คำแนะนำลูกหนี้คดีบัตรเครดิต

คำแนะนำลูกหนี้คดีบัตรเครดิต



คำแนะนำลูกหนี้คดีบัตรเครดิต
 

ทนายคลายทุกข์ขอนำเรื่องราวคดีเกี่ยวกับบัตรเครดิตซึ่งนับวันจะมากขึ้นในชั้นศาล โดยจะนำประเด็นที่น่าสนใจมาเสนอเป็นข้อ ๆ ดังนี้

1.   เมื่อเริ่มผิดนัดหนี้บัตรเครดิต ถ้ามีความเชื่อว่าไม่มีปัญญาชำระหนี้ ควรเข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงิน เพื่อขอคำแนะนำในการชำระเงินต่อไป หรือหยุดชำระหนี้
 

2.   ปัจจุบันการชำระหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำอยู่ที่ร้อยละ 10 ของยอดค้างชำระ ส่วนดอกเบี้ยค้างชำระและค่าธรรมเนียมอื่น ๆ รวมกันแล้วต้องไม่เกินร้อยละ 28
 

3.   ถ้าผ่อนชำระขั้นต่ำแล้วไม่ไหวหรืออยู่ไม่ได้ ควรหักบัตรออกเป็นสองท่อนแล้วส่งคืนสถาบันการเงิน โดยลงทะเบียนตอบรับพร้อมแจ้งยกเลิกสัญญาการใช้บัตรเครดิต สัญญาบัตรเครดิตจะสิ้นสุดลงทันที นับแต่วันที่หนังสือของท่านมีผลตามกฎหมาย
 

4.   เมื่อยกเลิกบัตรเครดิตแล้ว ตามกฎหมายธนาคารไม่มีสิทธิคิดค่าธรรมเนียมหรือค่าปรับหรือค่าทวงหนี้ใด ๆ อีกต่อไป สิ่งที่กล่าวถึง ทนายคลายทุกข์นำมาจากบรรทัดฐานในคำพิพากษาคดีในศาลต่าง ๆ ได้มีคำวินิจฉัยไว้ชัดเจนว่า เมื่อสัญญาบัตรเครดิตสิ้นสุดลง คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่สถานะเดิม ตาม ป.พ.พ.มาตรา 391 ส่วนธนาคารมีสิทธิเพียงคิดดอกเบี้ยในอัตราที่สมควร ซึ่งส่วนใหญ่ศาลจะพิจารณาให้ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี และเงินที่ผู้ใช้บัตรชำระมาก่อนฟ้องให้นำเงินที่ชำระมาไปหักออกจากดอกเบี้ยที่ค้างชำระก่อนฟ้อง
 

5.   ค่าทนายความในชั้นศาลคดีบัตรเครดิต ส่วนใหญ่ศาลจะกำหนดให้ใช้ประมาณ 700 บาท
 

6.   ถ้าผู้ใช้บัตรเครดิตเมื่อแพ้คดีในชั้นศาลแล้ว มีเงินเดือนไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท เจ้าพนักงานบังคับคดีไม่สามารถอายัดเงินเดือนได้ ตาม ป.วิ แพ่ง มาตรา 236 (1) (2) (3) แต่ถ้าเงินเดือนเกินมีสิทธิถูกอายัดเงินเดือน แต่มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลหรือต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้กำหนดจำนวนเงินใหม่ได้ โดยศาลจะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับฐานะทางครอบครัวจำนวนบุพการีและผู้สืบสันดาน ซึ่งอยู่ในความอุปการะของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยจะต้องยื่นคำร้องภายใน 15 วัน ตาม ป.วิ แพ่ง มาตรา 286 (2) (3) ตามลำดับ หากศาลลดจำนวนเงินอายัดน้อยไป ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ตามวรรคท้าย
 

7.   เมื่อลูกหนี้ถูกเจ้าหนี้บัตรเครดิตรายหนึ่งอายัดเงินเดือนแล้ว ห้ามมิให้อายัดซ้ำ ตาม ป.วิ แพ่ง มาตรา 290 แต่เจ้าหนี้บัตรรายอื่นมีสิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์ได้
 

8.    ถ้าลูกหนี้ไม่อยากให้ถูกอายัดเงินเดือน ลูกหนี้ต้องไปตกลงกับสถาบันการเงินนอกรอบ โดยทำเป็นหนังสือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจะงดการอายัดเงินเดือนไว้ชั่วคราวตาม ป.วิ แพ่ง มาตรา 292 (3)
 

9.   การตกลงชำระหนี้ตามคำพิพากษาหรือการถูกอายัดเงินเดือนต้องคอยตรวจสอบยอดเงินที่ค้างชำระสม่ำเสมอ เพราะเคยมีหลายคดีที่อายัดเงินจากลูกหนี้เกินยอดหนี้ตามคำพิพากษา
 

หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคดีบัตรเครดิตหรือคดีเช่าซื้อรถยนต์สอบถามได้ที่ 02-948-5700 อ.เดชา กิตติวิทยานันท์ เป็นวิทยากรอบรมนักทวงหนี้ของสถาบันการเงินหลายแห่ง มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องหนี้เป็นอย่างดี
 

 โปรดทราบ คำแนะนำข้างต้น มิได้มีเจตนาให้ลูกหนี้โกงสถาบันการเงิน



ขอบคุณ : echa.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์