ทำไมหิงห้อยจึงมีแสง

ทำไมหิงห้อยจึงมีแสง


หิ่งห้อยคืออะไร
หิ่งห้อย มีชื่อสามัญเป็นภาษาอังกฤษว่า Firefly หิ่งห้อย แมลงปีกแข็งที่สามารถเรืองแสงได้ในเวลากลางคืน มักอาศัยใกล้แหล่งน้ำที่สะอาดตามต้นไม้ริมน้ำ เช่น ต้นกกและต้นลำพู

เพราะอะไรหิ่งห้อยจึงกะพริบ
เมื่อหิ่งห้อยหนุ่มพบหิ่งห้อยสาวที่หมายปอง มันก็จะกระพริบแสงเป็นจังหวะของมัน ถ้าหิ่งห้อยสาวพอใจก็จะกระพริบตอบด้วยจังหวะเดียวกัน จากนั้นทั้งสองก็ผสมพันธ์ เมื่อหิ่งห้อยสาวตั้งท้องและวางไข่มันก็จะตายจากไปแสงของหิ่งห้อยเกิดจากสาร เรืองแสงในตัวของมัน ซึ่งเปล่งออกมาบริเวณปลายปล้องท้อง และในอดีตคนเรายังใช้แสงหิ่งห้อยเป็นเครื่องนำทางสร้างความสวยงามให้กับธรรมชาติในยามค่ำคืน

หิ่งห้อยทำไมถึงอยู่ต้นลำพู
หิ่งห้อย ไม่ได้อยู่เพียงแต่ต้นลำพู เพียงเพราะว่า หิ่งห้อยตัวเต็มวัยไม่กินอาหารเพียงแต่กินน้ำหรือน้ำค้างที่เกาะอยู่ตาม ใบไม้ ต้นลำพูเป็นพืชที่มีขนที่ใบจึงทำให้น้ำค้างเกาะอยู่จำนวนมาก ซึ่งเป็นอาหารของหิ่งห้อยอย่างดี

เรืองแสงสีสวยงดงามที่บริเวณส่วนก้นของมันได้อย่างไร ... จริงไหม

หิ่งห้อย เป็นแมลงประเภทที่ผลิตแสงได้ (Light-producing insects) แสงของหิ่งห้อยเกิดจากปฎิกริยาทางเคมีของสารที่ชื่อว่า Luciferin ซึ่งอยู่ในอวัยวะผลิตแสง ทำปฏิกริยากับออกซีเจนในหลอดลม แสงของหิ่งห้อยที่เราเห็นมีความสว่างตั้งแต่ 1/50 ถึง 1/400 แรงเทียน ซึ่งถ้านำมารวมกันมากๆก็สามารถใช้อ่านหนังสือในคืนเดือนมืดได้ทีเดียว

 
หิ่งห้อยทำไมจึงมีแสง
แสงที่เกิดจากหิ่งห้อยเป็นแสงที่ไม่มีความร้อน เราเรียกแสงที่เกิดขึ้นโดยปราศจากความร้อนว่า แสงนวล (Luminescence) แสงในตัว หิ่งห้อยเกิดจากสารลูซิเฟอริน (Luciferin) ซึ่งจะรวมตัวกับออกซิเจนในขณะที่เกิดปฏิกิริยาแสงสว่าง แต่ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อมีสารลูซิเฟอเรส (Luciferase) อยู่ด้วย ลูซิเฟอเรสทำหน้าที่เป็นตัวช่วย(catalyst) ให้เกิดปฏิกิริยาเคมีขึ้นเท่านั้นปริมาณแสงสว่างที่เกิดจากหิ่งห้อยมีน้อยมาก คือ เพียงประมาณ
1 ใน 1,000 ของแสงสว่างจากเทียนไขธรรมดา เราสามารถประดิษฐ์แสงแบบนี้ได้ในห้องทดลอง แต่สารทั้งสองคือ ลูซิเฟอริน และลูซิเฟอเรส ต้องได้มาจากตัวหิ่งห้อยโดยตรง เพราะนักเคมียังไม่สามารถสังเคราะห์สารทั้งสองนี้ได้


สงสัยไหมทำไมหิ่งห้อยถึงมีแสง
หิ่งห้อยมีแสงในตัวเพราะมีสารพิเสษวันนี้ได้คำตอบแล้วว่าทำไมหิ่งห้อยถึงมีแสง แล้วตัวผู้กับตัวเมียอันไหนแสงสวยกว่ากัน หิ่งห้อยน้ำจืดกับหิ่งห้อยน้ำกร่อยก็ตัวไม่เท่ากัน
 
แสงของหิ่งห้อยเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของสาร Luciferin ซึ่งอยู่ในอวัยวะทำแสง ทำปฏิกิริยาโดยใช้หลอดลม มีเอนไซม์ Luciferase เป็นตัวกระตุ้นและมีสาร Andenosine triphosphate (ATP) เป็นตัวให้พลังงาน สำหรับเรื่องความสวนงามของการกระพริบแสงแล้วัวผู้จะสวยกว่าเพราะต้องล่อตัวเมียมาผสมพันธุ์
 
วงจรชีวิตของหิ่งห้อย 
เป็นไข่ 9 วัน เป็นหนอน 79 วัน ดักแด้ 6 วัน โตไม่เกิน 1 เดือนก็ตาย สงสัยเลยถามทำไมชีวิตช่วงเป็นหนอนนานกว่าผีเสื้อ เพราะว่าร่างกายของหิ่งห้อยมีเปลือกแข็งห่อหุ้มร่างกายทำให้ต้องใช้เวลาในการพัฒนานาน ตอนเป็นหนอนดักแด้อาศัยอยู่ในดิน และจะกินไข่ของหอยเชอรี่(หิ่งห้อยน้ำกร่อยเท่านั้นนะ)

หิ่งห้อยชอบอาศัยอยู่ตามพุ่มไม้ หรือตามพื้นที่ชุ่มชื้นใกล้หนองน้ำ หรือลำธารที่มีน้ำใสสะอาดในเวลากลางวันหิ่งห้อยจะหลบซ่อนตัวอยู่ตามพงหญ้าหรือวัชพืช หรือหลบตามกาบไม้ซอกไม้ต่างๆ ในเวลากลางคืนจึงบินออกมาจับคู่ผสมพันธุ์และวางไข่ และที่สำคัญตรงนั้นต้องเป็นน้ำนิ่งไม่มีมลพิษจากสิ่งแวดล้อม เช่น ตามทุ่งนาและบ่อน้ำตามชนบท บางชนิดอยู่ตามดินในป่าและตามป่าชายเลน ต้นไม้ที่หิ่งห้อยชอบเกาะกระพริบแสง ไม่ไช่ต้น ลำพู อย่างเดียวส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่มีใบโปร่ง ในธรรมชาติพบเกาะอยู่ตาม ต้นแสม ต้นโกงกาง ต้นโพทะเลโดยเฉพาะป่าชายเลนที่มีแหล่งอาหารสมบูรณ์ โดยหิ่งห้อยจะกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้รวมทั้งต้นไม้ที่อยู่ตามริมน้ำต่างๆ

ที่มา fwdderr

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์