ข้อกฏหมายน่ารู้! ทำอย่างไรเมื่อถูกหาว่าเป็นโจร! ถ้าผมไม่ผิดคุณก็ติดคุกล่ะ


ไหนๆวันนี้มาดูเรื่องที่แฟนเพจส่งมาหน่อยซิ กรณีเด็กสาวม.ต้น ถูกพนักงานรักษาความปลอดภัยห้างกล่าวหาว่าขโมยสินค้าในห้างชื่อดังจนเป็นที่สนอกสนใจของหลายฝ่าย ซึ่งรวมถึงทนายคู่ใจด้วย เรื่องมีอยู่แล้วเด็กสาวมอต้นไปรอพี่สาวมารับกลับบ้านที่ห้างดังกล่าว แต่ทางพนักงานรักษาความปลอดภัยเห็นชุดนักเรียนดูใหม่ผิดปกติ จึงเข้าใจว่าเธอขโมยชุดนักเรียนของห้างไป แม้เด็กสาวจะพยายามปฏิเสธว่าไม่ได้ทำ และพยายามอธิบายว่าเพิ่งซื้อเสื้อมาแค่ยังไม่ได้ปักชื่อ แต่ก็ไม่มีใครเชื่อ จากนั้นน้องก็ไปเข้าห้องน้ำซักพักแม่บ้านมาเคาะเรียกว่าจะล้างห้องน้ำให้เปิดประตู พอออกจากห้องน้ำก็มีผู้ชายคนหนึ่งมาคุยด้วยเรื่องของที่ขโมย จนสุดท้ายจบที่มีพนักงานของร้านขายสินค้าในห้างแจ้งว่าเสื้อยี่ห้อที่น้องใส่อยู่นั้นไม่มีขายในห้างนี้ เรื่องจึงจบลง โดยทางห้างก็มอบกล่องดินสอและยกมือไหว้ขอโทษเป็นการปลอบขวัญ

คำถามถือถ้าลูกคุณไปเจอสภาพแบบนี้ จะเอาผิดห้างได้แค่ไหนอย่างไรหรือมองว่าทางห้างมีสิทธิกระทำได้เพื่อปกป้องทรัพย์สินของห้าง เรื่องนี้มีสองมุมที่น่าคิด แต่ทนายอย่างผมคงมองในมุมเด็กตาดำๆนี่แหละว่าจะเอาผิดห้างได้แค่ไหนมาดูกันดีกว่า

อย่างแรกเลยผมมองเรื่องความในคดีอาญาของทางพนักงานรักษาความปลอดภัยของห้างและพนักงานคนอื่นๆที่เกี่ยวข้องว่าร่วมกันกระทำการกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้อื่น (ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 310 ) ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 3 ปีหรือปรับไม่เกิน 6 พันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ อย่าลืมว่าแม้เราจะอยู่ในช่วงสภาวะทางการเมืองแบบพิเศษแต่สิทธิขั้นพื้นฐานตามรัฐธรรมนูญ ก็ยังอยู่ครบผู้ใดจะมาละเมิดในหลักการสิทธิเสรีภาพของผู้อื่นโดยวิธีอันไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ได้ การกล่าวหาว่าเราเป็นขโมย และห้ามเราเดินเหินไปไหนอย่างอิสระมันน่ากลัวนะโดยเฉพาะสำหรับเด็กอายุไม่ถึง 15 ปี ขนาดตำรวจยังไม่มีสิทธิสอบปากคำเด็กโดยตรงเลย ต้องมีขั้นตอนร่วมหลายหน่วยงาน แต่ทางห้างมีสิทธิอะไร แถมตรวจสอบไปตรวจสอบปรากฏว่าเป็นความมั่วของพนักงานห้างเสียเองอีก คุณอย่าดูเป็นเรื่องจับผิดขอโทษแล้วจบนะเด็กคนนี้มีโอกาสจะนอนฝันร้ายเรื่องนี้ไปตลอดชีวิตด้วยซ้ำ

เข้าใจว่าทางห้างต้องปกป้องทรัพย์ของตนเองแต่การปกป้องต้องไม่เกินสมควรแก่เหตุตามกฎหมาย ถ้าเด็กคนนี้ขโมยจริงทางห้างย่อมอ้างสิทธิ์ข้อนี้ในการหน่วงเหนี่ยวหรือกักขังรอตำรวจมาจับได้ตามกฎหมาย แต่ถ้าเขาไม่ได้ทำขึ้นมาพนักงานที่ร่วมกันหน่วงเหนี่ยวเสรีภาพของน้องเขาไว้จะผิดกฎหมายทันนี้ ซึ่งตามกฎหมายแล้วเมื่อลูกจ้างกระทำในการทางที่จ้างแล้วละเมิดต่อบุคคลภายนอกนายจ้างย่อมต้องร่วมรับผิดชอบด้วย

(ลองหยิบยกฎีกาที่ 146/2472 มาเปรียบเทียบดูกรณีการจับคนร้ายมัดไว้รอตำรวจมาจับสามารถกระทำได้แต่ต้องกระทำผิดชัดเจน )

เรื่องต่อจากนี้สังคมแห่งความจริงต้องตัดสินเอาเองนะครับ เพราะมันคือกฎของโลกใบนี้

ขอบคุณบทความดีดีจาก>> FB 
ทนายคู่ใจ


ข้อกฏหมายน่ารู้! ทำอย่างไรเมื่อถูกหาว่าเป็นโจร! ถ้าผมไม่ผิดคุณก็ติดคุกล่ะ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์