การแพ้วัคซีน

การแพ้วัคซีน


ปกติแล้วสัตวแพทย์จะแนะนำให้ฉีดวัคซีนประจำทุกๆปี ( ยกเว้นในลูกสุนัขที่เพิ่งเริ่มทำวัคซีนเป็นครั้งแรกต้องมีการกระตุ้นวัคซีนหลายครั้ง )

ซึ่งถือว่าเป็นการดูแลสัตว์เลี้ยงของท่านประจำทุกปี เว้นในรายที่ท่านเจ้าของสัตว์เลี้ยงไม่สนใจเท่านั้น การฉีดวัคซีนประจำปี เป็นการกระตุ้นภูมิต้านทานของสัตว์ ซึ่งย่อมต้องเกิดอาการอักเสบ สัตว์บางตัวจึงแสดงอาการซึม หรือมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ และข้อต่อบางแห่ง หรือมีไข้อยู่ 1-2 วัน ภายหลังการฉีดวัคซีน ซึ่งถือว่าเป็นปกติ และบางตัวก็ไม่แสดงอาการให้เห็น สัตว์จะกินอาหารละเล่นได้ตามปกติ แต่ในบางรายจะเกิดอาการอักเสบที่รุนแรงกว่านั้น ซึ่งอาการจะเห็นได้อย่างชัดเจน

อาการแพ้วัคซีน
อาการแพ้ที่แสดงออกมักไม่เหมือนกันเลยทีเดียวในแต่ละตัว ข้อยู่กับการตอบสนองของสัตว์ที่มีต่อโปรตีนที่เข้าสู่ร่างกาย ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัคซีนเสมอไป อาจเป็นละอองเกสร , ฝุ่น , อาหาร หรือยาก็ได้
อาการแพ้ทุกชนิมักมีอาการลมพิษ , หน้าบวม , คลื้นไส้ ในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิต ไม่จำเป็นว่าสัตว์ต้องแสดงอาการทุกอย่างที่กล่าวมาให้เห็น อาจเกิดเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการแพ้
ถ้าสัตว์แพ้เล็กน้อยก็คงไม่มีปัญหา ในรายที่แพ้รุนแรงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เดินโซเซ ท่านเจ้าของควรรีบนำส่งสัตวแพทย์เป็นการด่วน ก่อนที่อาการจะทรุดลงไปกว่าที่เป็นอยู่ ซึ่งอาจจะทำให้สัตว์ถึงแก่ชีวิตได้

อาการอาเจียนเป็นอาการที่แสดงว่าสัตว์อยู่ในภาวะที่อันตรายมากซึ่งบางครั้งท่านเจ้าของอาจนึกว่าเป็นอาการเมารถธรรมดาแต่ถ้าเกิดอาการเช่นนี้ให้รีบนำส่งสัตวแพทย์ แล้วเล่าอาการให้หมอฟังโดยด่วน

ในกรณีที่สัตว์แพ้วัคซีน ครั้งต่อไปควรจะทำอย่างไร
มีหลายขั้นตอนที่จะทำได้ หลังจากทราบว่าสัตว์ของท่านแพ้วัคซีน เช่น

หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเลสโตไปโรซิส
วัคซีนเลสโตไปโรซิส มักรวมอยู่ในวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัข เป็นส่วนของวัคซีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้มากที่สุด เจ้าของควรบอกสัตวแพทย์ว่าไม่ต้องการให้สุนัขฉีดวัคซีนชนิดนี้

หลีกเลี่ยงการฉีดวัคซีนรวมหลายๆโรคพร้อมกัน
โดยขอให้สัตว์แพทย์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแต่ละชนิดแยกกัน โดยอาจฉีดห่าง 1-2 สัปดาห์ เพื่อลดการกระตุ้นภูมิต้านทานลง เพื่อไม่ให้อาการแพ้รุนแรง และการแยกชนิดวัคซีน จะสามารถทำให้ทราบว่าสัตว์แพ้วัคซีนชนิดใด

หลีกเลียงการฉีดวัคซีนเอง หรือ บุคคลที่ไม่ใช่สัตวแพทย์ฉีด

แจ้งข้อมูลการแพ้วัคซีนของสัตว์เลี้ยงของท่านต่อสัตวแพทย์ทุกครั้ง
ท่านเจ้าของควรจดจำชนิดวัคซีนที่สัตว์เลี้ยงแพ้ และแจ้ให้สัตวแพทย์ทราบทุกครั้งที่ไปฉีดวัคซีน

อาจต้องมีการฉีดยาแก้แพ้ก่อนการฉีดวัคซีนในรายที่แพ้ทุกครั้ง
การฉีดยาแก้แพ้ก่อนการฉีดวัควัคซีนเพื่อเป็นการป้องกันอาการแพ้ก่อนที่จะเกิด และภายหลังการฉีดวัคซีนท่านเจ้าของควรสังเกตอาการของสัตว์เลี้ยงต่ออีก 1 – 2 วันหลังการฉีดวัคซีน

การฉีดวัคซีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสัตว์เลี้ยงของเจ้าของ
การแพ้วัคซีนแม้จะเกิดขึ้นได้น้อย แต่บางครั้งก็เป็นอันตรายถึงชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าสัตว์เลี้ยง แพ้มากหรือน้อย แต่ไม่ใช่หมายความว่าท่านเจ้าของกลัวการแพ้วัคซีน จนไม่พาสัตว์เลี้ยงไปฉีด

*******************************************************
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลสัตว์ เอ็น.พี. หรือ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ โทรศัพท์ 0-2956-5276-7


DogRunner

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์