กำแพงกั้นเสียง

กำแพงกั้นเสียง


 กำแพงกั้นเสียงที่ขอบทางด่วน 

 กำแพงกั้นเสียง โดย นายประธาน อารีพล

         
ระดับเสียงจะลดลงได้มากถ้าผู้รับฟังมีเครื่องกำบังเสียง เช่น สภาพภูมิอากาศ หรืออาคารสิ่งก่อสร้าง ส่วนกำแพงกั้นเสียงที่สร้างขึ้นก็เพื่อพยายามลดทอนเสียง โดยเฉพาะจากแหล่งการจราจรทางถนน การทดสอบเครื่องยนต์ของเครื่องบิน และทางด่วน เป็นต้น

          หากพิจารณาในเชิงเรขาคณิตน่าจะกล่าวได้ว่าพลังงานเสียงตกลงบนกำแพงกั้นเสียงจะสะท้อนกลับไปยังแหล่งกำเนิดเสียง โดยที่ผู้ฟังซึ่งอยู่ภายในเงาของกำแพงกั้นเสียงไม่น่าที่จะได้รับเสียงอย่างไรก็ตาม ในศตวรรษที่ ๑๗ ฮอยเกนส์(Huygens) มีความคิดว่าทุกๆ จุดบนหน้าคลื่นจะทำตัวเป็นแหล่งกำเนิด และเผยแผ่คลื่นวงกลมออกไปโดยรอบ นี่จึงเป็นเครื่องอธิบายว่าทำไมจึงมีการกระจายของหน้าคลื่นเข้าไปสู่บริเวณเงาของกำแพงเฟรสเนล (Fresnel) และคนอื่นพัฒนาทฤษฎีต่อมา จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๕๑๑ มาเอกาวา (Maekawa) ตีพิมพ์แสดงวิธีง่ายๆในการประมาณค่า การลดทอนเสียงโดยกำแพงกั้นเสียง ก่อนอื่นจะต้องหาค่าเลขเฟรสเนล (Fresnel number) N ของกำแพงกั้นเสียงที่มีลักษณะทางเรขาคณิตอย่างใดอย่างหนึ่ง

กำแพงกั้นเสียง





          จากรูป
          N = (2 / l) d
             คือความยาวคลื่นของเสียง หน่วย เมตร
             คือผลต่างของทางเดินเสียงจากแหล่งกำเนิดถึงผู้ฟัง เมื่อมี และ ไม่มีกำแพงกั้นเสียง
             (a + b) - c หน่วย เมตร

          การลดทอนเสียงสำหรับแถบความถี่ โดยคิดที่ความถี่กลางของแบบนั้นๆ หาได้โดยคำนวณ (d)ออกมาก่อน แล้วจึงหาค่า N และการลดทอนเสียงอาจจะหาได้จากกราฟ

          การหาเลขเฟรสเนล  สำหรับ
          ๑) กำแพงกั้นเสียงธรรมดา 
          ๒) สิ่งก่อสร้าง
          ๓) เนินผา
          ๔) ขอบคันดิน




electron.rmutphysics

กำแพงกั้นเสียง


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์