การเข้าถึงของวัฒนธรรม

การเข้าถึงของวัฒนธรรม

วันนี้ได้มีโอกาสไอ้ไปดูโขนมาครับ ไม่ใช่โขนธรรมดา แต่เป็นโขนที่เล่นคนเดียวครับ ไม่ใช้ชุดโขนด้วย ชื่อการแสดง "I am a demon" (ผมเป็นยักษ์) โดยคุณพิเชษฐ กลั่นชื่น น่าชื่นชมมากครับที่ยังมีคนอนุรักษ์วัฒน์ธรรมไทยอยู่ เค้าได้กล่าวตอนหลังจากแสดงจบว่า อยากทำให้โขนเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประวันของคนไทยให้ได้ การที่โขนจะคงอยู่คู่กับคนไทยได้ตลอดไปต้องมีการขับเคลื่อนตลอดเวลา(ตามความเข้าใจของผมคือ การที่มีโขนเรื่องใหม่ ๆ ออกมาบ้างครับ เพื่อไม่ให้จำเจกับแบบเดิม) ซื่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ที่มีแนวคิดอย่างนี้ครับ น่าชื่นชม แต่มีอยู่คำพูดหนึ่งว่า การกลืนกินชาติในปัจจุบันไม่ใช่การใช้กำลังรบกันแต่เป็นการกลืนกินทางวัฒนธรรม ซึ่งผลที่ตามมาทำให้ไม่เหลือความเป็นชาติอยู่เลย (ในวันนี้มีการประกวดอะไรสักอย่างอยู่ฝั่งมาบุญครองด้วยเป็นการประกวดเกี่ยวกับการเต้นประกอบเพลงเกาหลี่) ทำให้ผมฉุดคิดขึ้นมาได้ว่า เมื่อหลายปีก่อน น่าจะสมัยผมอยู่ม.ปลายผมมีโอกาสได้ทำเครื่องประดับไทย แต่ก่อนที่ผมจะได้ลงมือทำก็ต้องมีการครอบครูก่อนครับ นี้คือประเด็นครับ ไม่ว่าจะดนตรีไทย ทำเครื่องประดับไทย การแสดงโขน ไม่สามารถทำเล่น ๆ ได้ ไม่สามารถทำเพื่อความบันเทิงส่วนตัวได้เพราะมีการกล่าวอ้างว่ามีครูอยู่ ต้องให้ความเคารพเท่านั้น เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เข้าถึงได้ยาก เมื่อเข้าถึงได้ยาก ก็ไม่มีใครอยากเข้าหา (เหมือนกันกับคนที่ไม่เปิดใจยอมรับนั้นแหละครับไม่ว่าเราจะทำอย่างไรก็ไม่มีทางทำให้เค้ายอมรับได้) เมื่อไม่มีคนอยากเข้าหา ก็ทำให้ความนิยมน้อยลงไปด้วยครับ นั้นก็คือ ดนตรีไทยนั้นเอง ก่อนจะเล่น ก่อนจะเรียน ต้องมีพิธีมากมาย เราไม่สามารถหัดเล่นเองได้ครับ ถ้ามีผู้พบเห็นก็จะบอกว่าไม่เหมาะสม อย่างนี้จะเป็นที่นิยมได้อย่างไร ตอนที่ผมหัดเล่นกีต้าร์ ไม่ให้มีใครว่าต้องไปครอบครูเลยครับ (ตอนผมหัดเป่าขลุ่ยมีคนตำหนิผมเรื่องนี้) ผิดถูกอย่างไรลองแสดงความคิดเห็นดูนะครับ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์