งาแดงพันธ์ใหม่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

"งาแดง"พันธ์ใหม่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง


"งา"เป็นพืชชนิดหนึ่งที่เกษตรกรนิยมปลูกเพื่อสร้างรายได้เสริม ซึ่งประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกงาปีละประมาณ 4.2 แสนไร่  มีทั้ง งาขาว งาแดง และ งาดำ ได้ผลผลิตรวมประมาณ 5 หมื่นตัน โดยเฉพาะงาแดงมีการปลูกค่อนข้างมาก เนื่องจากมีความทนทานต่อความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศดีกว่างาชนิดอื่น ทั้งยังให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงเป็นลักษณะพันธุ์ที่เกษตรกรต้องการใช้มาก

ปัจจุบันนักวิจัย กรมวิชาการเกษตร ได้ปรับปรุงพันธุ์ ’งาแดงพันธุ์ใหม่”  ประสบผลสำเร็จอีกหนึ่งพันธุ์ มี ความโดดเด่น ทางด้าน การให้ผลผลิต ที่สำคัญยัง มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง (antioxidants)  เป็นทางเลือกใหม่สำหรับเกษตรกรที่จะนำไปปลูกเพื่อสร้างอาชีพและสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น

งาแดงพันธ์ใหม่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง

เมล็ดงามีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีโปรตีน ประมาณ 21-27% ทั้งยังมีน้ำมันที่มีคุณภาพดีและมีธาตุอาหารเกือบครบถ้วน อาทิ ธาตุแคลเซียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมงกานีส และแมกนีเซียม นอกจากนี้ยังมี สารต้านอนุมูลอิสระ จึงมีการนำงาไปใช้เป็นอาหารเพื่อสุขภาพและใช้ในการป้องกันและรักษาโรค โดยมีรายงานวิจัยระบุว่า การบริโภคเมล็ดและน้ำมันงาจะช่วยชะลอความแก่ ลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ลดความดันโลหิต ช่วยลดอัตราการเต้นและบีบตัวของหัวใจ ทั้งยังช่วยลดปฏิกิริยาทางเคมีที่จะชักนำให้เกิดโรคมะเร็งและลดการเสื่อมสภาพของสมองด้วย

งาแดงเป็นงาที่ถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมันค่อนข้างมาก โดยผ่านกระบวนการเอาเปลือกหุ้มเมล็ดออกทำเป็นงาขัด เพื่อให้เมล็ดเป็นสีขาวทดแทนงาขาวที่มีผลผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งถือเป็นพืชที่มีศักยภาพด้านการตลาด ปัจจุบันซื้อขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 35-40 บาท เพิ่มจากปี 2554 ที่มีราคากิโลกรัมละ 20 บาท

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ได้ปรับปรุงพันธุ์งาแดงพันธุ์ใหม่สำเร็จเพิ่มอีกหนึ่งพันธุ์ คือ พันธุ์ A30-15 ซึ่งอยู่ระหว่างเสนอให้คณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช พิจารณาประกาศเป็น พันธุ์แนะนำ ของกรมวิชาการเกษตร ชื่อ ’งาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2” (Ubon Ratchathani 84-2) เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา

นอกจากนั้นยังมีปริมาณ สารต้านอนุมูลอิสระ จำนวน 10,451 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สูงกว่าพันธุ์อุบลราชธานี 1 ประมาณ 15% ซึ่งงาแดงพันธุ์อุบลราชธานี 84-2 สามารถใช้ปลูกได้ทั่วไปในสภาพการผลิตงาในประเทศไทย โดยเฉพาะแหล่งปลูกงา ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์และลพบุรี จะให้ผลผลิตสูง


เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์