ทำไมบางครั้งรุ้งกินน้ำก็มีไม่ครบสี?

บางครั้ง แถบสีของรุ้งกินน้ำก็มีบางสีที่หายไป ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?

ผลวิเคราะห์ใหม่พบว่า ข้อมูลสนับสนุนการหายไปของแสงสีรุ้งนั้นเกิดจากดวงอาทิตย์ที่อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าขอบฟ้า นักวิจัยได้รายงานผลการศึกษาใหม่ในงานประชุม American Geophysical Union's fall meeting

รุ้งกินน้ำที่ปรากฏให้เห็นเป็นโค้งแถบสีนั้นเกิดจากแสงของดวงอาทิตย์หักเหผ่านละอองน้ำในอากาศ ซึ่งละอองน้ำนั้นก็ทำหน้าที่เหมือนปริซึม (prism) ที่เปลี่ยนเส้นทางการเคลื่อนที่ของแสงอาทิตย์ จึงทำให้เกิดแถบสเปกตรัมของแสงสีต่างๆ อย่างที่เราเห็น เป็นแถบสีรุ้งที่ประกอบไปด้วยแถบของสีแดง ส้ม เหลือง เขียว ฟ้า คราม และม่วง ที่มีสีสันสดใสและมีชีวิตชีวา



ภาพรุ้งกินน้ำที่มีบางแถบสีหายไป

แต่ในบางครั้งรุ้งกินน้ำก็มีไม่กี่สี

งานวิจัยก่อนหน้าชี้ให้เห็นว่า ในบางครั้งสายรุ้งก็มีแค่สีเดียว ซึ่งนั่นอาจเป็นเพราะไอน้ำที่มีขนาดผิดปกติ แต่ในตอนนี้ Jean Ricard นักวิทยาศาสตร์แห่ง National Centre for Meteorological Research ในฝรั่งเศส รายงานว่า ความสูงของดวงอาทิตย์เหนือขอบฟ้าก็มีบทบาทสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน

เขาและเพื่อนร่วมงานของเขาตรวจสอบภาพรุ้งกินน้ำกว่าร้อยภาพ ซึ่งได้ข้อสรุปว่า ในช่วงเวลาที่พระอาทิตย์ตกดิน แสงอาทิตย์ทำมุมลาดขนานกับพื้นโลก แสงจึงเดินทางผ่านบรรยากาศเป็นระยะทางที่ยาวมากกว่าในช่วงเวลาอื่นๆ ของวัน ด้วยละอองน้ำในอากาศมีมาก แสงสีโทนเย็น (แสงสีม่วง สีคราม สีเขียว) มีความยาวคลื่นสั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านโมเลกุลต่างๆ ในอากาศไปได้จึงกระเจิงแสงไปทั่วท้องฟ้า ในขณะที่แสงสีเหลือง ส้ม และแดง มีความยาวคลื่นที่ยาวมากกว่า จึงสามารถทะลุผ่านโมเลกุลต่างๆ ในอากาศได้ แถบแสงสีส้มแดงจึงยังคงเหลืออยู่ โดยแถบแสงสีส้มแดงนี้จะโอบล้อมกลืนแสงสีม่วง คราม เขียว เราจึงมองเห็นรุ้งกินน้ำที่เกิดในช่วงเย็นเป็นแถบแสงสีส้มแดงนั่นเอง

 

ที่มา : vcharkarn.com


ทำไมบางครั้งรุ้งกินน้ำก็มีไม่ครบสี?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์