ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ


ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ

การสวมชุดไปรเวทไปโรงเรียนของเด็กนักเรียนโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยยังเป็นประเด็นถกเถียง ล่าสุดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ได้ส่งหนังสือขอให้ทบทวนความเหมาะสม โดยแสดงความเป็นห่วง ในเรื่องระเบียบวินัย ค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง และบริบทของสังคมไทย ขณะที่งานวิจัยในต่างประเทศพบว่า การสวมชุดนักเรียนช่วยเรื่องความประพฤติ แต่ไม่ชี้ชัดว่ามีผลต่อผลการเรียน และงานวิจัยบางชิ้นชี้ว่า จะก่อให้เกิดบรรยากาศควบคุมในลักษณะเผด็จการ

ในต่างประเทศเคยมีการถกเถียงเรื่องการกำหนดให้นักเรียนต้องสวมชุดนักเรียนไปโรงเรียนมาก่อน เช่นในอังกฤษ มีการเรียกร้องหาหลักฐานสนับสนุนว่า ทำให้เรียนดีขึ้นหรือมีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนจริง และเมื่อปี 2015 เรเชล เฮสเคธ ผู้ช่วยนักวิจัยประจำ สถาบันนโยบาย (Policy Institute) แห่งมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน ได้เขียนบทความเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยว่า หากสรุปจากผลศึกษาวิจัยที่มีอยู่อย่างจำกัด ไม่พบความสัมพันธ์ที่ชัดเจนระหว่างการใส่ชุดเครื่องแบบนักเรียนและผลการเรียน เธอระบุด้วยว่ามีการตั้งทฤษฎี มากมายในเรื่องนี้ แต่ยังมีหลักฐาน ที่เชื่อถือได้น้อย

ขณะที่งานศึกษาโดย อีเลน จาร์ชาว ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Phi Delta Kappan ในปี 1992 ในสหรัฐฯ ระบุว่า เครื่องแบบนักเรียนเสริมสร้างความ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความภาคภูมิใจในหมู่นักเรียน ซึ่งช่วยพัฒนาในเรื่อง ความประพฤติได้ สอดคล้องกับแนวคิดของ เดล สโตเวอร์ ซึ่งเคยเขียนไว้ในวารสาร American School Board Journal เมื่อปี 1990 ว่า การใส่ชุดเครื่องแบบนักเรียนสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ที่ดี เพราะนักเรียนไม่ถูกรบกวน สมาธิจากการแต่งกาย และไม่ตกเป็นเหยื่อถูกเพื่อนล้อเลียนด้วย




ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ

อย่างไรก็ตาม ซึงฮี ฮาน จากมหาวิทยาลัยมิสซูรี ได้เขียนบทความลงในวารสาร International Journal of Education policy and Leadership ของมหาวิทยาลัยไซมอน เฟรเซอร์ ในแคนาดาว่า มีความเป็นไปได้ว่าเครื่องแบบนักเรียน จะทำให้เกิดบรรยากาศที่ถูกควบคุมในลักษณะเผด็จการ ซึ่งอาจทำให้นักเรียนบางคนไม่พอใจได้ และเวลาที่ใช้ไปกับการ บังคับกฎระเบียบอาจทำให้เสียเวลาในการเรียนการสอนได้
เฮสเคธยกการศึกษาวิจัยโดย เดวิด แอล. บรันซ์มา และเคอร์รี เอ. ร็อคเคอมอร์ จากปี 1998 ซึ่งทั้งถูกอ้างอิงมากและถูก วิพากษ์วิจารณ์มากเช่นกัน งานวิจัยนี้สรุปว่า ไม่มีหลักฐานที่จะบอกว่าการใส่เครื่องแบบนักเรียนเชื่อมโยงกับปัญหาเรื่อง ความประพฤติ การใช้สารเสพติด หรือการเข้าชั้นเรียน



ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ

ในปี 2010 งานวิจัยโดย เอลิซาเบตตา เจ็นไทล์ และ สก็อตต์ อิมเบอร์แมน จากมหาวิทยาลัยฮิวสตัน ในสหรัฐฯ เสนอว่าแม้ว่าเครื่องแบบนักเรียน จะไม่มีผลต่อพฤติกรรมและผลการเรียนในระดับประถม เครื่องแบบนักเรียนมีผลดีเล็กน้อยต่อผลการเรียนภาษา และการเข้าชั้นเรียนในระดับ ม.ต้น และ ม.ปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับนักเรียนหญิง

เฮสเคธ สรุปไว้ว่า เป็นเรื่องยากที่เราจะแยกแยะออกมาว่าการใส่เครื่องแบบนักเรียนส่งผลอย่างไรต่อปัจจัยอื่น ๆ บ้าง นอกจากนั้น ยังมีเรื่องทัศนคติ ที่เป็นอคติต้องพิจารณาด้วย เช่น โรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องพฤติกรรมและผลการเรียนของ นักเรียน ก็อาจจะมีแนวโน้มบังคับใช้เครื่องแบบนักเรียนมากกว่า และจะไม่พูดถึงผลเชิงลบของการบังคับใส่ เครื่องแบบนักเรียน



ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ


ชุดนักเรียนช่วยพัฒนาเรื่องเรียน หรือสะท้อนลักษณะเผด็จการ

ขอบคุณบทความจาก : bbc


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์