ที่มาของสำนวนไทย สู้ยิบตา

ที่มาของสำนวนไทย สู้ยิบตา




ไก่ป่าเป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน คือ ไก่แจ้ รวมไปถึง ไก่ชนด้วย
ไก่แจ้นั้นมีสีแดง รูปร่างและขนาดของไก่ป่านั้น ไก่ป่าร่างสูงกว่า
ไก่ป่านั้นแยกออกเป็นสองประเภท คือ ไก่ป่าธรรมดาและไก่ฟ้าพญาลอ

ขึ้นชื่อว่า ไก่ป่า (ไก่เถื่อน) รูปร่างเปรียว วิ่งและบินได้รวดเร็ว ระมัดระวัง ระแวงภัย ตลอดเวลาที่หากิน มีประสาท หูดีมาก ขี้ตกใจง่าย ได้ยินเสียงแปลกปลอมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่ได้จะบินปร๋อหายไปในทันที

อาการระแวดระวังของไก่ป่า เริ่มตั้งแต่ยังมีสภาพเป็นลูกเจี๊ยบ ธรรมชาติสอนให้มัน รู้จักลี้ภัย โดยที่รู้ว่าภัยมาแน่แล้ว ลูกไก่ป่าจะวิ่งไปซุกตามใบไม้แห้งที่กองสุมอยู่ทั่วไปในป่าอย่างมิดชิด ถ้าไม่สังเกตดูให้ดีจะไม่มีโอกาสรู้เลย

ที่กล่าวเช่นนี้ ก็เพราะมีคนเคยเหยียบลูกไก่ป่าตายก็หลายครั้งแล้ว
ชาวบ้านนั้นสรุปไก่ป่า ว่า มันเป็นไก่ชกมวย (ไก่ชน) ที่สู้จนสุดใจขาดดิ้น เหมือนพันธุ์ไก่ชนที่ทั่ว ๆ ไปนำมาตีเป็นเดิมพันถึงครั้งละแสน ไม่ว่าศัตรูนั้นจะเป็นหมาหรือไก่บ้าน ถ้าไม่เหลือบ่ากว่าแรง มันจะรุมตีทันที ตีเอาจนกว่าคู่ต่อสู้จะล่าถอย พ้นเขตอิทธิพล

จากเชื้อสายไก่ป่ามาเป็นไก่ชน ไก่ต่อไก่นั้นจะเข้าปะทะกันอย่างรุนแรง ไม่รับรู้ว่าเจ้าของของมันจะแพ้หรือชนะเดิมพัน
แม้ถูกเดือยของคู่ต่อสู้จนบริเวณตาฉีก (ไม่ถึงก็บอด) เจ้าของก็จะเย็บแผล (เย็บโดยไม่ต้องมียาชา) และสู้ต่อไปจนครบยก (ยกต่อยกนั้น วงตีไก่ใช้น้ำใส่เกือบเต็มถังพลาสติก ใช้กะลามะพร้าวที่ขัดจนขึ้นมัน ส่วนบนผ่าขวาง แล้วเอาด้านที่มีรูลอยน้ำจะทะลุเข้ารูกะลา เมื่อกะลาจมลง ก็จะถือว่าเป็นหนึ่งยก)

นี่เป็นเรื่องราวของคำว่า ไก่ตาแตก บาดเจ็บ, ไก่ชน-ไก่แจ้ นี่คือที่มาของคำที่ว่า สู้เย็บตา แล้วเพี้ยนมาเป็น สู้ยิบตา




ที่มา ภาษาคาใจ โดย สังคีต จันทนะโพธิ
 

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์