ที่ไหนเสียหายบ้างเมื่ออุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 4 องศา

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ลอนดอนเผยแผนที่อินเทอร์แอ คทีฟ ให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสผลพวงของภาวะโลกร้อน หากในวันนี้เรายังไม่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน จะส่งผลให้โลกมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 4 องศา และเมื่อถึงเวลานั้น พื้นที่โลกไหนจะได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง คลิกค้นหาคำตอบกันได้ด้วยตัวเอง

click เพื่อดูแผนที่


คลิกที่สัญญลักษณ์ต่างๆ เพื่อดูสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ ได้แก่ ไฟป่า, พืชผล, แหล่งน้ำ, ระดับน้ำทะเล, สัตว์น้ำ, ความแห้งแล้ง, แผ่นน้ำแข็ง, พายุหมุนเขตร้อน, อุณหภูมิสูงอย่างมาก และ สุขภาพ


แถบสีแสดงระดับอุณหภูมิ ด้านบนเป็นหน่วยเซลเซียส ส่วนด้านล่างเป็นหน่วยฟาเรนไฮต์ พร้อมทั้งมีจุดแสดงจำนวนประชากรในเขตเมือง โดยบริเวณสีเหลืองมีผู้อาศัยอยู่ประมาณ 5-10 ล้านคน และสีฟ้ามีประชากรประมาณ 10-20 ล้านคน

พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ จัดแสดงแผนที่โลกฉบับผลกระทบจากการที่มนุษย์ปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่ม ขึ้นถึง 4 องศา ซึ่งจัดทำโดยทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์กรอุตุนิยมวิทยาแห่งอังกฤษ (Met Office) โดยรัฐบาลอังกฤษต้องการกระตุ้นให้ฝ่ายการเมือง เป็นเสาหลักในการแก้ปัญหาสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่กำลังเผชิญอยู่ใน ปัจจุบัน

แผนที่ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงภูมิภาคต่างๆ ของโลกที่จะได้รับผลกระทบ เมื่อประชากรโลกไม่สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศได้ และปล่อยให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นถึง 4 องศาเซลเซียสจากปีฐาน

(แม้ว่าปัจจุบันรัฐบาลของหลายประเทศและนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่าง เห็นพ้องต้องกันว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจะต้องได้รับการควบคุมไม่ให้สูงเกินไปกว่า 2 องศาเซลเซียส เมื่อเทียบกับอุณหภูมิเฉลี่ยในีฐาน คือช่วงยุคก่อนอุตสาหกรรมในศตวรรตที่ 18)

ข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฎในแผนที่ เกิดจากการคำณวนและพยากรณ์ จากข้อมูลของสหประชาชาติในช่วงปี 2007 โดยทำนายสถานการณ์ระหว่างปี 2060-2100 เมื่อมนุษย์ยังไม่มีท่าทีจะชะลอการปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศ หรืออีกนัยหนึ่งคือยังคงดำเนินกิจกรรมซ้ำเติมชั้นบรรยากาศเช่นนี้ต่อไป เรื่อยๆ


ภาพของโลกเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอีก 4 องศาจากปีฐาน พื้นที่แถบขั้วโลกเหนือจะมีอุณหภูมิเพิ่มสูงกว่าแถบเส้นศูนย์สูตร หลังทะเลน้ำแข็งละลายไปหมด ทุกพื้นที่ของโลกได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า ทั้งภาวะไฟป่า แห้งแล้ง สัตว์น้ำ น้ำ และพืชพรรณล้มตาย

แผนที่โลกร้อนฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่แค่อุณหภูมิที่สูงขึ้นทั่วโลก แต่พื้นที่ละติจูดสูงๆ อย่างเช่นแถบอาร์กติกอาจจะสูงกว่า 4 องศา รวมถึงตามแผ่นดินอาจสูงกว่า 5.5 องศาด้วยซ้ำ รวมถึงปริมาณน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้นจากน้ำแข็งละลายที่ขั้วโลก และเกิดสตรอมเซิร์จ (หรือพายุหมุนรุนแรง)

รวมทั้งอุณหภูมิภาคพื้นทวีปที่สูงขึ้น ก็จะทำให้เกิดไฟป่า และความแห้งแล้งกระจายไปทั่วยุโรป ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรทั่วโลกตกต่ำ ซึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกาจะสามารถเก็บเกี่ยวได้ต่ำกว่า 40%


แหล่งอาหารโลกได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง โดยจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ลดลงถึง 40% ทั้งข้าวโพด ข้าวสาลีและถั่วเหลือง

