ความรู้เรื่อง...สเตียรอยด์

ความรู้เรื่อง...สเตียรอยด์


สเตียรอยด์ .. คืออะไร มีโทษอย่างไร แล้วมันมีประโยชน์ด้วยหรือ

        สเตียรอยด์ .. 
หลายๆ คน จะคิดไปถึงโทษที่มากมาย แต่ในยาหลายชนิดก็ยังมีสเตียรอยด์ มาทำความรู้จักกันให้ลึกถึงประโยชน์และโทษกันดีกว่าค่ะ เพื่อจะได้เลือกใช้อย่างปลอดภัย

         สเตอรอยด์ ... 
คือชื่อเรียกของกลุ่มฮอร์โมนที่ถูกสร้างจากต่อมหมวกไตภายในร่างกายของคนเรา สเตอรอยด์ที่ถูกสร้างหลักๆ มี 2 ชนิด คือโคติซอล(Cortisol)และอัลโดสเตอรอยด์(Aldosterone) โดยถูกสร้างสูงสุดตอนตื่นนอน และต่ำสุดตอนที่เรานอน เรียกว่า Diurnal attern
         นอกจากนี้ถ้าร่างกายมีความเครียดต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจร่างกายก็จะหลั่งสารสเตอรอยด์ออกมามากขึ้น เพื่อควบคุมความกดดันเหล่านั้นตามธรรมชาติ เชื่อว่าถ้าไม่มีสเตอรอยด์เลย ทำให้เราถึงตายได้ทีเดียว

  ป ร ะ โ ย ช น์   

       - ทดแทนภาวะขาดฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต ข้ออักเสบเฉพาะที่รุนแรงควบคุมไม่ได้ด้วยยามาตรฐาน โดยให้ยาด้วยวิธีรับประทาน หรือ ฉีดเข้าข้อโดยตรง
       - หัวใจอักเสบรูมาติก โรคไต บางชนิด เช่น Glomerulonephritis, Nephrotic syndrome
       - โรคเกี่ยวกับคอลลาเจนบางชนิด เช่น Polymyositis, Polyarteritis nodusa, systemic lupus erythematosus (SLE) โรคภูมิแพ้ ที่รุนแรง ควบคุมด้วยยามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เช่น หอบหืดอย่างรุนแรง โรคปอดเรื้อรัง โดยส่วนใหญ่ใช้ในรูปของยาพ่น กิน หรือ ฉีด โรคตา ในรูปหยอด หรือป้ายตา โรคผิวหนังผื่นแพ้ ในรูปยาทาเฉพาะที่
       - โรคทางเดินอาหาร ได้แก่ Ulcerative colitis, Crohn's disease โรคตับ Subacute Hepatic Necrosis, Chronic active Hepatitis, ตับอักเสบจากแอลกอฮอล์และตับแข็งในสตรีที่ไม่ดื่มสุรา โรคมะเร็งในโรค Lymphoblastic Leukemia
       - มะเร็งเต้านม ป้องกันอาเจียนในผู้ที่ได้รับยาต้านมะเร็ง
       - ภาวะแคลเซียมในเลือดสูง โรคโลหิตจาง Immunohemolytic anemia
       - การปลูกถ่ายอวัยวะ เพื่อให้เกิดการยอมรับอวัยวะผู้อื่นดีขึ้น

   โ ท ษ   

        - ยามีฤทธิ์กดการทำงานของต่อมหมวกไต ห้ามหยุดยาอย่างทันที หลังจากใช้เป็นระยะเวลานาน เกิดลักษณะของผู้ที่ได้รับยาสเตียรอยด์นานๆ ที่เรียกว่า Cushing's Syndrome คือ มีอาการบวม ท้องลาย สิวเม็ดเล็กที่มีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่าสิวสเตียรอยด์ ผิวเข้มขึ้น ความดันโลหิตสูง อ่อนเพลีย ขนขึ้นตามตัวติดเชื้อง่ายขึ้น 
        -เกิดเชื้อราในช่องปากง่ายขึ้น เพราะยาจะไปกดระบบภูมิคุ้มกันที่คอยต่อต้านเชื้อโรค 
       - กดการเจริญเติบโตในเด็ก 
       - เกิดความดันโลหิตสูง ระดับโปแตสเซียมในเลือดต่ำ
       - กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผิวหนังบาง เกิดภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis)
       - ความดันในลูกตาเพิ่มทำให้เป็นต้อหิน เลนส์กระจกตาขุ่น เกิดต้อกระจก
       - ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 
       - อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงง่าย
       - คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ทางเดินอาหารระคายเคือง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร

        ในปัจจุบันเมื่อเจ็บป่วยก็มักจะหาซื้อยารับประทานเอง และไม่น้อยที่คิดว่ายาแผนโบราณ สมุนไพรดูจะปลอดภัยมากกว่ายาแผนปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวก็มักมีการตรวจพบเสมอว่ามีการลักลอบใส่สเตียรอยด์ในยาแผนโบราณ ยาลูกกลอน ยาชุด ในช่วงแรกๆ คนกินจะรู้สึกว่าดีขึ้น แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะเกิดโทษตามมาได้ 

เพราะฉะนั้นควรเลือกใช้ยาอย่างปลอดภัย

        - สังเกตยาแผนโบราณ หรือยาลูกกลอนต้องมีเลขทะเบียนตำรับยา วัน เดือน ปี ที่ผลิตยา ชื่อและจังหวัดที่ตั้งผู้ผลิตยา ชัดเจน หรือ ผู้จำหน่ายมีใบอนุญาติขายยาแผนโบราณ
        - ซื้อยาจากร้านที่มีใบอนุญาตขายยา และมีเภสัชการประจำร้าน
        - ไม่ใช้ยาชุดหรือซื้อยา จากร้านขายของชำ รถเร่ หรือแผงลอย หรือยาจากผู้ไม่ได้ใบประกอบโรคศิลปะ


ขอบคุณ : women.thaiza.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์