ทำไม 10 ธ.ค. เป็นแค่วันหยุด แล้ววันรัฐธรรมนูญหายไปไหน ?


วันรัฐธรรมนูญ 10 ธันวาคม ของทุกปี มีความสัมพันธ์กับเหตุการณ์วันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อ 80 ปีที่แล้วอย่างแนบแน่น ด้วยเหตุว่า วันนั้นเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 2475 อันเป็นวันที่บ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยกลุ่มคณะราษฎร ซึ่งนำโดยพระยาพหลพลพยุหเสนา

โดยจุดที่พระยาพหลพลพยุหเสนา ยืนอ่านประกาศ คณะราษฎร์ ฉบับที่ 1 ปัจจุบันนี้อยู่ตรงบริเวณ หมุดทองเหลือง ที่ฝังไว้ข้างลานพระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นที่ระลึกในเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 2475 และหลังจากเหตุการณ์ปฏิวัติสยาม 2475  สามวันต่อมา วันที่ 27 มิถุนายน สยามจึงมีพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว แล้วหลังจากนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ได้ถูกประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ในเวลาต่อมา จึงถือเอาวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ และหลังจากปี พ.ศ.2475 ในระหว่างปีพ.ศ.2476 ถึงปี พ.ศ.2500 เกือบทุกปีจะมีการจัดงานฉลองรัฐธรรมนูญอย่างยิ่งใหญ่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด โดยรัฐบาลตกลงให้มีการจัดงานใหญ่เฉลี่ยปีละ 7 วัน คือระหว่างวันที่ 8 ถึง 14 ธันวาคมของทุกปี โดยสถานที่จัดงานส่วนมากจะจัดที่สนามหลวง, วังสราญรมย์, สวนลุมพีนี, สวนอัมพร และเขาดินวนา สลับสับเปลี่ยนกันไป

ในงานฉลองรัฐธรรมนูญมีกิจกรรมมากมาย อย่างเช่น การประกวดนางสาวไทย, การประกวดศิลปกรรมแห่งชาติ, มีมหรสพต่าง ๆ อย่าง ลิเก ละคร โขน งิ้ว และภาพยนตร์ ซึ่งเป้าหมายหลักของงานนี้คือการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบอบรัฐธรรมนูญให้ประชาชนได้รู้จัก งานฉลองรัฐธรรมนูญ ยกเลิกในปี พ.ศ.2501 ในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เหลือเพียงแค่วันหยุดราชการเช่นในปัจจุบัน

ทำไม 10 ธ.ค. เป็นแค่วันหยุด แล้ววันรัฐธรรมนูญหายไปไหน ?



เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์