กินแคลเซียมมากไปเป็นอะไรไหม

แคลเซี่ยมที่ถูกดูดซึมได้ดีที่สุด ควรอยู่ในรูปที่ไม่แตกตัวเป็นอิออน แคลเซี่ยมที่ถูกดูดซึมได้ดีที่สุด คือ แคลเซี่ยมคาร์บอเนต สกัดได้จากเปลือกหอยนางรม ในผู้ใหญ่หลาย ๆ ท่าน ที่ไม่สามารถดื่มนมได้ เนื่องจากไม่มีน้ำย่อย ก็จะได้ประโยชน์จากการรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทนี้

ในการรับประทานแคลเซี่ยมที่ถูกต้อง ควรรับประทานในขณะที่กระเพาะว่างและมีความเป็นกรดน้อยที่สุด หรือรับประทานก่อนอาหาร ประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เพื่อเพิ่มการดูดซึม แต่ทั้งนี้สุขภาพของกระเพาะต้องปกติด้วย

ไม่ควรรับประทานแคลเซี่ยมพร้อมกับอาหารจำพวกรำข้าว อาหารที่มีออกซาเลทสูง(ยอดผักต่างๆ) ธัญพืช( whole grain cereals) ซึ่งจะลดการดูดซึมของแคลเซียม นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มีการใช้แคลเซี่ยมในการรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง ซึ่งต้องการแคลเซียมออกฤทธิ์ไปจับกับฟอสเฟตในอาหาร ทำให้ฟอสเฟตไม่ถูกดูดซึมเข้าร่างกาย ในผู้ป่วยโรคนี้ต้องรับประทานแคลเซี่ยมพร้อมอาหารจึงจะได้ผลดี

การรับประทานแคลเซี่ยมที่ถูกต้องควรรับประทานแร่ธาตุอื่น ๆ ที่จำเป็นร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็น แมกนีเซี่ยม สังกะสี แมงกานีส ทองแดง จึงจะได้รับประโยชน์สูงสุด

คนเราต้องการแคลเซียมวันละ 800-1500 มิลลิกรัม หรือ อย่างน้อยวันละ 800 มก. การได้รับแคลเซียมมากเกินไปมักเป็นผลมาจากการใช้ยาเม็ดเสริมแคลเซียม ซึ่งในระยะยาวอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเกิดนิ่วในไตได้ ดังนั้น ไม่ว่าสารอาหารใด ๆ เราควรบริโภคในปริมาณพอเหมาะ

การรับประทานผลิตภัณท์แคลเซียมเสริมมีหลักการดังนี้

- ขนาดแคลเซียมที่ควรให้ต่อครั้งไม่ควรเกิน 500 mg เนื่องจากการให้แคลเซียมขนาดสูงครั้งเดียวจะทำให้ประสิทธิภาพการดูดซึมลดลง
- ระวังส่วนผสมอื่นในผลิตภัณฑ์ เช่น วิตามินดี วิตามินซี หากมีการเสริมมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะพึ่งวิตามิน ทำให้เกิดอาการขาดวิตามินซีเมื่อหยุดเสริมได้
- จำนวนเม็ดยาที่บริโภคต่อวันไม่ควรมากเกินไป การที่บริโภคแคลเซียมมากเกินไป หรือการขับถ่ายแคลเซียมทางปัสสาวะสูงเกินไปทำให้เสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไต หรือในกระเพาะปัสสาวะได้ และหากระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกินจะทำให้เกิดความผิดปกติของการทำงานของกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ท้องผูก ปัสสาวะมาก คลื่นไส้ มึนงง โคม่า และอาจเสียชีวิตได้ ส่วนการรับประทานอาหารตามปกติไม่ทำให้เกิดภาวะแคลเซียมสูงเกิน เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการควบคุมอยู่แล้ว

ข้อควรระวังอื่นในการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียมคือ

- ระวังการใช้ร่วมกับยาที่ทำให้ทางเดินอาหารมีความเป็นด่างมากขึ้น เช่น ยาลดกรด เนื่องจากจะมีผลเร่งการดูดซึมแคลเซียมมากขึ้นทำให้เกิดโรคที่พบน้อยมากชนิดหนึ่ง คือ milk-alkali syndrome ซึ่งทำให้เกิดอาการทางระบบประสาท สับสน
- ควรระวังการเสริมแคลเซียมปริมาณสูงเกินไป โดยใช้ผลิตภัณฑ์แคลเซียมติดต่อเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงเกิน เกิดภาวะต่างๆ ดังที่กล่าวมาข้างต้นได้
- การรับประทานแคลเซียมในรูปเกลือ chloride หรือ gluconate อาจทำให้เกิดอาการระคายเคืองทางเดินอาหารได้
- ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการได้รับผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม คือ ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน มีรสเฝื่อนๆ ในปาก


กินแคลเซียมมากไปเป็นอะไรไหม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์