การปฏิบัติตัวก่อน-หลังผ่าตัดมะเร็งและอาการข้างเคียง

ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


การปฏิบัติตัวก่อนเข้ารับการผ่าตัดรักษา

 1. มีความตั้งใจแน่วแน่และมั่นใจในแผนการรักษาที่จะได้รับ
 2. ทำจิตใจให้สบาย ปลอดโปร่ง
 3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และครับทั้ง 5 หมู่
 4. งดดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
 5. ควรดื่มน้ำมาก ๆ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ยกเว้นในรายที่มีภาวะไตเสื่อม และภาวะน้ำท่วมปอด
 6. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 15 นาที
 7. รักษาความสะอาดทุกส่วนของร่างกายตั้งแต่ศรีษะจรดปลายเท้า
 8. ควรพักผ่อนทั้งร่างกายและจิตใจ หาโอกาสพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ป่วยที่รักษาประสบความสำเร็จ

ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัดรักษา
          ในระยะแรกหลังผ่าตัดใหม่ ๆ ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ดังนั้นการดูแลในระยะนี้จึงมักเป็นหน้าที่ของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้

 1. ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และพยาบาลอย่างเคร่งครัด
 2. การทำความสะอาดแผลผ่าตัดในระยะนี้เป็นหน้าที่ของศัลยแพทย์และพยาบาล โดย ต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาดปราศจากเชื้อให้มากที่สุด เทคนิควิธีการทำแผลจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและตำแหน่งที่ทำการผ่าตัด โดยปกติบุคลากรทางการแพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำวิธีการดูแลแผล ก่อนอนุญาตให้กลับบ้าน
 3. แจ้งให้แพทย์และพยาบาลทราบทันที เมื่อรู้สึกว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นในร่างกาย เช่น รู้สึกเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่ออกมากขึ้น มีเลือดออกจากแผลไม่หยุด เป็นต้น
 4. การออกกำลังจะช่วยให้กลับสู่สภาวะปกติได้เร็วขึ้น สำหรับการผ่าตัดทั่วไปพบว่า หลังผ่าตัดประมาณวันที่ 3 – 4 แพทย์จะอนุญาตให้ผู้ป่วยเดินรอบเตียงได้ และให้ไปห้องน้ำเองประมาณวันที่ 7-10 หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะได้รับการฝึกหัดเดินขึ้นบันได 1 ขั้น

ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


อาการที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัดและการแก้ไข
           อาการเจ็บ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ อาจเป็นอยู่ได้หลายสัปดาห์ หลังการผ่าตัดจะค่อย ๆ ทุเลาลงไปเอง แต่ถ้ายังมีการเจ็บปวดอยู่ ควรรับประทานยาลดปวดตามที่แพทย์สั่งไว้ ให้ฝึกหายใจให้ถูกวิธีจะลดอาการปวดแผลได้

           เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติหลังการผ่าตัดช่วงแรก ๆ จะค่อย ๆ ดีขึ้นในเวลาต่อมา แต่ควรไม่ลืมว่าร่างกายผู้ป่วยต้องการสารอาหารเพื่อฟื้นฟูร่างกายในช่วงนี้ ดังนั้นผู้ป่วยควรพยายามรับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน มีหลักดังนี้

• เน้นเป็นอาหารอ่อนในระยะแรก จนถึงอาหารปกติธรรมดา
• เคี้ยวอาหารให้ละเอียดและช้า ๆ รับประทานในปริมาณที่น้อยในแต่ละมื้อ แต่เพิ่มจำนวนมื้อมากขึ้น
• อาจจะรับประทานเฉพาะอาหารที่ชอบ แล้วรอจนกว่าความอยากอาหารจะกลับมาเป็นปกติ จึงเริ่มรับประทานอาหารตามคำแนะนำของนักโภชนาการ

           อาการไข้ต่ำ ๆ หลังการผ่าตัดในระยะแรก ๆ อาจมีไข้ได้ ถือว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ตามปกติ และไข้จะหายไปเองภายใน 2-3 วัน เมื่อผู้ป่วยกลับไปพักฟื้นที่บ้าน ถ้ามีไข้เกิน 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันนานเกิน 2 วัน ให้มาพบแพทย์โดยไม่ต้องรอวันนัด

          อารมณ์แปรปรวน ความวิตกกังวล นอนไม่หลับ อาจเกิดขึ้นได้ อาการเหล่านี้จะน้อยลงไปเมื่อผู้ป่วยได้พักผ่อนอยู่ที่บ้าน ญาติพี่น้องและบุคคลใกล้ชิดควรพูดให้กำลังใจ ยอมรับพฤติกรรมการตอบสนองของผู้ป่วย พยายามช่วยสนับสนุนให้ผู้ป่วยได้แสดงออกในทางที่สร้างสรรค์ ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยป้องกันความรู้สึกสิ้นหวัง ช่วยให้ผู้ป่วยได้เผชิญกับโรคและการรักษาได้ดีขึ้น

           อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด ได้แก่ แผลอักเสบ บวมแดง แผลเป็นหนอง น้ำเหลืองไหลออกจากแผล มีอาการเหนื่อยง่าย แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก บวมตามร่างกาย เป็นต้น ควรมาพบแพทย์ก่อนโดยไม่ต้องรอถึงวันนัด


ภาพประกอบจาก Internetภาพประกอบจาก Internet


          ขอขอบคุณข้อมูลจาก  พล.อ.ต.น.พ.วิบูลย์ ตระกูลฮุน หัวหน้าหน่วยโภชนาบำบัด กองศัลยกรรม โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช นายกสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ กระทรวงกลาโหม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์