คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


คุ้มวงศ์บุรี  Wongburi House  จ.แพร่

           หรือ บ้านวงศ์บุรี ดำเนินการสร้างโดยเจ้าพรม ( หลวงพงษ์พิบูลย์ ) และเจ้าสุนันตา วงศ์บุรี (หลานสาวเจ้าบัวถา) โดยดำริของ เจ้าบัวถา ชายา เจ้าพิริยะเทพวงศ์ (เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้าย) ซึ่งมีอาชีพทำสัมปทานป่าไม้ โดยสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2440 คุ้มวงศ์บุรีเป็นอาคารไม้สักทอง 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา รูปแบบสถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป ประดับลวดลายแบบเรือนขนมปังขิง ซึ่งเป็นรูปแบบนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 ก่อสร้างโดยช่างจีนชาวกวางตุ้งและผู้ช่วยชาวไทย

ภายในมีสิ่งที่น่าสนใจ ประกอบด้วย เครื่องใช้ไม้สอยในยุคนั้น อาวุธโบราณ พระพุทธรูปโบราณ รูปภาพเก่าแก่ เอกสารการขอสัมปทานป่าไม้ในอดีต

ความสมบูรณ์และสวยงามของคุ้มวงศ์บุรี นั้นยังได้รับรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น ปี 2536 ของสมาคมสถาปนิกสยามอีกด้วย


คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่



สร้างตามรูปแบบงานสถาปัตยกรรมสมัยนิยมในยุครัชกาลที่ ๕
ใช้เวลาในการก่อสร้างรวม ๓ ปี
สิริรวมอายุถึงปัจจุบันสมัย
คุ้มวงศ์บุรี ก็ได้ผ่านร้อน ผ่านหนาว
เด่นตระหง่านคู่เมืองแพร่มาถึง ๑๑๒ ปี

คุ้มวงศ์บุรีหลังนี้ โดยรวม สีที่ใช้จะเป็นสีชมพู
เนื่องเพราะเป็นสีโปรดของแม่เจ้าบัวถา


ลักษณะการก่อสร้างเป็นเรือนไม้สักทอง ๒ ชั้น
สถาปัตยกรรมไทยผสมยุโรป แบบ“เรือนขนมปังขิง”
ที่สร้างอย่างประณีต อ่อนช้อย ประดับประดาต้วยลวดลายฉลุไม้
อย่างลงตัว ยามสัมผัสแสงก็สะท้อนภาพความงามออกมาได้อย่างน่าดูชม

เรือนไม้สีชมพูขาวหลังนี้ แบ่งออกเป็น ๒ ส่วนหลักด้วยๆกัน คือ
ส่วนหน้ากับส่วนหลัง
ส่วนหลังเป็นที่อยู่อาศัยของเจ้าของเรือน
ซึ่งเดิมเป็นเรือนไม้ใต้ถุนโล่งแบบพื้นบ้าน

สถานที่ตั้งคุ้มวงศ์บุรี ถนนคำลือ  ตำบลในเวียง  อำเภอเมืองแพร่  จังหวัดแพร่

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


หน้าต่างบานกระทุ้ง ซึ่งนับวันหาดูได้ยากขึ้น บริเวณเชิงชายประดับด้วยไม้ที่ฉลุอย่างสวยงาม

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


หน้าจั่ว ซึ่งเป็นจุดเด่นของอาคาร สวยงามด้วยไม้ฉลุลวดลายขนมปังขิง มีชายน้ำประดับรอบเชิงชาย สวยในรูปแบบไทยผสมยุโรป

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


ซุ้มหน้าต่าง กันแดดกันฝนและกันตกที่ชั้นบน ก็ยังประดับประดาด้วยลายไม้อย่างละเอียดอ่อน

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


โถงทางเดินชั้นล่างให้ความรู้สึกแบบย้อนยุค บันไดเวียนขึ้นสู่ชั้นบนจัดวางอย่างลงตัว

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


โถงทางเดินชั้นบนบรรยากาศโปร่งๆด้วยช่องแสงของลวดลายขนมปังขิง

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


บริเณทางเข้าประดับเป็นซุ้มลวดลายขนมปังขิงอย่างสวยงาม

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


บริเวณห้องทำงาน

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


ภายในห้องรับแขกกับเฟอร์นิเจอร์ไทยผสมยุโรป

คุ้มวงศ์บุรี เสน่ห์สีชมพูคู่เมืองแพร่


โถงชั้นบนประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน




ขอบคุณ...comingthailand

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์