โลกเมื่อถึงจุดที่อุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้นถึง 4 องศา จะทำมีปัญหาต่อน้ำที่เราใช้บริโภค โดยในปี 2080 จะเพียงพอแค่สำหรับประชากรพันล้านคน และเมื่อถึงเวลานั้นแม่น้ำอเมซอนก็จะเหือดแห้งไป

นอกจากนี้ อีกปัญหาที่น่ากังวลคือ ท้องทะเลและบรรดาระบบนิเวศในนั้นก็จะดูดซับคาร์บอนเข้าไป โดยในปัจจุบันนี้คาร์บอนปริมาณเกือบครึ่งที่เราปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ ได้ปนเปื้อนเข้าไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็น การขาดน้ำและอาหาร, ผู้คนจำนวนมากพากันอพยพหาถิ่นใหม่ และความขัดแย้งต่างๆ ที่จะตามมา โดยชี้ว่าเป็นผลมาจากการที่เหล่าประเทศต่างๆ ไม่สามารถตกลงกันได้ ถึงมาตรการในการแก้ปัญหา ระหว่างการเจรจาที่กรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ในช่วงเดือน ธ.ค.นี้


ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ดูเหมือนจะกระทบแถวชายฝั่งทะเลแถบบ้านเราไม่น้อย โดยเชื่อว่าเมื่อสิ้นศตวรรษแล้ว ระดับน้ำทะเลจะสูงถึง 80 เซ็นติเมตร มีผลกระทบอย่างยิ่งในพื้นที่ละติจูดต่ำๆ หรือบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร


อุณหภูมิเฉลี่ยในแถบอินโดจีนเพิ่มขึ้นอีก 5 องศา ขณะที่พื้นที่อื่นๆ เพิ่มขึ้นมาน้อย ตามแนวใกล้ไกลทะเล

จอห์น เบดดิงตัน (John Beddington) หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาล เปิดเผยว่า ตามผลการศึกษาของเม็ต หากเราไม่ทำอะไรเลยภายในปี 2060 โลกเราจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 4 องศา และนั่นหมายถึง "หายนะ"

แผนที่ชิ้นนี้ถูกนำมาแสดงที่พิพิธภัฑ์วิทยาศาสตร์ในกรุงลอนดอน เพื่อกระตุ้นให้ฝ่ายการเมืองเห็นความสำคัญ และสำหรับประชาชนทั่วไปที่มาเยี่ยมชมจะได้รับข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับผล กระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพราะปัจจุบันมีข้อมูลนำเสนออย่างล้นหลาม จึงอาจทำให้เกิดความสับสน จึงนำเสนอในรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย

เหตุผลที่มีการเผยแพร่แผนที่นี้ขึ้นมานั้นเดวิด มิลิแบนด์ (David Miliband) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และเอ็ด มิลิแบนด์ (Ed Miliband) รัฐมตรีกระทรวงภูมิอากาศและการพลังงาน 2 พี่น้องเจ้าของแนวคิดเผยผ่านเดอะการ์เดียนว่า ต้องการให้คนทั่วโลกเห็น ไม่ใช่แค่เฉพาะประเทศของพวกเขา ความท้าทายในการแก้ปัญหาภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นสิ่งที่ต้องลงมือทำอย่างจริงจัง เพราะมันได้เกิดขึ้นแล้ว

"ผลกระทบของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่เรื่องที่จะโยนไปในอนาคตอีกต่อไป เพราะได้มีผลกระทบต่อทั้งชีวิตของผู้คนนับร้อยล้านชีวิต" รมต.ต่างประเทศแห่งอังกฤษกล่าว ซึ่งอุณหภูมิที่สูงขึ้น 4 องศานี้ ผู้ที่จะได้รับผลกระทบอย่างเต็มๆ คือลูกหลานของพวกเรา

อย่างไรก็ดี รัฐมนตรี 2 พี่น้องได้เตือนว่า ยังไม่สายเกินไป เพราะยังมีเวทีที่โคเปนเฮเกนให้รัฐบาลต่างๆ ได้ร่วมช่วยกันประกาศหนทางในการแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ การเจรจาที่จะเกิดขึ้นที่โคเปนเฮเกนนั้น ถือเป็นข้อตกลงนานาชาติต่อจากพิธีสารเกียวโตที่กำลังจะหมดลงในปี 2012 เชื่อได้ว่าเป็นความพยายามในการต่อรองระดับนานาชาติที่ยากและลำบากที่สุด แม้ว่าจะมีภาวะการขาดน้ำและอาหารเป็นแรงกดดันที่เห็นอยู่ตรงหน้าแล้วก็ตาม

credit: manager

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์