ข้อดี-ข้อเสีย ยาแก้หวัดแบบง่วง-ไม่ง่วง

ข้อดี-ข้อเสีย ยาแก้หวัดแบบง่วง-ไม่ง่วง

ข้อดี-ข้อเสีย ยาแก้หวัดแบบง่วง-ไม่ง่วง


โรคหวัด และโรคภูมิแพ้ หลายคนรู้ดีว่า หากป่วยเป็นเมื่อไหร่ มีผลบั่นทอนประสิทธิภาพการทำงาน และการใช้ความคิด จึงสมควรรักษาตัวให้หายโดยเร็ว ยิ่งปัจจุบันนี้ ไข้หวัดและภาวะภูมิแพ้ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม เช่น ไข้หวัดนก ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ ที่ป่วยแล้วอาจทำให้เสียชีวิตได้

สาเหตุที่โรคดังกล่าวรุนแรงขึ้น นายแพทย์อธิก แสงอาสภวิริยะ อายุรแพทย์โรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลพญาไท 2 กล่าวในงานเสวนาสุขภาพ "หยุดไข้หวัด ภูมิแพ้ ตัวถ่วงความเจริญ" จัดโดยโรงพยาบาลพญาไท2 แลดีคอลเจน

นายแพทย์อธิก เผยว่า โรคหวัด โรคภูมิแพ้ รุนแรงขึ้นจากหลายสาเหตุ อาทิ เชื้อโรคสายพันธุ์ใหม่พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ, การเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศส่งผลให้การระบาดรวดเร็วและกว้างขวาง, การใช้ชีวิตที่ไม่สมดุลของคนสมัยใหม่ พักผ่อนน้อย ไม่ออกกำลังกาย เครียด สูบบุหรี่จัด กินไม่ถูกสุขอนามัยและหลักโภชนาการ จนกลายเป็นโรคอ้วน ส่งให้ภูมิต้านทานร่างกายลดลง ป่วยไข้ได้บ่อย ติดหวัดหรือภูมิแพ้กำเริบได้ง่าย

ประสบการณ์การรักษาคนไข้ของนายแพทย์อธิก ยังทำให้พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 20 ที่ปล่อยตัวเองให้เป็นหวัดและภูมิแพ้อย่างเรื้อรัง มักลามไปเป็นโรคทางเดินหายใจอื่นๆ ที่หนักยิ่งขึ้น เช่น ไซนัสอักเสบ หลอดลมอักเสบ ปอดบวม โรคหืด โรคริดสีดวงจมูก

ขณะที่ร้อยละ 30 ของผู้ป่วยนั้นเป็นวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 35-50 ปี จะมีโรคประจำตัวติดตัวมาด้วย ทั้งๆ ที่ยังไม่เข้าวัยชรา เช่น โรคหัวใจ ความดัน เบาหวาน ไต เมื่อใดที่เกิดเป็นไข้หวัดหรือภูมิแพ้ก็จะส่งผลให้โรคประจำตัวที่เป็นทรุดลงไปด้วย แถม 1 ใน 4 ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ เมื่อป่วยแล้วต้องลาหยุดงานอย่างน้อย 1 วัน เพื่อพักรักษาตัว แสดงให้เห็นว่า เมื่อโรคหวัด ภูมิแพ้ มาเจอกับโรคประจำตัวอื่นๆ ยิ่งทำให้ร่างกายทรุดหนัก จนเสียเวลาการทำงานได้

สำหรับการรักษาด้วยการใช้ยาบรรเทาโรคหวัดและภูมิแพ้ นายแพทย์อธิก บอกไว้ว่า ยาจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มแรก คือ กินแล้วง่วง มีตัวยาคลอเฟนิรามีน ช่วยลดการคัดจมูก ผสมกับตัวยาเฟนิลเอฟริน ช่วยลดการคั่งในโพรงจมูก เมื่อกินยากลุ่มนี้แล้วง่วง ต้องนอนหลับพักผ่อน ช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูสภาพตัวเองให้กลับมาแข็งแรง สดชื่นขึ้น

อีกกลุ่มกินแล้วไม่ง่วง เนื่องจากไม่มีส่วนผสมของคลอเฟนิรามีน จึงเหมาะกับคนที่ทำงานหน้าเครื่องจักร หรือคนที่ต้องขับยานพาหนะ ไม่สามารถหยุดพักผ่อนได้ แต่นายแพทย์อธิก แนะว่า แม้การกินยาบรรเทาในกลุ่มหลังนี้จะไม่ทำให้ง่วง ร่างกายที่ไม่ได้พักก็อาจทำให้หายช้า เสี่ยงรุกลามไปเป็นโรคอื่น ดังนั้นก่อนใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรให้เข้าใจถึงคุณสมบัติและการใช้ที่เหมาะสมและปลอดภัย.


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์