ติดน้ำตาล ได้ด้วยหรือ

ติดน้ำตาล ได้ด้วยหรือ


นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Princeton ชี้ให้เห็นว่าน้ำตาลอาจกลายเป็นสารเสพติดได้ เมื่อทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่าน้ำตาลมีผลต่อสมองหนูทดลองเช่นเดียวกับสารเสพติดทั่วไป

ศาสตราจารย์ Bart Hoebel และคณะ จากภาควิชาจิตวิทยาและประสาทวิทยาจากมหาวิทยาลัย Princeton ศึกษารูปแบบการติดน้ำตาลในหนูทดลองมาเป็นเวลาหลายปี ขณะนี้มีสารเสพติดที่ทดลองใช้สองถึงสามชนิดโดยทั้งหมดล้วนทำให้หนูทดลองอยากยามากขึ้นและแสดงอาการเลิกยาให้เห็น

Hoebel กล่าวว่า หากน้ำตาลทำให้ติดได้ ก็น่าจะเห็นผลจากการติดน้ำตาลเป็นระยะยาวในสมองเหมือนกัน จุดสำคัญคืออาการอยากยาและเลิกยา ผลการทดลองที่ได้ก็แสดงพฤติกรรมเหล่านี้ออกมาเช่นกัน

Hoebel คาดว่าจะรายงานพฤติกรรมหนูที่เกิดขึ้นเมื่อให้หนูทานน้ำตาลมาก ๆ นี้ในงานประชุมประจำปีของวิทยาลัยอเมริกาด้านเภสัชประสาทและจิตวิทยาใน Scottsdale Ariz โดยคาดว่าผลการศึกษาที่ได้จะสามารถนำไปรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติทางการกินได้

เมื่อนำหนูทดลองที่เลิกน้ำตาลมานานแล้วมาให้น้ำตาลใหม่อีกครั้ง พบว่าหนูต้องการน้ำตาลมากขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงอาการอยากและการกลับสู่สภาพเดิมนั่นเอง หนูต้องการน้ำตาลมากขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อหยุดน้ำตาลพบว่าหัวใจหนูอ่อนแรงลง

นอกจากนั้นยังพบว่าต้องการแอลกอฮอล์มากขึ้นหลังจากทานน้ำตาลอย่างหนัก แสดงให้เห็นว่าการทานน้ำตาลอย่างหนักส่งผลให้การทำงานของสมองเปลี่ยนไป  การทำงานที่กล่าวถึงนี้เปรียบเสมือนประตูที่จะปลดปล่อยพฤติกรรมบ่อนทำลายออกมา เช่น การดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น นอกจากนั้นเมื่อให้ยาม้าเพียงเล็กน้อยกลับพบว่าหนูกระตือรือร้นอย่างเห็นได้ชัดซึ่งหมายความว่าหนูไวต่อยากล่อมประสาทมากขึ้นอันเป็นผลมาจากการสั่งการของสมองระยะยาว อาจกลายเป็นการติดยาถาวรได้

Hoebel ให้ความหมายของการทานน้ำตาลอย่างหนักว่าเป็นการทานน้ำตาลปริมาณมากเมื่อหนูหิว ส่งผลให้สารเคมีในสมองเปลี่ยนเป็นสารที่คล้ายกับสารเสพติดอย่างโคเคน มอร์ฟีน นิโคติน และยังทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนด้วย สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นผลจากสมองระยะยาวและนำไปสู่พฤติกรรมเลวร้ายอย่างการติดสารเสพติดหรือติดแอลกอฮอล์

พบว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องคือโดปามีน (โดปามีนเกี่ยวข้องกับความตื่นตัว สมาธิ สิ่งกระตุ้น) ซึ่งจะถูกปลดปล่อยในสมองบริเวณ nucleus accumbens เมื่อหนูที่กำลังหิวดื่มน้ำตาล สัญญาณจากสารเคมีจะทำให้อยากทำซ้ำและกลายเป็นการติดในที่สุด

การทานน้ำตาลอย่างหนักนี้ เกิดจากการจำกัดปริมาณอาหารในเวลานอนและหลังตื่นนอนสี่ชั่วโมง คล้าย ๆ กับการอดอาหารมื้อเช้าของเรานั่นเองครับ ซึ่ง Hoebel กล่าวว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร  ผลก็คือ หนูทานอาหารและน้ำหวานปริมาณมากอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมที่เกิดขึ้นคือการทานอย่างหนักหรือการทานอาหารปริมาณมากในมื้อเดียว น้ำหวานที่หนูทานนี้คือสารละลายซูโครส 10%

การทานน้ำตาลอย่างหนักของหนูที่หิวเสมือนเป็นการปลุกโดปามีนในสมองให้ทำงานมากขึ้น หลังทดลองหนึ่งเดือนพบว่าสมองของหนูกลุ่มนี้มีโครงสร้างเปลี่ยนไปเพื่อปรับให้เข้ากับระดับของโดปามีนที่เพิ่มขึ้น แสดงว่าตัวรับ (receptor) โดปามีนในสมองมีน้อยลงและกลับมีตัวรับ opioid มากขึ้น (เป็นตัวรับชนิดหนึ่ง สารที่รับมีหลายชนิดเช่น เอนดอร์ฟิน) ทั้งโดปามีนและ opioid ล้วนเกี่ยวข้องกับสิ่งดลใจและรางวัล หรือคือระบบควบคุมความต้องการและความชอบในพฤติกรรมบางอย่าง การเปลี่ยนแปลงของสมองที่เกิดขึ้นนี้คล้ายคลึงกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อให้โคเคนหรือเฮโรอีน


ที่มา: sciencedaily.com


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์