรือถูกใช้ใน "กระบวนการผลิตกระดาษ"  แต่ถูกใช้ใน "กระบวนการฟอกเยื่อ"

โดย "กระบวนการฟอกเยื่อ" มีหลายขั้นตอน และโรงงานแต่ละแห่งจะใช้ขั้นตอนแตกต่างกัน ซึ่งโดยรวมแล้วจะมีขั้นตอนการใช้โซดาไฟอยู่ในนั้นด้วย แต่หลังจากนั้นยังมีขั้นตอนการ "ล้าง" เยื่ออีกมากมาย 

ดังนั้น การจะมีโซดาไฟปริมาณมากพอ ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพ ปนเปื้อนอยู่ในเยื่อกระดาษธรรมดาๆนั้นว่าน้อยแล้ว สำหรับระดาษทิชชู่นั้นยิ่งน้อยกว่าเสียอีก

กลุ่มนักวิทย์ฯ โต้ ใช้ทิชชู่ซับอาหาร ไม่เสี่ยงมะเร็ง !

ทั้งนี้ "สารฟอกเยื่อ" ที่เป็นที่นิยมอีกตัวก็คือ "คลอรีน"  และ "คลอรีนไดอ็อกไซด์"

แต่โรงงานฟอกเยื่อเกือบทั้งหมดในประเทศไทย ใช้สาร "คลอรีนไดออกไซด์" ซึ่งการฟอกเยื่อด้วย "คลอรีนไดอ็อกไซด์" ทำให้เกิดสารพิษที่เรียกสั้นๆ ว่า AOX แต่ไม่เกิด "ไดออกซิน"

ดังนั้น อยากให้ทุกท่านพิจารณากันว่า เมื่อ "เยื่อกระดาษ" ซึ่งเป็นวัตถุดิบนั้น ไม่มีโซดาไฟ และ(แทบ)ไม่มีไดอ็อกซิน แล้วกระดาษทิชชู่นั้นจะมีสารดังกล่าวนั้นได้อย่างไร

สรุปว่า กระดาษอนามัยหรือทิชชู่นั้น ควรใช้ให้ถูกตามวัตถุประสงค์ในการผลิต คือ "ใช้ภายนอก" ส่วนในกรณีใช้ในการซับน้ำมันนั้น ก็ถือว่าไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสียทีเดียว แต่ถ้าถามว่า  การเอาทิชชู่ไปซับน้ำมันแล้วจะมีไดออกซินหลุดออกมา 

หรือมีโซเดียมไฮดร็อกไซด์มาทำลายเนื้อเยื่อนั้น ก็เป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องเช่นเดียวกัน !

กลุ่มนักวิทย์ฯ โต้ ใช้ทิชชู่ซับอาหาร ไม่เสี่ยงมะเร็ง !

เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์