การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง


 การเล่นแชร์ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งใน ชีวิตประจำวันของคนไทยมาช้านาน นิยมเล่นกันในกลุ่มคนใกล้ชิดกัน โดยอาศัยความไว้วางใจกันเป็นหลัก เพื่อระดมเงินทุนนอกระบบจากผู้เล่นให้ได้เงินก้อนจำนวนหนึ่ง โดยมีผลตอบแทนสูงกว่าที่ได้รับจากสถาบันการเงิน

             คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า “การเล่นแชร์เป็นสิ่งผิดกฎหมาย” ซึ่งความเข้าใจนี้ถูกต้องเพียงครึ่งเดียวครับ แต่เดิมการเล่นแชร์ไม่มีกฎหมายควบคุมจนกระทั่งได้มีการออกพระราชบัญญัติการ เล่นแชร์ พ.ศ. 2534 เพื่อควบคุม กำกับและดูแลการเล่นแชร์ อย่างไรก็ตามการเล่นแชร์ของประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ดำเนินการเป็นธุรกิจ ยังคงสามารถทำได้และไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมายเป็นความผิดตามพระราช บัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มีดังนี้

             กรณีประชาชนทั่วไป ห้ามไม่ให้เป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์รวมกันมากกว่า 3 วง หรือมีสมาชิกรวมกันทุกวงมากกว่า 30 คน หรือมีทุนต่อกองกลาง 1 งวดรวมกันทุกวงมากกว่า 300,000 บาท หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดยท้าวแชร์ได้รับประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นไม่ได้นอก จากเปียเงินกองกลางไปใช้โดยไม่เสียดอกเบี้ย ดังนั้นหากมีการจัดให้มีการเล่นแชร์ที่ผิดไปจากนี้ถือได้ว่าเป็นการกระทำ ความผิดตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 นอกจากนี้ยังห้ามมิให้นิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดและนิติบุคคลประเภทอื่นๆ เป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดยเด็ดขาด

             กรณีอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดอย่างอื่นๆ เกี่ยวกับการเล่นแชร์ เช่น ห้ามไม่ให้ทำการโฆษณาชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมในการเล่นแชร์ และห้ามมิให้ผู้ใดใช้ชื่อหรือคำแสดงชื่อในธุรกิจที่มีคำว่า “แชร์”

             มาถึงประเด็นสำคัญ ถ้า “ท้าวแชร์หนี ลูกแชร์จะต้องทำอย่างไร?” หรือ “ถ้าลูกแชร์เบี้ยว ท้าวแชร์ต้องทำอย่างไร?” ทั้งนี้การดำเนินการเมื่อท้าวแชร์หนีแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี ได้แก่

             กรณี ที่ท้าวแชร์มีเจตนาทำวงแชร์จริงๆ แต่มีเหตุให้ไม่สามารถฟ้องร้องบังคับได้ในทางแพ่ง โดยสามารถนำสมาชิกในวงแชร์เข้าพิสูจน์ถึงการเล่นแชร์ได้ ตามปกติคดีแพ่งไม่สามารถแจ้งความร้องทุกข์ได้ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อดำเนิน คดีเองครับ ส่วนใหญ่เป็นเงินจำนวนไม่น้อยไม่คุ้มค่าทนายจึงไม่ค่อยมีการฟ้องร้องกัน

             ส่วน อีกกรณีหนึ่งคือ ท้าวแชร์ไม่มีเจตนาทำวงแชร์ตั้งแต่ต้น แต่ใช้เรื่องการทำวงแชร์หลอกลวงให้ประชาชนนำเงินมาลงแล้วเชิดเงินหนี กรณีนี้ถือว่าท้าวแชร์ได้กระทำความผิดอาญาฐานฉ้อโกง ในทางกลับกันหากสมาชิกวงแชร์หนี วงแชร์นั้นก็ยังจะต้องดำเนินการต่อไป โดยท้าวแชร์จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบไปก่อนและก็สามารถใช้สิทธิฟ้องร้องทาง แพ่งต่อศาลบังคับเอากับสมาชิกวงแชร์ที่หนีไปฐานผิดสัญญา รวมถึงสามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อให้ดำเนินคดีทางอาณา ฐานยักยอกทรัพย์ได้ด้วย

             ดัง นั้นหากคิดจะเล่นแชร์กันแล้วต้องพิจารณาให้ดีว่า ท้าวแชร์หรือลูกแชร์เป็นกลุ่มคนที่ไว้ใจได้จริงๆ จะได้ไม่เสียทรัพย์หรือผิดใจกันจนเป็นเรื่องเป็นราวนะครับ

www.pttplc.com


การเล่นแชร์ กับ ข้อควรระวัง

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์