ความหมายและที่มาของเค้กแต่งงาน











          "เค้กแต่งงาน" เป็นขนมหวานที่นิยมใช้เลี้ยงแขกเป็นสิ่งแรกหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแต่งงานของคู่บ่าวสาว 

        
โดยประวัติของเค้กแต่งงานนั้นเริ่มขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 ในสมัยโรมัน ซึ่งเป็นประเพณีที่แขกผู้ร่วมงานแต่งงานจะนำขนมเค้กก้อนเล็กๆมีลักษณะคล้ายก้อนขนมปังมาร่วมงาน

         จากนั้นจะนำมากองรวมกันเป็นชั้นๆ เพื่อให้คู่บ่าวสาวปีนขึ้นไปจูบกันบนยอดกองขนมเค้ก หากคู่บ่าวสาวคู่ใดสามารถปีนขึ้นไปจูบกันบนยอดของชั้นเค้กได้เชื่อกันว่าจะเป็นคู่ที่โชคดี แต่หากทำไม่สำเร็จหรือตกลงมาก็คือว่าเป็นการสร้างความสนุกสนานครื้นเครงให้กับคนในงาน


          ซึ่งหลังจากนั้นเค้กแต่งงานก็ได้มีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ โดยเริ่มรวมขนมเค้กเอาไว้เป็นก้อนเดียวแต่มีหลายๆ ชั้นเฉกเช่นในปัจจุบันนี้








        
          เค้กแต่งงานโดยส่วนใหญ่จะมีขนาดใหญ่ มีรูปร่างเป็นชั้นๆ เรียงกันขึ้นไป และมีการตกแต่งอย่างสวยสดงดงามด้วยครีมและน้ำตาลแต่งหน้าเค้ก ซึ่งในบางครั้งอาจมีการนำแอลด์มอนมาเป็นส่วนผสมในการทำ โดยส่วนยอดของขนมเค้กนั้นมักประดับด้วยตุ๊กตาแทนตัวบ่าวสาว หรือในบางความคิดอาจใช้เป็นรูปนก รูปแหวนทอง หรือรูปเกือกม้า ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ของความโชคดี และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับคู่บ่าวสาว

          ซึ่งลักษณะของเค้กแต่งงานที่ดีจะต้องมีเนื้อแน่นสามารถรับน้ำหนักของชั้นเค้กที่ตกแต่งอย่างสวยงามได้และที่สำคัญยังต้องรับประทานได้และอร่อยอีกด้วย สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยทักษะฝีมือความคิดสร้างสรรค์และความปราณีตเป็นอย่างมากจากพ่อครัวหรือผู้ทำขนมเค้ก










     หากจะพูดถึงประเพณีการตัดเค้กนั้น โดยส่วนใหญ่เจ้าสาวจะต้องเป็นคนตัดเค้กเอง โดยที่เจ้าบ่าวมีหน้าที่แค่คอยช่วยเหลือ ซึ่งในประเพณีโบราณฝ่ายเจ้าสาวจะต้องตัดเค้กแล้วนำขนมเค้กที่ตัดแล้วไปมอบให้แก่บุคคลต่างๆ ในครอบครัวของฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อแสดงความเคารพ และแสดงให้เห็นว่าเธอกำลังจะก้าวเข้าไปเป็นหนึ่งในสมาชิกของครอบครัวฝ่ายเจ้าบ่าว นับจากนี้เป็นต้นไป

      อีกทั้งยังมีประเพณีที่ให้คู่บ่าวสาวป้อนเค้กให้กันและกัน คือการสื่อความหมายถึงการเริ่มต้นชีวิตครอบครับ   ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องสร้างครอบครัวใหม่ด้วยกัน และเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่จะต้องดูแลกันและกันตลอดไป


      หลังตัดเค้กเป็นชิ้นๆ แล้วฝ่ายบ่าวสาวก็จะแบ่งเค้กเหล่านั้นให้กับผู้ที่มาร่วมพิธีได้รับประทานกัน ซึ่งอาจจะทานเลยหรือนำกลับบ้านไปฝากบุคคลที่ไม่ได้มาร่วมงานก็อาจเป็นได้ (ซึ่งในประเพณีโบราณเชื่อว่า หากเพื่อนเจ้าสาวคนไหนอยากฝันเห็นเนื้อคู่ของคนในอนาคต ให้นำเค้กแต่งงานไปไว้ใต้หมอนหรือข้างหมอนแล้วนอนหลับ สาวคนนั้นจะฝันเห็นคู่ชีวิตของตน)







          หากจะพูดถึงการเฉลิมฉลองที่มีความสุขมากอีกครั้ง หลังจากวันแต่งงานของคู่บ่าวสาวก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องการให้กำเนิดลูกน้อยอย่างแน่นอน เพราะเหตุนี้เค้กบางส่วนในพิธีแต่งงานอาจจะถูกเก็บไว้กินเพื่อฉลองในวันครบรอบแต่งงานของบ่าวสาวในปีถัดๆ ไป ใช้ฉลองในวันที่คลอดลูกคนแรก แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้ในพิธีตั้งชื่อบุตรตามหลักศริสต์ศาสนา ซึ่งจะเก็บรักษาด้วยการนำเข้าช่องแช่แข็งเอาไว้ ส่วนใหญ่จะเก็บชั้นบนสุดของเค้กที่มักจะตกแต่งด้วยผลไม้ซึ่งสามารถเก็บรักษาเอาไว้ได้เป็นระยะเวลานานด้วยการแช่แข็ง (ในอดีตวิธีการรักษาเค้กให้เก็บไว้ได้เป็นระยะเวลานานๆ ก็คือการใช้น้ำตาลในปริมาณมากๆ เป็นส่วนผสมในการทำเค้กและแต่งหน้าเค้ก เพื่อเพิ่มความหนาแน่นและลดช่องว่างไม่ให้อากาศเข้าไปในเนื้อเค้กซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เค้กหมดอายุหรือเสียเร็วขึ้น)

ขอบคุณที่มา  :  THAIWEDDINGMALL.COM

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์