คุณมีตัณหาแบบไหน ???

คุณมีตัณหาแบบไหน ???


ตัณหามีตัวเร้าอยู่ 6 ประการ คือความอยากเกี่ยวกับ รูป (รูปตัณหา) รส (รสตัณหา) กลิ่น (คันธตัณหา) เสียง (สัททตัณหา) สัมผัส (โผฏฐัพพตัณหา) และความอยากเสพอารมณ์ (ธัมมตัณหา)

จึงเรียกตัณหา 6 และแต่ละอย่างสามารถแยกออกไปอีก 3 อาการ คือ



1. กามตัณหา คือ ความทะยานอยากได้ ของตัณหา 6 ประการ ไม่จำเป็นต้องเกี่ยวกับเรื่องทางเพศ เช่น อยากได้ของสวยที่ตนไม่มีสิทธิได้ อยากรับทานอาหารทิพย์ อยากได้กลิ่นหอมของเทวดา อยากฟังเสียงจากสวรรค์ อยากมีรูปงามอย่างนางฟ้า อยากมีบ้านสวย ทำให้ไม่รู้จักพอ เป็นต้น


2. ภวตัณหา คือ ความทะยานอยากเป็น อยากมี หรืออยากให้อยู่ เช่น อยากเป็นนายกรัฐมนตรี อยากเป็นเจ้า อยากเป็นดารา นักร้อง จนถึงอยากนิพพาน ก็นับเป็นตัณหา


3. วิภวตัณหา คือ ความทะยานอยากไม่ให้เป็น ไม่ให้อยู่ หรือให้พ้นไป ของสิ่งที่สมควรจะเป็น เช่น ไม่อยากแก่ ไม่อยากตาย ไม่อยากให้สิ่งที่มีอยู่หมดสิ้นไป หรือเชื่อว่าตายแล้วสูญไม่เกิดอีก ในความเป็นจริงลักษณะของตัณหาทั้ง 3 ประการนี้ไม่ได้เกิดตามลำพังแต่เกิดต่อเนื่องกัน เช่น กามตัณหา คือ อยากได้ เมื่อได้มาแล้วก็เป็นภวตัณหา คือ อยากให้อยู่ตลอดไป แต่เมื่อเบื่อก็เกิดวิภวตัณหา คืออยากให้พ้นไปจากตน จึงรวมเรียกว่า ตัณหา 3




สรุปว่า ตัณหา 6 คือ รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส และใจ ก็ย่อมมีตัณหา 3 อยู่ด้วย คือ อยากได้ อยากให้อยู่ และอยากให้พ้นไป อยู่ร่วมด้วยทุกข้อ จึงรวมเป็นตัณหา 18 ซึ่งถ้าแบ่งเป็นภายนอกและภายในจะเป็นตัณหา 36 และถ้ายังแบ่งต่อไปโดยนับกาลเวลาว่าเป็นเมื่ออดีต ปัจจุบัน และอนาคต จึงเป็นตัณหา 108 ดังนี้


ตัณหานี้แต่ละคนมีไม่เท่าเทียมกัน เพราะมี 3 ระดับ คือมีมาตั้งแต่เกิดติดมากับปฏิสนธิวิญญาณ เรียกอนุสัยกิเลส ทำให้คนเรารักตัวเอง จะมากหรือน้อยต่างกันออกไป ซึ่งเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้น กระทบกับสิ่งเร้ารูปรสกลิ่นเสียงใจ ก็เกิดตัณหามากขึ้น ซึ่งถ้ายังคุมให้อยู่ในสภาพอันควรได้ก็คงไม่เป็นปัญหา แต่ถ้าคุมตัณหาไม่อยู่ทำให้เกิดการละเมิดศีลต่างๆ ทำผิดต่างๆทั้งกาย วาจา ใจ ที่เป็นขั้นสุดท้ายเรียก วีติกรรมกิเลส อาจทำบาปด้วยวิธีต่างๆจนถึงการฆ่าให้ตาย


อุปาทาน เป็นตัวกิเลสที่ต่อมาจากตัณหา คือเมื่อคนเรามีความทะยานอยากแล้วก็เกิดอุปาทานคือความหลงเชื่อผิดว่าเป็นของตน ทำให้มีการ ยึดถือ ไม่ยอมปล่อย ไม่ว่าจะเป็นยศ ศักดิ์ สรรเสริญ บริวาร ทรัพย์สมบัติ หรือรูปกายของตน จะมีอุปาทานยึดมั่นว่าเป็นของตนทั้งสิ้น โดยลืมนึกไปว่าอย่าว่าแต่ของนอกกายเหล่านี้เลย แม้แต่ร่างกายของเรายังยึดไม่อยู่ มีป่วย มีแก่ชรา มีตาย สลายไป อุปาทานจึงเป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอันหนึ่ง ซึ่งอาจแยกสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่




อัตตวาทุปาทาน เป็นข้อสำคัญที่สุดคือความยึดมั่นว่าเห็นตนเองหรืออัตตาเป็นตัวเรา สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นของตนและยึดไว้ไม่ยอมปล่อย อันจะเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อๆไป พระพุทธเจ้าจึงสอนให้ยึดว่าทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
กามุปาทาน ความยึดมั่นในรูปเสียงกลิ่นรสและสัมผัสและการบริโภคของที่มีที่ได้
ทิฏฐปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในความคิดเห็นของตนว่าเป็นสิ่งถูกต้องแน่นอน

สิลพัตตุปาทาน ความยึดมั่นกับศิลพรต ซึ่งมีข้อยึดถือข้อปฏิบัติต่างๆกันว่าของตนถูกต้อง ซึ่งเป็นความงมงาย

แหล่งที่มาจาก:พลังจิตดอทคอม (โดยคุณน้ำใส)


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์